"ซีพี ออลล์" กำไร 13,272 ล้านบาท เล็งขยาย "เซเว่นอีเลฟเว่น" เพิ่ม 700 สาขา

02 มี.ค. 2566 | 05:35 น.
อัปเดตล่าสุด :02 มี.ค. 2566 | 05:41 น.

"ซีพี ออลล์" โชว์ผลงานปี 2565 รับทรัพย์ 852,605 ล้านบาท กำไร 13,272 ล้านบาท ปี 2566 เปิดเกมรุกร้านสดวกซื้อต่อ วางงบ 13,000 ล้านบาทขยายสาขาร้านเซเว่นอีเลฟเว่นเพิ่ม 704 สาขา

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (CPALL) รายงานผลประกอบการ ปี2565 รับทรัพย์  852,605 ล้านบาทเติบโต45.1%  กำไร 13,272 ล้านบาท จากจากผลพวงจากรายได้ ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ อู้ฟู่รับเศรษฐกิจ-กำลังซื้อผู้บริโภคฟื้นตัว  บวกกับรายได้จากการขายและบริการที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งแม็คโครและโลตัส

"ซีพี ออลล์" กำไร 13,272 ล้านบาท เล็งขยาย7-Eleven เพิ่ม 700 สาขา โดยสัดส่วนรายได้หลักยังคงมาจาก ธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค 52% เป็นอันดับ 1 ซึ่งตัวเลขการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญจากการรวม ธุรกิจของแม็คโครและโลตัส รองลงมาคือ รายได้จากธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 42% และรายได้จากธุรกิจ อื่นๆ ในประเทศไทย 6%

ส่งผลให้ปี 2565  ซีพี ออลล์ มีกำไรขั้นต้นจากการขายและบริการ 177,999 ล้านบาท เพิ่มขึ้น48% จากปีก่อนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายสินค้าของธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ธุรกิจแม็คโคร รวมถึงธุรกิจโลตัสส์ที่รับรู้รายได้เต็มปีทำให้กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นเป็น  21.5% จาก 21.3% ในปี 2564 

"ซีพี ออลล์" กำไร 13,272 ล้านบาท เล็งขยาย7-Eleven เพิ่ม 700 สาขา

หากย้อนกลับมาพิจราณารายธุรกิจในพอร์ต ซีพี ออลล์ จะพบว่า กลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อ มีการตั้งเป้าหมายขยายสาขา 700 สาขาต่อปี โดยในระหว่างปี 2565 มีการขยายสาขา 7-Eleven ทั้งร้านบริษัท ร้านSBP และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต รวมทั้งสิ้น 704 สาขา ทำให้สิ้นปี 2565 ซีพี ออลล์ มีจำนวนร้านสาขาทั่วประเทศ 13,838 สาขา แบ่งเป็นร้านบริษัท 6,839 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 49) เพิ่มขึ้น 559 สาขา ร้านSBP 6,144 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 45) เพิ่มขึ้น 124 สาขา และร้านค้าที่ได้รับสิทธิ ช่วงอาณาเขต 855 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 6) เพิ่มขึ้น 21 สาขา

 

ในส่วนของผลิตภัณฑ์และการบริการ เน้นไปสู่การเป็นร้านอิ่มสะดวกเต็มรูปแบบ โดยพัฒนาสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และเพิ่มเมนูสินค้าใหม่ รวมถึงนำผลผลิตตรงจากเกษตรกรไทย ทั้งผัก ผลไม้สด หรือสินค้าเกษตรแปรรูป มาจำหน่ายทั้งทางร้าน 7-Eleven และช่องทาง Online  ทำให้สัดส่วนรายได้จากการขายกว่า73.9% มาจากสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และ26.1% มาจากสินค้าอุปโภคไม่รวมบัตร โทรศัพท์ ทำให้รายได้รวมจากการขายสินค้าและการให้บริการแตะ 354,973 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี ก่อน 64,745 ล้านบาท หรือ  22.3% 

 

และมีกำไรขั้นต้น 97,158 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 17,707 ล้านบาทนอกจากนี้ยังมีรายได้อื่นอีก 21,879 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,073 ล้านบาท หรือ5.2% จากการให้เช่าพื้นที่ บริการ และอื่นๆ 

 

“แม้ว่าในปีนี้บริษัทฯยังคงขยายสาขาร้าน 7-Eleven ถึง 704 สาขา และมีการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินค้าและบริการสำหรับลูกค้าถึงแม้ค่าใช้จ่ายจะปรับเพิ่มขึ้นแต่กลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อยังคงมีกำไรจากเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 21,363 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.1% จากปีก่อน และมีกำไรสุทธิ  11,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  26.2% จากปีก่อน  

 

ขณะที่กลุ่มธุรกิจอื่น ประกอบด้วยธุรกิจตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการ รวมถึงตัวแทนรับฝากและถอนเงินแทน ธนาคาร ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสำเร็จรูป ธุรกิจจำหน่ายและบริการอุปกรณ์ค้าปลีก และธุรกิจอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ ให้บริการสนับสนุนร้าน 7-Eleven เป็นหลัก  มีกำไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ก่อนหักรายการระหว่างกันเท่ากับ 3,430 ล้านบาท เพิ่มขึ้น2.2% จากปีก่อนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายสินค้าและบริการ การควบคุมต้นทุนขาย ต้นทุนจัดจำหน่าย และค่าใช้จ่ายในการบริหาร

 

ส่วนกลุ่มธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค  มีกำไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ก่อนหักรายการระหว่างกัน 9,418 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.2% จากการรวมธุรกิจค้าปลีกและให้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้าเข้ามาเป็นบริษัทย่อยทางตรง ประกอบกับรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นและการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี 

 

สำหรับปี 2566 นี้  "ซีพี ออลล์" ยังให้นำหนักกับ ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ โดยจะใช้งบลงทุนราวๆ   12,000 – 13,000 ล้านบาท  เพื่อใช้เปิดร้านสาขาใหม่ ประมาณ 700 สาขาราวๆ 3,800 - 4,000 ∙ การปรับปรุงร้านเดิม 2,900 - 3,500 การลงทุนในโครงการใหม่, บริษัทย่อยและศูนย์กระจายสินค้า 4,000 - 4,100  การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และระบบสารสนเทศ 1,300 - 1,400