22 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ.... ต่อจากเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่คณะรัฐมนตรีได้นำร่าง พ.ร.บ.ไปพิจารณาและส่งกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อในวันนี้
โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มอบหมายให้ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้นำเสนอ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. โดยมีหลักการและเหตุผลของราชบัญญัติ ดังต่อไปนี้
1.เหตุผลและความจำเป็นในการเสนอร่างพระราชบัญญัติโดยโดยที่พระราชกำหนดการประเมิน พ.ศ. 2558 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของพี่น้องชาวประมง
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการทำประมงโดยชอบด้วยกฎหมาย และเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์และบริหารจัดการซะกรสัตว์น้ำให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และสามารถทำการประมงได้อย่างยั่งยืน
รวมทั้งเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และชาวประมงผู้ประกอบอาชีพประมงโดยสุจริตให้ได้รับความเป็นธรรมถึงการส่งเสริมประกอบอาชีพประมงให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยสอดคล้องกับกรณีระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการตราพระราช
สำหรับสาระสำคัญของพระราชบัญญัติได้แก้ไขทั้งหมด 36 มาตรา ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงได้แก้ไขกฎหมายรอง ในช่วงระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมาทั้งหมด 19 ฉบับซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของพี่น้องชาวประมง การแก้ไขเพิ่มเติมเจตนารมย์ของพระราชกำหนดการประมง 2558 โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริม และการสนับสนุนกิจการการประมงการคุ้มครองการประกอบอาชีพการประมงการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน
ตลอดจนถึงการเน้นย้ำความสำคัญของการบังคับใช้มาตรการในการบังคับกับพี่น้องให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ซึ่งร่างมาตรา 3 ได้แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 42 การแก้ไขเพิ่มเติม บทนิยาม คำว่า ทะเลชายฝั่ง โดยเพิ่มเติมการกำหนดเขตทะเลชายฝั่งให้มีระยะน้อยกว่า 1.5 ไมล์ทะเล สำหรับที่มีข้อจำกัดตามลักษณะทางกายภาพ และแก้ไขเพิ่มเติมตามบทนิยาม คำว่า การประมงพื้นบ้าน เพื่อลดข้อจำกัดในด้านพื้นที่ของการทำประมงพื้นบ้าน ซึ่งเดิมจำกัดแต่การทำประมงในเขตทะเลชายฝั่งเท่านั้น
ร่างมาตรา 4 ยกเลิกนิยามคำว่า ทะเลชายฝั่ง และร่างมาตรา 5 ยกเลิกบทนิยามคำว่า ระบบพื้นบ้าน การแก้ไขบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ โดยเพิ่มเติมให้นายกรัฐมนตรีสามารถมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการได้ และเพิ่มเติมปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และเลขาธิการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
นอกจากนี้ในส่วนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มีการเพิ่มเติมให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้แทนสมาคมการประมงด้านต่างๆ โดยให้มีการคัดเลือกกันเอง และกำหนดเพิ่มเติมอายุการเป็นกรรมการของผู้ทรงคุณวุฒิจากเดิม 2 ปีเป็น 3 ปี
ทั้งยังแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด โดยเพิ่มเติมการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด และผู้แทนของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เฉพาะจังหวัดแต่ละจังหวัดที่มีอาณาเขต และแก้ไขมาตรา 26 เพิ่มเติมของผู้มีสิทธิ์ขอรับใบอนุญาตการทำประมงพื้นบ้าน เพื่อกำหนดเฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้นที่สามารถมาขออนุญาตทำประมงพื้นบ้านได้ รวมถึงการจำกัดจำนวนใบอนุญาตของแต่ละบุคคลออกเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำการประมงพื้นบ้านของผู้มีสัญชาติไทย
"กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่พี่น้องประชาชนได้รับความทุกข์ระทมมาช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เป็นความยากลำบากของพี่น้องชาวประมงทั้งฝั่งทะเลอันดามัน และอ่าวไทย
มีผลในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและพี่น้องชาวประมงผู้ประกอบอาชีพการประมงโดยสุจริตให้ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎกำหนดโทษให้สอดคล้องกับสภาพความรุนแรงของการกระทำความผิด ตลอดจนถึงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการการประมงและอุตสาหกรรมประมงของประเทศฟื้นตัวอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับพันธะระหว่างประเทศควบคู่ไปกับการรักษาสรรพากรสัตว์น้ำ เพื่อเป็นแหล่งอาหารของมนุษยชาติ และการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากยั่งยืน รวมทั้งเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนในการอนุรักษ์บำรุงรักษาฟื้นฟูการคุ้มครองสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่คู่กับสภาพที่เหมาะสมอย่างยั่งยืน" ร.อ.ธรรมนัส กล่าว