วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เชิญประธานสภาเกษตรกรจังหวัด 77 จังหวัด และสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประเภทตัวแทนองค์กรเกษตรกร ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านพืช ด้านสัตว์ ด้านประมง และด้านเกษตรกรรมอื่น ๆ จำนวนรวม 16 คน เพื่อคัดเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ ตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 มาตรา 5 มาตรา 5 (3) จำนวน 7 ท่าน ได้แก่ ด้านพืช ด้านสัตว์ และด้านประมงซึ่งตามแผนงานได้
ทั้งนี้ผลการคัดเลือก เป็นดังนี้
ผู้ทรงคุณวุฒิคะแนนเสียงสูงสุด ด้านพืช ได้แก่ หมายเลข 19 นายศักดิ์ชาย พรหมโท จังหวัดอุดรธานี
หมายเลข 26 นายพิทักษ์ สุภนันทการ จังหวัดสุรินทร์
หมายเลข 6 นายดำรง ปินทะนา จังหวัดเชียงใหม่
หมายเลข 13 นายประวิทย์ คงราช จังหวัดสงขลา
หมายเลข 25 นายศรัทธาเทพ กาหยี จังหวัดตรัง
ผู้ทรงคุณวุฒิคะแนนสูงสุด ด้านสัตว์ หมายเลข 6 นายสมพงษ์ ภูพานเพชร จังหวัดสระบุรี
ผู้ทรงคุณวุฒิคะแนนสูงสุด ด้านประมง หมายเลข 5 นายพรชัย บัวประดิษฐ์ จังหวัดชลบุรี
อย่างไรก็ดี เมื่อได้สมาชิกประเภทผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 จะมีการยกมือโหวตตำแหน่ง “ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ” ซึ่งเวลานี้มีผู้ที่เป็นแคนดิเดตเพียงคนเดียวคือ นายนัยฤทธิ์ จำเล ซึ่งก่อนหน้านี้ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ได้ถอนตัว เพื่อเปิดทางให้ไปแล้วนั้น ต้องติดตามในวันโหวตว่าจะมีม้ามืดได้รับเสนอชื่อชิงตำแหน่งหรือไม่ ต้องติดตาม
นายนัยฤทธิ์ จำเล ว่าที่ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้ากลุ่มเพื่อนกำนันมัย กล่าวว่าา มั่นใจผลโหวตที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 18 สิงหาคมนี้ ตนจะได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติคนใหม่ อย่างแน่นอน
อนึ่ง ย้อนไปเมื่อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้อนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นวงเงิน 540 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2566 ตามที่สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติเสนอ
ขณะที่สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปัจจุบันครบวาระการดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 และสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดครบวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2559 โดยนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบในการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่
ทั้งนี้การได้มาซึ่งสภาเกษตรกรที่เป็นตัวแทนของเกษตรกรเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิต แปรรูป การตลาด สนับสนุนสิทธิและการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการกำหนดนโยบาย วางแผนงานอย่างเป็นระบบ ให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด พัฒนาภาคเกษตรกรรมและเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
โดยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาตินี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 มาตรา 8 และมาตรา 37 ซึ่งกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด คราวละ 4 ปี นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา