ที่ประชุม ครม. เห็นชอบอนุมัติ ชุดใหญ่ให้คนไทย ที่เป็นหนี้ลืมตาอ้าปากได้ จัดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ รายย่อยและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(Small and Medium Enterprises : SMEs) และ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้นแน่
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้พิจารณาเรื่องที่กระทรวงการคลังเสนอเพื่อให้การช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รายงานในที่ประชุม ครม.ว่า จากการสรุปผลประชุม ของคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2567 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแนวทางและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ซึ่งรวมถึงโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดย กระทรวงการคลัง ได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs และมาตรการช่วยเหลือ ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่น ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และแนวทางการแก้ไขหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน กระทรวงการคลังได้เสนอ ครม. ดังนี้
(1) มาตรการปรับโครงสร้างหนี้แบบลดภาระดอกเบี้ยโดยการเน้นตัดต้นเงินลูกหนี้และประเภทสินเชื่อ 3 ประเภท (สัญญาสินเชื่อที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2567) ประเภทสินเชื่อ วงเงินรวมต่อสถาบันการเงินเช่น 1. สินเชื่อบ้าน/สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ไม่เกิน 5 ล้านบาท
(2) สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และ/หรือสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์และ/หรือสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 800,000 บาทไม่เกิน 500,000 บาท
(3) สินเชื่อธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลไม่เกิน 5 ล้านบาท
ส่วนรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไข เช่น ลดภาระการผ่อนชำะค่างวด ระยะเวลา 3 ปี โดยในปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ชำระค่างวดร้อยละ 50 70 และ 90 ตามลำดับตามค่างวดที่ชำระจะนำไปตัด เงินต้นทั้งหมดเพื่อให้ลูกหนี้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้นและดอกเบี้ยจะพักการชำระไว้ในช่วงระยะเวลามาตรการ
เช่นลูกหนี้ และประเภทสินเชื่อ เป็นลูกหนี้บุคคลธรรมดำที่เป็น NPLs และมีภำระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท (ครอบคลุมสินเชื่อทุกประเภทที่กู้ในนามบุคคลธรรมดา)
นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไข เช่น การปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรนโดยลดภาระให้ลูกหนี้จ่ายชำระร้อยละ 10 ภาครัฐรับภาระร้อยละ 45 และสถาบันการเงินรับภาระร้อยละ 45 ของภาระหนี้คงค้าง
ทั้งนี้ แหล่งเงินของทั้ง 2 มาตรการ มาจาก
(1) เงินนำส่งเข้า FIDF ของ ธ.พาณิชย์ (ที่ได้รับการละเว้นจากการปรับลดอัตรานำส่งเงินฯ) จำนวน 39,000 ล้านบาท
(2) เงินงบฯตาม ม.28 เพื่อชดเชยให้ SFIs 6 แห่ง จำนวนวน 38,920 ล้านบาท
โดยขยายการให้ความช่วยเหลือให้ครอบคลุมไปยังลูกหนี้ของ Non - banks เนื่องจากกลุ่มนี้มีความเปราะบางและมีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยสูง
คุณสมบัติลูกหนี้ และประเภทสินเชื่อ 5 ประเภท (สัญญาสินเชื่อทำขึ้นก่อน 1ม.ค. 67) ในประเภทสินเชื่อวงเงินรวมไม่เกิน
มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่น ๆ เช่น เกษตรกร ผู้ประกอบการหาบเร่แผงลอยซึ่งจะไม่ซ้ำซ้อนกับกลุ่มลูกหนี้ ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs และครอบคลุมลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการรักษาวินัยทางการเงินของลูกหนี้
พบว่าหากได้รับการปรับลดอัตราเงินนำส่งฯ เหลือร้อยละ 0.125 ต่อปี จะมีการนำส่งเงินเข้า SFIF ลดลงประมาณ 8,092 ลบ.
ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ ประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก
(1) ยกระดับข้อมูลหนี้สินครัวเรือนที่จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลของ บจก. ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการมีหนี้ที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในระดับที่เหมาะสมกับรายได้ และไม่เกินกำลังในการชำระคืน รวมถึงออกแบบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างตรงจุดและทันการณ์ และยกระดับข้อมูลหนี้สินครัวเรือน โดยมีแนวทาง เช่น ปรับปรุงและเพิ่มเติมการจัดทำฐำนข้อมูลภาวะหนี้นอกระบบของครัวเรือน เพื่อให้มีข้อมูลสถานะภาระหนี้สินที่แท้จริง
(2) การสร้างความสามารถในการแข่งขันและการยกระดับรายได้ โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน โดยมีแนวทาง เช่น ส่งเสริมให้แรงงานยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน ดูแลให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจรายใหญ่ได้รับความเป็นธรรม
โดยที่ประชุมเห็นชอบ อนุมัติ และรับทราบตามที่ กระทรวการคลัง เสนอ และให้รับความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการ