วันนี้ (วันที่ 31 สิงหาคม 2566) คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (บอร์ดททท.) เซ็นสัญญาจ้าง “ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์” ผู้ว่าการททท.คนใหม่ แทนนายยุทธศักดิ์ สุภสร ที่หมดวาระในวันที่ 31 สิงหาคม 2566 หลังดำรงตำแหน่งมาเป็นเวลา 8 ปี (ต่ออายุ 2 ครั้ง ครั้งละ 4 ปี) โดย “ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์” ผู้ว่าททท.คนใหม่จะเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2566 นี้ เป็นต้นไป
หลังการเซ็นสัญญา ผู้ว่าททท.คนใหม่ ระบุว่า ขอบคุณสำหรับทุกโอกาส ขอบคุณสำหรับทุกจุดเริ่มต้นที่จะเป็นพลังในการก้าวไปข้างหน้าเพื่อสานต่อทุกงานให้ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าไว้ จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน
In the real world , Coming together is a beginning, keeping together is progress, working together is success!
ทั้งนี้“ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์” เข้าทำงานในททท.มากว่า 24 ปีเริ่มงานตั้งแต่ปี 2542 ในตำแหน่งพนักงานวิเทศสัมพันธ์ 4 กองวิเทศสัมพันธ์ ฝ่ายสำนักงานผู้ว่าการ เติบโตในสายงานต่อเนื่อง จนในปี 2558 เป็นผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว ปี 2561 เป็นผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าการท่องเที่ยว ปี 2562 ขึ้นเป็นรองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ต่อมาในปี 2564 ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. ซึ่งเป็นตำแหน่งล่าสุดในปัจจุบัน
โดย “ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์” หรือ รองกลาง เป็นลูกหม้อททท. และเป็นหญิงแกร่งในวงการท่องเที่ยว เป็นลูกสาว “สมพล เกียรติไพบูลย์” อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ (คุณพ่อ) เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2517
ประวัติการศึกษา
ประวัติการทำงาน ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์
ผลงานที่โดดเด่น
ด้านนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า การบ้านที่จะส่งไม้ต่อให้นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ว่าที่ผู้ว่าททท.คนใหม่ ได้แก่ การไปให้ถึงเป้าหมายของภาคการท่องเที่ยวไทยในทุกเซกเตอร์ ทั้งตลาดต่างชาติเที่ยวไทยและตลาดไทยเที่ยวไทย
โดยเฉพาะการยกระดับซัพพลายไซด์ไปสู่ความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนนี้เรามีมาตรการที่กำหนดไว้แล้วคือ การเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒาให้เกิดความยั่งยืนในปี 2030 และก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี
เพราะว่าที่ผู้ว่าททท.คนใหม่ก็มีความต้องการผลักดันเรื่องนี้เช่นกัน อาทิ การกำหนดให้ซัพพลายเชนของภาคการท่องเที่ยว ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร จะต้องมีมาตรฐานความยั่งยืน หากไม่ได้มาตรการตามที่ตั้งไว้ก็จะไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของททท.
ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญ โครงการ หรือมาตรการใดก็ตามแต่ โดยกรณีของรายได้ท่องเที่ยวไทยจะต้องดันขึ้นแตะ 3.3 ล้านล้านบาทในปี 2567 ตามที่นายกฯ ประกาศไว้ มองว่าไม่น่ามีปัญหา แต่ต้องทำภายใต้การเน้นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายเข้ามาเพิ่มมากขึ้น
นายยุทธศักดิ์ กล่าวว่า การดำเนินงานไปให้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ในส่วนของรายได้ก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องยึดหมุดหมายของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คือ การสร้างการท่องเที่ยวให้มีคุณค่าและมีความยั่งยืนมากขึ้น โดยประเมินว่าตัวเลขรายได้ตามเป้าหมายของททท. ที่ตั้งไว้ในปี 2566 จะต้องดึงรายได้กลับมาในสัดส่วน 80% ของปี 2562 ก่อนเกิดโควิด-19 ทำได้อย่างแน่นอน
เนื่องจากขณะนี้มีการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาแตะ 2.5-3 ล้านคนต่อเดือนแล้ว หากสิ้นปีนี้สามารถปลดล็อกเงื่อนไขอะไรบางอย่างได้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะทำได้ไม่ต่ำกว่า 28 ล้านคน โดยในปี 2567 ตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องดึงรายได้กลับมา 100% แต่อยากเห็นในเชิงคุณภาพมากขึ้น จึงต้องช่วยกันทำพร้อมกับปรับปรุงซัพพลายไซด์ที่เน้นคุณภาพ ประสบการณ์ และความปลอดภัยควบคู่กันไป