นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่โดดเด่น มีความเป็นเอกลักษณ์สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และเป็น Soft Power ที่สำคัญที่ทำให้เชียงใหม่เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ และในปี 2565 ที่ผ่านมาจังหวัดเชียงใหม่ ยังได้รับรางวัลเมืองเทศกาลและอีเวนท์โลก จากสมาคมเทศกาลนานาชาติ หรือ FEA อีกด้วย ซึ่งจากศักยภาพดังกล่าวจังหวัดเชียงใหม่จึงร่วมกับทุกภาคส่วนใช้งานเทศกาลเป็นหนึ่งในกลยุทธสําคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยว
สําหรับประเพณียี่เป็ง ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของเทศกาลสําคัญในการเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาวของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการยกระดับ การจัดเทศกาลยี่เป็งสู่สากล และสร้างกิจกรรมและประสบการณ์ใหม่ๆ แก่นักท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนาต่อยอดเทศกาลยี่เป็ง หรือเทศกาลบูชาแสงไฟ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองหรือวันลอยกระทง ตามประเพณีของชาวไทย
นายวีรพงศ์ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ยังได้ร่วมมือกับบริษัท ไนแอนติก ซึ่งเป็นเจ้าของ ผลิตภัณฑ์เกม Pokémon GO เป็นเกมออนไลน์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ในการพัฒนาเส้นทางพิเศษเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในเกม Pokémon GO ที่จะเปิดให้บริการในช่วงเทศกาลยี่เป็งในปีนี้
จังหวัดเชียงใหม่และเทศกาลยี่เป็งจะเป็นสถานที่แรกที่เกม Pokémon GO จะมาร่วมสร้างการผสมผสาน การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ให้กับเทศกาลดั้งเดิมของเมือง เป็นนวัตกรรมและปรากฏการณ์ใหม่ครั้งแรกในการจัดงานเทศกาลประจําเมืองในประเทศไทย
ดร.จุฬา ธาราไชย ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากลยุทธ์องค์กร และผู้ทรงคุณวุฒิงานวิจับ บพช. กล่าวถึง ที่มาและความสำคัญของการยกระดับงานเทศกาลยี่เป็ง ว่า สสปน.เล็งเห็นศักยภาพของงานเทศกาลยี่เป็งของจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะ "เทศกาลประจำเมือง" ที่สามารถถ่ายทอดอัตลักษณ์และวัฒนธรรมล้านนาได้เป็นอย่างดี และเป็นที่รู้จักของชาวโลกในฐานะเทศกาลแห่งแสงไฟที่นักเดินทางทั่วโลกอยากมาเยือน
ประกอบกับจังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงในการจัดงานเทศกาลระดับนานาชาติดังที่ได้รับการการันตีจากรางวัล IFEA World Festival & Event City Award 2022
ดร.จุฬา กล่าวว่า เป้าหมายเชิงเศรษฐกิจที่คาดหวังจากการยกระดับงานยี่เป็ง 2566ตลาดในปี 2566 ทางทีเส็บยังให้ความสำคัญกับนักเดินทางไมซ์ในประเทศ ที่มีอัตราการเติบโตของนักเดินทางไมซ์ไทยสูงขึ้นต่อเนื่อง 5 % ซึ่งคำนวณจากช่วงสถานการณ์ปกติตั้งแต่ปี 2560 - 2562 โดยมีแนวโน้มการขยายการจัดงานไมซ์ของหน่วยงานองค์กรรวมถึงการเดินทางของนักเดินทางไมซ์กระจายไปยังภูมิภาคทั่วประเทศ
การท่องเที่ยวเทศกาลถือเป็นโอกาสทางการตลาดที่สามารถดึงดูดนักเดินทางกลุ่มใหม่ให้ออกเดินทางไปร่วมงานเทศกาลในภูมิภาคได้
สสปน ตั้งเป้าหมายจำนวนนักชาวไทยเพิ่มขึ้น 50,000 คน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 12,500 คน สร้างรายได้ 300 ล้านบาท และ 75 ล้านบาทตามลำดับ รวมรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นจากการสร้างสรรค์กิจ
กรรมยี่เป็งในมิติใหม่ปี 2566 รวม 375 ล้านบาท