“ทรัมป์ 2.0” ประเมินผลกระทบเชิงลึกเขย่าเศรษฐกิจไทย ปี 68

02 ธ.ค. 2567 | 09:13 น.
อัปเดตล่าสุด :02 ธ.ค. 2567 | 13:52 น.

ม.หอการค้าไทย ประเมินผลกระทบเชิงลึก นโยบายทรัมป์ 2.0 ที่มีต่อเศรษฐกิจไทย จากการตั้งข้อสมมติฐาน 6 เรื่อง 3 กรณี หากไทยถูกสหรัฐขึ้นภาษี ไทยได้รับผลกระทบอะไรบ้าง

หลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโกและแคนาดาทุกชนิดเพิ่มขึ้น 25% ตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกทั้ง ยังจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนทุกชนิดเพิ่มขึ้น 10% จากอัตราภาษีนำเข้าที่เรียกเก็บอยู่แล้วในปัจจุบัน ซึ่งไทย ก็ต้องติดตามสถานกาณ์อยู่ตลอดว่าจะถูกสหรัฐฯเรียกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด

ทั้งนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ได้มีการประเมินผลกระทบของนโยบายทรัมป์ 2.0  ที่อาจมีผลต่อเศรษฐกิจไทย จากการตั้งข้อสมมติฐานปัจจัยส่งผลกระทบต่อ GDP ไทยปี 2568 ไว้ 6 เรื่อง คือ

  1. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  2. ไทยถูกสหรัฐ ขึ้นภาษี 10%
  3. ไทยถูกสหรัฐ ขึ้นภาษี 15%
  4. สงครามยูเครนขยายตัวสู่ระดับโลก
  5. เวียดนามถูกสหรัฐ ขึ้นภาษี 20%
  6. สงครามยูเครนได้ข้อยุติ

ขณะเดียวกัน หากวิเคราะห์ผลกระทบภายนอกที่อาจมีต่อเศรษฐกิจไทยปี 2568 จากสมมติฐาน ไทยถูกสหรัฐ ขึ้นภาษี 10% จะส่งผลให้มูลค่าการส่งออก ลดลง 160,470 ล้านบาท การนำเข้าพลังงาน ลดลง 53,082.9 ล้านบาท การลงทุนทางตรง ลดลง 25,092.5  และถ้าหากไทยถูกสหรัฐ ขึ้นภาษี 15% มูลค่าการส่งออกลดลง 214,829 ล้านบาท การนำเข้าพลังงาน ลดลง 83,416 ล้านบาท การลงทุนทางตรง ลดลง 37,638.8

สงครามยูเครนขยายตัวสู่ระดับโลก มูลค่าการส่งออกลดลง 97,989 ล้านบาท การนำเข้าพลังงาน เพิ่มขึ้น 219,757 ล้านบาท การลงทุนทางตรง ลดลง 47,300 เวียดนามถูกสหรัฐ ขึ้นภาษี 20% การลงทุนทางตรง เพิ่มขึ้น 62,430.7สงครามยูเครนได้ข้อยุติ มูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้น 128,350.4 ล้านบาท การนำเข้าพลังงาน ลดลง 109,878.9 ล้านบาท การลงทุนทางตรง เพิ่มขึ้น 20,910.4

ปัจจัยส่งผลกระทบต่อ GDP ไทยปี 2568

อย่างไรก็ตาม หากนำข้อสมมติฐานมารวมกันโดยมีการแบ่งปัจจัยส่งผลกระทบต่อ GDP ไทยปี 2568 ออกเป็น 3 กรณี ประกอบด้วย

กรณีที่ 1 (แย่ที่สุด) พบว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีเงินสะพัด 165,934 ล้าบาท ไทยถูกสหรัฐ ขึ้นภาษี 15% ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 169,051 ล้านบาท , สงครามยูเครนขยายตัวสู่ระดับโลก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 365,047 ล้านบาท GDP ขยายตัว 0.9%  การส่งออกสินค้า ขยายตัว 0.4% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ขยายตัว 2.4% สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ระดับ 85.9

กรณีที่ 2 (ดีกว่า) พบว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีเงินสะพัด 165,934 ล้าบาท ไทยถูกสหรัฐ ขึ้นภาษี 10% ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 132,481 ล้านบาท GDP ขยายตัว 3.2%  การส่งออกสินค้า ขยายตัว 1% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ขยายตัว 1.1% สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ระดับ 84.0

กรณีที่ 3 (ดีที่สุด) พบว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีเงินสะพัด 165,934 ล้าบาท ไทยถูกสหรัฐ ขึ้นภาษี 10% ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 132,481 ล้านบาท เวียดนามถูกสหรัฐ ขึ้นภาษี 20% มูลค่าทางเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้น 62,430 สงครามยูเครนได้ข้อยุติ มูลค่าทางเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้น 259,139  GDP ขยายตัว 5%  การส่งออกสินค้า ขยายตัว 2.2% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ขยายตัว -0.8% สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ระดับ 82.6

นโยบายทรัมป์ 2.0  ผลกระทบทางตรง-ทางอ้อม

นอกจากนี้ นโยบายทรัมป์ 2.0  ที่อาจมีผลต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผลกระทบทางตรง คือเรื่องของการส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐที่จะลดลง มูลค่าส่งออกลดลงประมาณ 108,714 ล้านบาท เฉลี่ย 1.03% ต่อการส่งออกภาพรวม และมีผลต่อ GDP 0.59%

ด้านผลกระทบทางอ้อม คือ การส่งออกวัตถุดิบของไทยในห่วงโซ่อุปทานจีน-สหรัฐ มูลค่าลดลง 49,105 ล้านบาท  เฉลี่ย 0.46% ต่อการส่งออกภาพรวม และมีผลต่อ GDP เฉลี่ย 0.27% การส่งออกวัตถุดิบของไทยในห่วงโซ่อุปทานจีน-สหรัฐ มูลค่าลดลง 2,653 ล้านบาท  เฉลี่ย 0.03% ต่อการส่งออกภาพรวม และมีผลต่อ GDP เฉลี่ย 0.01%  จากผลกระทบทั้ง 3 เรื่องมีมูลค่ารวม 160,472 ล้านบาท เฉลี่ย 1.52% ต่อการส่งออกภาพรวม และมีผลต่อ GDP เฉลี่ย 0.87% 

ผลกระทบสหรัฐขึ้นภาษีจีน 60%

ขณะเดียวกัน หากสหรัฐฯมีการปรับขึ้นภาษีการนำเข้าสินค้าจากจีน 60% ซึ่งจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อไทย คือ เนื่องจากมูลค่าการส่งออกของจีนไปยังสหรัฐ ลดลง 350,660 ล้านดอลลาร์ เมื่อไทยมีส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มในการส่งออกของจีนไปยังสหรัฐ ประมาณ 0.4% อาจจะทำให้มูลค่าการส่งอออกวัตถุดิบของไทยไปจีน ลดลง 1,403 ล้านดอลลาร์ หรือ 49,105 ล้านบาท จากข้อมูล OCEC Inter-Country Input-Output ที่เผยแพร่ในปี 2023 สำหรับส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มของไทยในการส่งออกของจีนไปยังสหรัฐ ช่วง 5 ปี ย้อนหลัง ปี 2016-2020 พบว่า

ปี 2016 การส่งออกมูลค่าเพิ่มของจีนไปสหรัฐฯ มีมูลค่า 442,705 ล้านบาท ส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มของไทยในสินค้าจีน มูลค่า 1,789 ล้านบาท มีสัดส่วน 0.40%

ปี 2017 การส่งออกมูลค่าเพิ่มของจีนไปสหรัฐฯ มีมูลค่า 484,744 ล้านบาท ส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มของไทยในสินค้าจีน มูลค่า 1,852 ล้านบาท มีสัดส่วน 0.38%

ปี 2018 การส่งออกมูลค่าเพิ่มของจีนไปสหรัฐฯ มีมูลค่า 520,445 ล้านบาท ส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มของไทยในสินค้าจีน มูลค่า 1,907 ล้านบาท มีสัดส่วน 0.37%

ปี 2019 การส่งออกมูลค่าเพิ่มของจีนไปสหรัฐฯ มีมูลค่า 460,892 ล้านบาท ส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มของไทยในสินค้าจีน มูลค่า 1,795 ล้านบาท มีสัดส่วน 0.39%

ปี 2020 การส่งออกมูลค่าเพิ่มของจีนไปสหรัฐฯ มีมูลค่า 486,453 ล้านบาท ส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มของไทยในสินค้าจีน มูลค่า 1,947 ล้านบาท มีสัดส่วน 0.40%

ผลกระทบจีนขึ้นภาษีตอบโต้สหรัฐ

ทั้งนี้ หากจีนมีการปรับขึ้นภาษีการนำเข้าเพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ในอัตราใกล้เคียงกัน ซึ่งจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อไทย คือ เนื่องจากมูลค่าการส่งออกของสหรัฐฯไปยังจีน ลดลง 75,752 ล้านดอลลาร์ เมื่อไทยมีส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มในการส่งออกของสหรัฐฯไปยังจีน ประมาณ 0.1% อาจจะทำให้มูลค่าการส่งอออกวัตถุดิบของไทยไปสหรัฐฯ ลดลง 75.8 ล้านดอลลาร์ หรือ 2,653 ล้านบาท สำหรับส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มของไทยในการส่งออกของสหรัฐฯไปยังจีน ช่วง 5 ปี ย้อนหลัง ปี 2016-2020  พบว่า

ปี 2016 การส่งออกมูลค่าเพิ่มของสหรัฐฯไปจีน มีมูลค่า 249,120 ล้านบาท ส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มของไทยในสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 255 ล้านดอลลาร์ มีสัดส่วน 0.10%

ปี 2017 การส่งออกมูลค่าเพิ่มของสหรัฐฯไปจีน มีมูลค่า 266,215 ล้านบาท ส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มของไทยในสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 272 ล้านดอลลาร์ มีสัดส่วน 0.10%

ปี 2018 การส่งออกมูลค่าเพิ่มของสหรัฐฯไปจีน มีมูลค่า 266,603 ล้านบาท ส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มของไทยในสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 258 ล้านดอลลาร์ มีสัดส่วน 0.10%

ปี 2019 การส่งออกมูลค่าเพิ่มของสหรัฐฯไปจีน มีมูลค่า 227,000 ล้านบาท ส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มของไทยในสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 221 ล้านดอลลาร์ มีสัดส่วน 0.10%

ปี 2020 การส่งออกมูลค่าเพิ่มของสหรัฐฯไปจีน มีมูลค่า 222,021 ล้านบาท ส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มของไทยในสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 248 ล้านดอลลาร์ มีสัดส่วน 0.11