โฟน หรือ น้องโฟน ชื่อเล่นของ รัฐนันท์ วิไลลักษณ์ ทายาทรุ่นที่ 3 คลื่นลูกใหม่ของ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART บุตรชายคนโตของ วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ รองประธานกรรมการ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ที่มาชื่อ “โฟน” มาจาก สามารถ คอร์ปอเรชั่น ได้รับสิทธิ์ให้บริการ Pin Phone 108 จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ ทศท.ในสมัยนั้น “วัฒน์ชัย” จึงได้นำชื่อ “โฟน” มาตั้งเป็นชื่อเล่นให้บุตรชายคนโตของ “เขา”
"โฟน" เริ่มฉายแววเป็นนักธุรกิจตั้งแต่เด็ก สมัยเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล “เขา” ได้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ “ไอ-โมบาย” (มือถือเฮาส์แบรนด์ที่กลุ่มสามารถนำมาจำหน่ายในไทย) ไปขายให้กับเพื่อนในชั้นเรียนเดียวกัน
ปัจจุบัน “โฟน” อายุ 28 ปี หลังจากเรียนจบปริญญาโท MBA Babson College “โฟน” ได้เข้ามาร่วมงานในตำแหน่ง ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ สามารถคอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่ บริษัท สามารถ เอวิชั่น โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAV ในเครือกลุ่มสามารถ เริ่มจำหน่ายหุ้น IPO เมื่อเดือนกันยายนปี 2566
“หลังจากเรียนจบปริญญาโท ผมตั้งใจแล้วว่าอยากมาทำงานที่นี่เพราะมันคือ legacy ปัจจุบัน โฟน ก็ทำงานที่บริษัทฯเต็มตัวแล้ว ตำแหน่งที่ รับผิดชอบคือ ด้าน IR และ ลงทุนธุรกิจใหม่”
สำหรับ SAV เป็นธุรกิจธุรกิจด้านการให้บริการจัดการการจราจรทางอากาศที่ประเทศกัมพูชา ช่วง 9 เดือน จำนวนไฟล์บินเพิ่มขึ้นประมาณ 7-8% รายได้เติบโตขึ้น 12% ใน 6 เดือนแรก ด้านกำไรมากกว่าเดิมค่อนข้างมาก โดยเติบโตมากถึง 85% ใน 2 ไตรมาสแรก YOY เป็นผลจากการที่รัฐบาลกัมพูชาออกแคมเปญเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เกิดเส้นทางการบินใหม่ รวมถึงมีการลงทุนเปิดสายการบินใหม่แอร์เอเชียกัมพูชา ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะสร้างโอกาสด้านการท่องเที่ยวและเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นในช่วง high season คือช่วงไตรมาส 4 นี้อย่างแน่นอน ด้านโครงการขยายการบริหารจัดการวิทยุการบินที่ สปป.ลาว มีความคืบหน้าไปมาก คาดว่าจะเซ็นสัญญา MOU ในไตรมาส 4 ปีนี้
“รายได้ SAV ในปีนี้คาดว่ามีรายได้เกือบ 1,800 ล้านบาท เพราะธุรกิจการบิน กัมพูชา ไฟต์การเดินทางเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากประเทศยุโรป ส่วนในประเทศลาว คาดว่าจะมีความร่วมมือในไตรมาสแรกของปี 2568"
โฟน บอกว่า ขณะนี้กลุ่มสามารถเตรียมขยายธุรกิจใหม่ ไปสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy และ Green Tech Ecosystem ถือเป็นเมกะเทรนด์ โดยจะเน้นที่ธุรกิจซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นตลาดใหญ่มาก ทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่องนี้ และประเทศไทยได้ประกาศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 และเทรนด์ตรงนี้ยังอยู่ไปอีก 20 ปี ข้างหน้า สำหรับแผนขยายธุรกิจในกลุ่มนี้ คาดว่าจะเริ่มภายในปี 2568 ด้วยวิธีการอาจจะร่วมทุนหรือเข้าไปซื้อกิจการ เป็นต้น
สายธุรกิจ Digital ICT Solutions ที่มีบริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ SAMTEL
บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (SAV)
บริษัท สามารถ ดิจิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ SDC
หมายเหตุ: ปี 2568 เปิดสายธุรกิจใหม่ คือ Renewable Energy และ Green Tech Ecosystem.