นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ (Thailand Development Research Institute : TDRI) เปิดเผยในงานสัมมนาสาธารณะประจำปี 2567 ปรับประเทศไทย…ให้อยู่รอดได้ในยุคโลกเดือด ในหัวข้อ “ปรับประเทศไทย…ให้ยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ” ว่า ภาวะโลกรวนจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นลำดับต้นของโลก
ทั้งนี้ ผลกระทบหลัก ได้แก่ การสูญเสียผลผลิตภาคการเกษตร ,สูญเสียผลิตภาพแรงงาน และสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว ดังนั้นเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกล่าว ประเทศไทยจะต้องเตรียมการ 4 เรื่องที่สำคัญ ประกอบด้วย
นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันโลกไม่เหมือนเดิม โดยเป็นแบบที่ไม่เคยเจอมาก่อน จึงไม่สามารถคิดแบบเดิมได้ เพราะฉะนั้น จึงควรใช้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกระตุ้นให้ทำสิ่งที่ควรทำมานาน เช่น ปรับนโยบายต่าง ๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น ลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนา ปรับปรุงระบบพยากรณ์อากาศและปรับแบบแผนในการใช้ที่ดิน
นอจากนี้ จะต้องปรับระบบบริหารประเทศ ซึ่งต้องกระจายอำนาจ และทำงานแบบบูรณาการในการแก้ปัญหา และลงทุนในการพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของคนไทย ซึ่งหากประเทศไทยสามารถปรับตัวได้สำเร็จ จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อเทียบกับประเทศอื่นซึ่งปรับตัวได้ดีไม่เท่า
ทั้งในด้านการผลิตอาหารซึ่งใช้น้ำน้อยแต่สามารถเพิ่มผลิตผลได้ การสร้างซัพพลายเชนของสินค้าอุตสาหกรรมที่มีความยืดหยุ่นและปล่อยคาร์บอนต่ำ และการพัฒนาท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ซึ่งยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศมากยิ่งขึ้น
ทุกคนในโลกจะต้องเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในโลกที่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยคาดว่าอุณหภูมิอาจเพิ่มขึ้น 2.7-3.1 องศาเซลเซียสในปีค.ศ. 2100 หากประเทศต่าง ๆ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามความตกลงปารีสที่ได้ประกาศไว้ แต่หากไม่มีการดำเนินการที่เหมาะสมอุณหภูมิของโลกอาจสูง 4-5 องศาเซลเซียส ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภัยพิบัติที่รุนแรงและบ่อยครั้งมากขึ้นในระดับโลกเดือด