ทิศทางการเติบโตของธุรกิจโรงแรม ในปี 2567 นี้ พบว่า ตลาดโรงแรมไลฟ์สไตล์ ในไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ อย่างกรุงเทพฯ ภูเก็ต และมีแนวโน้มนี้เริ่มขยายไปสู่ตลาดรองในต่างจังหวัดด้วย ซึ่งจะมีส่วนสำคัญทำให้ไทยจะเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิง “ไลฟ์สไตล์” ชั้นนำของโลก
การเติบโตของแบรนด์โรงแรมไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Hotel) ทั่วโลกเริ่มเห็นชัดเจนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นับตั้งแต่โรงแรม W Hotels แห่งแรกเปิดตัวเมื่อ 25 ปีก่อน วงการโรงแรมได้เห็นการผุดขึ้นอย่างรวดเร็วของโรงแรมระดับไฮเอนด์ ในกลุ่ม Upper Upscale และ Luxury แม้โรงแรมเหล่านี้บางส่วนจะเป็นโรงแรมอิสระ
แต่แรงขับเคลื่อนหลักมาจากเครือโรงแรมเชนต่างชาติ ที่ต่างพยายามขยายแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอ เพื่อตอบสนองความต้องการของเจ้าของโรงแรมที่หลากหลาย และเลิกพึ่งพาแค่ แบรนด์เก่าแก่เท่านั้น
แนวคิด "ไลฟ์สไตล์" ในวงการโรงแรม เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โรงแรมไลฟ์สไตล์สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้หลากหลายเจเนอเรชั่น ส่งผลดีต่อศักยภาพในระยะยาว ในประเทศไทย มักไม่ค่อยพบโรงแรมไลฟ์สไตล์ที่มีเกิน 200 ห้
ปัจจัยหลักในการให้บริการของโรงแรมไลฟ์สไตล์ จะเน้น 5 เรื่องหลัก ได้แก่
ทั้งนี้เพื่อมอบความพิเศษเฉพาะตัวให้กับลูกค้าในย่านรอบโรงแรม นอกจากนี้ยังพบแนวทางที่แหวกขนบ เช่น พนักงานไม่ใส่ชุดยูนิฟอร์มแบบเดิม ๆ แต่เน้นนำเสนอตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่น ให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ เกินขอบเขตโรงแรม
เนื่องจากเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โรงแรมไลฟ์สไตล์จึงให้ความสำคัญกับการตอบสนองทางเลือก และข้อจำกัดด้านอาหารที่ทันสมัย เช่น การมีเมนูอาหารมังสวิรัติให้เลือกมากมาย
เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่เน้นความกระตือรือร้นและใส่ใจสุขภาพ โรงแรมไลฟ์สไตล์มักสร้างสรรค์พื้นที่ด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และฟิตเนส ที่โดดเด่นกว่าโรงแรมแบบเดิม
ลูกค้าของโรงแรมไลฟ์สไตล์ คาดหวังว่าโรงแรมจะมีเทคโนโลยีทันสมัย ตั้งแต่ระบบจองห้อง พัก ไปจนถึงโซลูชั่นดิจิทัลภายในห้องพัก
โรงแรมไลฟ์สไตล์มักได้รับอิสระในการออกแบบมากกว่ามีเอกลักษณ์ สะดุดตา เข้าถึงง่าย ผสมผสานสไตล์คลาสสิกและสมัยใหม่อย่างลงตัว มักให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการออกแบบที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ปัจจัยหลักๆที่ส่งเสริมให้โรงแรมไฮเอนด์เป็นที่นิยม อาทิ แพลตฟอร์มแบ่งปันบ้านพักอย่าง Airbnb เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ท้าทายโรงแรมแบบเดิม ๆ ทำให้เครือโรงแรมหันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงผู้เข้าพักได้ง่ายขึ้น เสนอประสบการณ์คล้ายคลึงกันในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้
รวมถึงการตอบโจทย์กลุ่มเจนใหม่ นักเดินทางรุ่นมิลเลนเนียลและ Gen Z มีความคาดหวังและความชอบเฉพาะตัว แบรนด์โรงแรมปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ โดยเสนอประสบการณ์พิเศษ สิ่งอำนวยความสะดวกที่ยืดหยุ่น และเน้นชุมชนกับความจริงแท้
นายเจสเปอร์ ปาล์มควิช ผู้อำนวยการอาวุโสภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก STR บริษัทในเครือ CoStar Group ผู้นำวงการข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก เผยว่า ตลาดโรงแรมไลฟ์สไตล์ในไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งในเมืองใหญ่ และเริ่มขยายไปสู่เมืองรองในต่างจังหวัดด้วย
การเติบโตของโรงแรมไลฟ์สไตล์ เกิดขึ้นทั้งจากเครือโรงแรมขนาดใหญ่ ด้วยแบรนด์อย่าง W, Andaz, Kimpton, Canopy, The Standard, Indigo, ASAI, Capella และโรงแรมอิสระ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความต้องการในตลาดนี้ยังคงมีอยู่มาก
เช่น กลุ่มโรงแรมต่าง ๆ อย่าง แอคคอร์ (Accor) ที่มีโรงแรมไลฟ์สไตล์ในเครือมากมาย เช่น V Villas by M Gallery หรือ IHG ที่มีโรงแรมใหม่หลายแห่งกำลังจะเปิด รวมถึงการเปิดโรงแรมเพิ่มเติม ในแบรนด์เดอะ สแตนดาร์ด ( The Standard) สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของตลาดนี้ในไทย
ขณะที่ภาพรวมของโรงแรมไทยปลายปี 2566 อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมอยู่ที่ 95% ของปี 2562 แต่ผลประกอบการดีกว่าปีนั้นมาก เนื่องจากราคาห้องพักเฉลี่ย (ADR) สูงกว่าปี 2562 ถึง 25% รายได้ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้กำไรดีขึ้น แต่ต้นทุนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะค่าแรง กดดันการควบคุมต้นทุนในปี 2567 ขณะที่การเติบโตของ ADR จะชะลอลงและทรงตัว
โรงแรมระดับกลางและประหยัดมีอัตราการเข้าพักสูงกว่าปี2562 แต่การเติบโตของราคาห้องพักค่อนข้างช้า ส่วนโรงแรมระดับอื่น ๆ จะตามหลังโรงแรมระดับหรูหรา และ Upper Upscale ในแง่ของการแซงระดับปี 2562 แต่ช่วงปลายปี 2566 ก็ตามทัน ทำให้ภาพรวมการฟื้นตัวค่อนข้างสมดุลในปี 2566
CoStar คาดการณ์ว่า ดีมานด์และอัตราการเข้าพักในกรุงเทพฯ จะยังคงต่ำกว่าจุดสูงสุดในอดีตอีกสักระยะ แต่ RevPAR ยังเป็นบวก เนื่องจากราคาห้องพักสูง โดยคาดว่าจะสูงกว่าปี 2562 ถึง 18% ตลอดปี 2567ตัวเลขการจองล่วงหน้าของโรงแรมในไตรมาสแรกของปี 2567 คล้ายคลึงกับปี 2566 โดยตลาดหลักที่เติบโตเร็วกว่าปีที่แล้วคือ พัทยาและรีสอร์ตชายฝั่งทะเลใต้นั่นเอง