การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ "โลกร้อน" ส่อส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจระยะยาวทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งต้องเผชิญผลกระทบหนักหน่วงทั้งจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและภัยธรรมชาติรุนแรง
งานวิจัยจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ซานฟรานซิสโก ชี้ว่า หากไม่มีมาตรการจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ภายในปี 2200 ทางสหรัฐฯ จะประสบความสูญเสียทุนประมาณ 5.4% และการบริโภคลดลง 1.8% เนื่องจากผลกระทบของวันร้อนจัดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มแรงงานก่อสร้างลดลงด้วย
สำหรับ เอเชียแปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 3.9% (สูงกว่าอัตราทั่วโลกที่ 3.5%) ตามรายงาน Net Zero Economy Index ฉบับล่าสุดจาก PwC ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความคืบหน้าประจำปีในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน
พบว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงเผชิญความท้าทายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจำเป็นต้องมีอัตราการลดปล่อยถึง 17.2% ต่อปี เพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2050 อย่างไรก็ตาม ในปี 2022 ที่ผ่านมา อัตราการลดยังอยู่ที่เพียง 2.8% ซึ่งสูงกว่าปี 2021 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เอเชียแปซิฟิกต้องพึ่งพาพลังงานฟอสซิลอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การเปิดเสรีตลาดพลังงานหยุดชะงัก เนื่องจากจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับพลังงานในรูปแบบเดิมและต้นทุนต่ำ เช่นถ่านหินมากขึ้น
แม้ว่าเอเชียจะคิดเป็นประมาณ 60% ของกำลังการผลิตติดตั้งใหม่ของโลก และ 48% ของกำลังการผลิตพลังงานทดแทนทั่วโลกในปี 2027 โดยจำเป็นต้องเพิ่มการลงทุนจาก 62.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 เป็น 165.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี 2031-2035 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า
คาดว่าจะมีสัดส่วนสองในสามของการเติบโตความต้องการพลังงานโลกภายในปี 2040 จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานมากขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซ เพื่อรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เอเชียแปซิฟิกยังเผชิญความเสี่ยงสูงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นอกจากนี้ หากฝั่งเอเชียไม่มีมาตรการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้สถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง อาจสูญเสียผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศถึง 24% ภายในปี 2100
เหตุการณ์ระดับโลกจะสร้างความท้าทายให้รัฐบาลของประเทศในเอเชียแปซิฟิก การชะลอการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องจะทำให้จุดเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศมาถึงเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้ผลกระทบรุนแรงมากขึ้น
ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึง ประเทศไทย กำลังเผชิญหน้ากับสงครามอันยาวนานในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะต้องใช้ความพยายามอย่างจริงจังและต่อเนื่องในการปฏิรูปนโยบายและการลงทุนด้านพลังงานสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงในอนาคต
อ้างอิง:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง