"สงกรานต์ไทย" จ่อขึ้นแท่น "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" จากยูเนสโก

24 ม.ค. 2566 | 13:24 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ม.ค. 2566 | 01:37 น.

ยูเนสโก (UNESCO) เตรียมพิจารณาขึ้นทะเบียน "สงกรานต์" ของไทย เป็น "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" ชิ้นที่ 4 ของประเทศไทย

วันนี้ (วันที่ 24 ม.ค. 66) องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้นำ "ประเพณีสงกรานต์" (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อพิจารณาในที่ประชุม ให้เป็น "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" ชิ้นที่ 4 ของประเทศไทย ต่อจาก โขน นวดไทย และรำโนราห์

ทั้งนี้ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage - ICH) ไม่ใช่มรดกโลก (World Heritage site) แต่เทียบเท่า "มรดกโลก" เนื่องจากองค์การ UNESCO ได้ระบุไว้ว่า "มรดกโลก" ใช้เรียกเฉพาะสถานที่เท่านั้น เช่น แหล่งโบราณคดี และอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น

ขณะที่ "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" ใช้เรียกเฉพาะหมวดหมู่ในวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ การปฏิบัติ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน และในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน

ทั้งนี้ "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" ของประเทศไทย ยังมีอีกหลายรายการเตรียมพิจารณาลงทะเบียนกับองค์การ UNESCO ได้แก่ มวยไทย, ผีตาโขน, กัญญาไทย, อาหารไทย (ข้าวแกง) และข้าวเหนียมมะม่วง เป็นต้น