โครงการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด หลัง คปก.เห็นชอบหลักการแปลงที่ดิน

16 ต.ค. 2566 | 01:15 น.

โครงการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ภายหลัง คปภ. เห็นชอบในหลักการแปลงที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 เพื่อยกระดับเป็นโฉนดที่ดินเพื่อทำการเกษตรกรรม เช็กหลักการและวิธีการตรวจสอบรายละเอียดด่วน

โครงการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ภายหลังจากเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566  คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ คปก. ซึ่งมีร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการปรับปรุงเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 เพื่อยกระดับเป็นโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การปรับปรุงเอกสารสิทธิเพื่อยกระดับเป็นโฉนด โดยมีหลักการดำเนินการดังนี้

 

 

  • เร่งรัดการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง และมติ คปก. ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดรับกับการชับเคลื่อนภารกิจดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2566
  • จัดทำร่างระเบียบเพื่อกำหนดรูปแบบและนิยามโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พร้อมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเปลี่ยนเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
  • กำหนดคุณสมบัติผู้ได้รับการจัดที่ดินซึ่งเป็นเกษตรกรที่ถือครอง ส. ป.ก. 4-01  และได้ทำประโยชน์ในที่ดินมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5  ปี
  • กำหนดวิธีการจัดที่ดินโดยจะเป็นการจัดที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมตามการจำแนกพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดิน
  •  กำหนดหลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงผู้ทำประโยชน์ โดยให้สามารถเปลี่ยนมือได้ระหว่างเกษตรกรที่มีคุณสมบัติด้วยกันตามที่กฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด

 

โครงการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นฉโนด

  • จำนวนเนื้อที่การถือครองยังคงเป็นไปตามที่กฎหมายว่ด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด (เกษตรกรรมไม่เกิน 50  ไร่ และการเลี้ยงสัตว์ใหญ่ ไม่เกิน 100 ไร่)
  • กำหนดให้เกษตรกรที่ด้รับโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องปลูกไม้มีค่าในพื้นที่ตามสัดส่วนและชนิดของไม้มีค่าที่ ส.ป.ก. กำหนด
  • แนวทางการควบคุม กำกับ ดูแลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยกำหนดให้เลขาธิการ ส.ป.ก. หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ ส.ป.ก. มอบหมาย เป็นนายทะเบียนในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่เกษตรกรโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งกำหนดค่าดำเนินการที่เกี่ยวข้องในการจดทะเบียนสิทธิและทำนิติกรรม
  • ส.ป.ก. จะสามารถกำหนดหรือคำนวณมูลค่าที่ดินและทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สินของเกษตรกร เพื่อสร้างมูลค่าให้กับที่ดินรัฐ โดยแก้ไขบันทึกข้อตกลงกับ ธ.ก.ส. เพื่อเพิ่มวงเงินค้ำประกันเงินกู้และอำนาจในการจัดทำช้อตกลงกับสถาบันการเงินอื่นเพื่อเพิ่มโอกาสในการใช้เอกสารสิทธิหรือสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • การดำเนินการออกโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฉบับแรกจะสามารถแจกให้เป็นจังหวัดต้นแบบได้ภายในวันที่ 15 มกราคม 2567 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับพี่น้องเกษตรกร.

ที่มา: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

  • ส.ป.ก. จะดำเนินการในการออกเอกสารสิทธิในรูปแบบโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในทุกจังหวัดภายใน  1 ปี และจะดำเนินการปรับปรุงเอกสารสิทธิให้กับเกษตรกรที่มีคุณสมบัติครบภายใน 5 ปี