climatecenter

จับตา “Rain bomb” กทม. ฝนตกหนักแบบเฉียบพลัน

    "Rain Bomb" ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เนื่องจากสภาวะโลกร้อนและการเข้าสู่ปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้ฝนตกหนักในระยะเวลาสั้นๆ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เช่นในจ.พะเยา ที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักถึง 106.5 มม.ในเวลาเพียง 4 ชม.ส่งผลให้พื้นที่บางแห่งน้ำท่วมสูงเกือบ 2 ม.

"Rain Bomb" หมายถึงการตกหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ความเสียหายเกิดขึ้นก่อนที่น้ำจะลดลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือเหตุการณ์น้ำท่วมในภูเก็ต ออสเตรเลีย และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งหลายพื้นที่ไม่เคยมีประวัติการเกิดน้ำท่วมมาก่อน

ฝน "Rain Bomb" มีลักษณะท้องฟ้าสว่าง มีแดดโล่ง จากนั้นจึงเกิดฝนฟ้าคะนองขึ้นอย่างกะทันหัน ฝนจะตกหนักในระยะเวลาสั้น ๆ แบบตูมเดียว

รายงานฉบับใหม่ของ Climate Council เรื่อง 'A Supercharged Climate: Rain Bombs, Flash Flooding and Destruction' อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทำให้เกิดฝนตกหนักมากขึ้น และความถี่ของเหตุการณ์เหล่านี้มีแนวโน้มจะเพิ่มเกือบ 2 เท่าทุกครั้งที่โลกร้อนขึ้น

ปรากฏการณ์นี้อาจเกิดขึ้นอีกในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณที่มีร่องมรสุมและไอน้ำสะสมมาก ทำให้ต้องมีการเตรียมตัวรับมือ เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน เน้นย้ำว่าการคาดการณ์ Rain Bomb ยังทำได้ยาก จึงควรศึกษาสภาพแวดล้อมและความเสี่ยงรอบบ้าน

ขณะเดียวกัน ปลัด กทม. ขอความร่วมมือประชาชนให้เฝ้าระวัง รับฟังการแจ้งเตือน และ ไม่ทิ้งขยะในแม่น้ำลำคลอง หรือ กากอาหารลงในท่อระบายน้ำ เนื่องจากจะเกิดตะกอนไขมันอุดตันท่อ ส่วนพื้นที่ก่อสร้างที่กีดขวางทางน้ำ สำนักการระบายน้ำได้ดำเนินการคลี่คลายแล้วหลายพื้นที่ ส่วนพื้นที่สาธารณะที่ยังมีปัญหาได้มีการทำบายพาส ออกด้านข้างเรียบร้อยแล้ว พร้อมเฝ้าระวังติดตามน้ำที่ปล่อยลงมาจากเขื่อนเจ้าพระยา ตอนนี้ยังถือว่าบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีโอกาสพบฝนตกหนัก เนื่องจากมีอิทธิพลจากร่องมรสุม และหย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวในทะเลจีนใต้ ซึ่งจะดึงมรสุมให้มีความแรงมากขึ้น นอกจากนี้ แนวร่องมรสุมที่พาดผ่านกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมกับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันที่กำลังทวีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนในภาคอีสาน ทำให้มีโอกาสพบฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง

พยากรณ์อากาศล่วงหน้าในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 20 – 21 กันยายน 2567 มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ โดยบางแห่งจะมีฝนตกหนัก ส่วนในช่วงวันที่ 22 – 25 กันยายน 2567 คาดว่าฝนฟ้าคะนองจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70 – 80 และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ลมจะมีการแปรปรวน ความเร็วประมาณ 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 24 - 27 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 29 - 36 องศาเซลเซียส

 

ประเทศที่มีการรับมือกับ "Rain Bomb" หรือฝนตกหนักแบบเฉียบพลัน

อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จในการรับมือกับฝนตกหนักหรือพายุที่มีลักษณะคล้าย Rain Bomb โดยใช้การวางแผนด้านโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายในการป้องกันน้ำท่วมอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการออกแบบเมืองและการจัดการพื้นที่สีเขียว เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประเทศเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมจากฝนตกหนัก

เนเธอร์แลนด์

  • ระบบการจัดการน้ำขั้นสูง เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่ประสบปัญหาน้ำท่วมจากพายุฝนบ่อยครั้งเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล รัฐบาลได้ลงทุนในโครงการ Delta Works ซึ่งเป็นระบบเขื่อนและกำแพงกั้นน้ำที่ช่วยป้องกันน้ำท่วม นอกจากนี้ยังมีการออกแบบพื้นที่ในเมืองให้มีพื้นที่เก็บน้ำสำรองในกรณีที่น้ำท่วมฉับพลัน โซลูชันพื้นที่ชุ่มน้ำและระบบป้องกัน การสร้างพื้นที่ชุ่มน้ำหรือสวนสาธารณะที่สามารถรองรับน้ำได้มากเพื่อป้องกันน้ำท่วม เช่น โครงการRoom for the River ที่เน้นการให้ธรรมชาติมีบทบาทในการป้องกันน้ำท่วม

สิงคโปร์

  • โครงสร้างพื้นฐานการจัดการน้ำท่วมในเมือง สิงคโปร์มีแผนการจัดการน้ำท่วมที่เรียกว่า ABC Waters Programme ซึ่งเป็นการรวมพื้นที่สีเขียวเข้ากับการจัดการน้ำ เช่น การออกแบบอาคารและพื้นที่สาธารณะให้สามารถกักเก็บน้ำฝนได้ รวมถึงการพัฒนาระบบระบายน้ำอัจฉริยะ ระบบแจ้งเตือนและควบคุม สิงคโปร์มีระบบแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมที่แม่นยำและทันสมัย ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว

ญี่ปุ่น

  • การออกแบบเมืองให้ทนทานต่อน้ำท่วม ญี่ปุ่นเผชิญกับปัญหาพายุไต้ฝุ่นและฝนตกหนักเป็นประจำ รัฐบาลได้พัฒนาระบบระบายน้ำขั้นสูง เช่น โครงการ G-Cans ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้ดินขนาดใหญ่เพื่อป้องกันน้ำท่วมในกรุงโตเกียว โดยอุโมงค์นี้สามารถเก็บน้ำฝนจำนวนมากและส่งน้ำออกไปยังแม่น้ำใหญ่ การรับมือพายุและฝนตกหนัก ญี่ปุ่นยังมีกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างอาคารที่คำนึงถึงน้ำท่วมและการออกแบบระบบระบายน้ำในเมืองอย่างยั่งยืน

เดนมาร์ก

  • การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานทนทานต่อน้ำท่วม  โคเปนเฮเกนมีแผนการจัดการน้ำท่วมในเมืองที่เรียกว่า Cloudburst Management Plan ซึ่งใช้การออกแบบถนน สวนสาธารณะ และลานกว้างที่สามารถระบายน้ำฝนได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดพายุฝนหนัก รวมถึงการสร้างอ่างเก็บน้ำใต้ดินและพื้นที่สีเขียวเพื่อกักเก็บน้ำ

เกาหลีใต้

  • ระบบระบายน้ำในเมือง โซลมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำที่ทันสมัย ซึ่งรวมถึงการสร้างอ่างเก็บน้ำใต้ดินขนาดใหญ่ และการพัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อป้องกันน้ำท่วมเมื่อเกิดฝนตกหนักโครงการ Cheonggyecheon เป็นโครงการฟื้นฟูคลองกลางเมืองที่ช่วยให้สามารถกักเก็บน้ำฝนและลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมในพื้นที่เมือง

 

อ้างอิงข้อมูล