วิธีคำนวณ “เงินบำนาญ” ชราภาพ ประกันสังคมม.33 เกษียณอายุได้เงินเท่าไร

31 ธ.ค. 2567 | 22:45 น.

สำนักงานประกันสังคม เผยวิธีคำนวณ “เงินบำนาญ” ชราภาพ ประกันสังคมมาตรา 33 หากเกษียณอายุได้เงินจากเท่าไหร่คลิกอ่านที่นี่

เป็นประจำทุกๆ ปีจะมีคนเกษียณอายุการทำงานที่ 60 ปี สำหรับภาคเอกชนได้รับเงินบำนาญประกันสังคมมาตรา 33 ที่ทำไว้กับสำนักงานประกันสังคม

ประกันสังคม ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กำกับดูแล ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา เป็นต้น

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 กรณีชราภาพ ประกันสังคมจะจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพของผู้ประกันตน

ดังนั้น ประกันสังคม ให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 คิด สูตรคำนวณ ‘เงินบำนาญ’ ชราภาพ  หากเกษียณจะได้รับเท่าไร? รายละเอียดดังนี้

  • ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 20%
  • ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
  • จะบวกเพิ่มอีก 1.5% ของระยะเวลาการนำส่งเงินสมทบทุก ๆ 12 เดือน

 

สูตรกรณีนำส่งครบ 180 เดือน

  • จะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท)
  • ตัวอย่าง: ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท
  • ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ เดือนละ 3,000 บาท

วิธีคำนวณ “เงินบำนาญ” ชราภาพ ประกันสังคมม.33  เกษียณอายุ

 สูตรกรณีนำส่งเกิน 180 เดือน

  • จะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
  • (ฐานเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท)
  • และได้เพิ่ม อีก 1.5% ของทุกปี = 20% + (1.5 x จำนวนปี)

ตัวอย่าง: ผู้ประกันตนอายุ 60 ปี จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 35 ปี (420 เดือน) มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ เดือนละ 7,500 บาท

เงื่อนไขการรับ “เงินบำนาญ” ประกันสังคมมาตรา 33

  •  จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนหรือ 15 ปีขึ้นไป
  • อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  •  สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

เช็คสิทธิ “บำนาญ” ประกันสังคมมาตรา 33

  • ผ่านทางออนไลน์ คลิกไปที่ https://www.sso.go.th (คลิกที่นี่)
  • หลังจากนั้นไปที่หมวด “ผู้ประกันตน” แล้วกดคลิก
  • กรอกเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนจำนวน 13 หลัก
  • คลิกไปที่สิทธิประโยชน์ เพื่อดู เงินบำนาญ ชราภาพ
  •  หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง.

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม