การประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 มีวาระหนึ่งที่น่าสนใจนอกเหนือไปจากการแจกเงิน 10,000 บาท ให้กับผู้สูงอายุ นั่นคือ แนวทางการลดรายจ่าย โดยรัฐบาลเตรียมออกโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และประชาชน ที่เริ่มมีภาระในการจ่ายหนี้ด้วยการ "พักดอกเบี้ย" เพื่อบรรเทาภาระหนี้ของประชาชน
นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ภาระหนี้สินประชาชนเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ว่าในช่วงกลางปี 2567 ระดับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะดีขึ้นโดยปรับตัวลดลงเหลือ 89.6% จาก 90.7% ของไตรมาสก่อนหน้านี้ แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับสูง ในแต่ละเดือนประชาชนมีภาระในการชำระหนี้สูง และอาจมีความเสี่ยงในการที่จะผิดนัดชำระหนี้ได้
ด้วยเหตุนี้จึงควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนให้เบ็ดเสร็จอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ และสินเชื่อ SME
ดังนั้นจึงให้กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกแบบมาตรการแก้ปัญหาหนี้ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนควบคู่ไปกับการรักษาวินัยการเงินการคลังของประชาชน
รัฐบาลจะดำเนินการลดเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) และ กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIF) เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถส่งผ่านความช่วยเหลือไปยังลูกหนี้ ช่วยลดเงินงวดในการผ่อนชำระ ขยายระยะเวลาผ่อนชำระให้ลูกหนี้ผ่อนชำระเฉพาะเงินต้นเท่านั้น และพักชำระดอกเบี้ย ในช่วงระยะเวลา 3 ปี
โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และประชาชน กำหนดเป้าหมาย 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
สำหรับคุณสมบัติลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และประชาชน ประกอบด้วย
ทั้งนี้ในแนวทางการช่วยเหลือ มุ่งเน้นลูกหนี้ที่มีโอกาสรอดและคาดว่าสามารถฟื้นตัวและกลับมาชำระหนี้ได้หลังสิ้นสุดการให้ความช่วยเหลือต่อไป