ทั้งนี้ได้วางรากฐานเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดในอนาคต ตอบสนองต่อนโยบายด้านพลังงานและความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ในความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี พ.ศ. 2593
การขับเคลื่อนสู่เป้าหมายสู่อนาคตที่ยั่งยืนด้วยพลังงานสะอาด ของ PEA หลังจากนี้ไป มีการกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนว่า จะมุ่งเน้นระบบโครงข่ายและระบบจำหน่ายที่มั่นคง รองรับการขยายตัวของลูกค้าอุตสาหกรรมและการเพิ่มขึ้นของพลังงานสะอาด สร้างพันธมิตรกับเครือข่าย Startup เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงาน ยกระดับผลประกอบการของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่ รวมถึงเตรียมความพร้อมของระบบเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงพลังงานในอนาคตด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของ Grid Modernization
พร้อมกับวางแผนการดำเนินงาน Green Tech Fund เพื่อสร้างผลตอบแทนการลงทุนพร้อมทั้งนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการดำเนินงานของ PEA และยกระดับการพัฒนาองค์กรไปสู่ Carbon Neutrality
ที่ผ่านมา PEA ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไว้หลายโครงการไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาระบบไฟฟ้าด้วยระบบกักเก็บพลังงานเชื่อมต่อในระบบจำหน่าย เพื่อเสริมความมั่นคงในการจ่ายฟ้าและเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด ในหลายพื้นที่ อาทิ พื้นที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน และอ.เบตง จ.ยะลา และต่อยอดการนำเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System : BESS) เพื่อให้ระบบจำหน่ายไฟฟ้าสามารถรองรับพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น 20 แห่ง
อีกทั้ง เป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานแห่งแรกที่จัดทำ Framework สอดคล้องตามมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของอาเซียน (ASEAN Taxonomy) ออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนเป็นครั้งแรก อายุพันธบัตร 5 ปี วงเงินรวม 1,000 ล้านบาทโดยนำเงินที่ได้มาลงทุนโครงการก่อสร้างสายเคเบิลใต้นํ้าไปยังเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี และโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Micro Grid) บนพื้นที่เกาะพะลวย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น
สนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าโดยติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้ามากกว่า 400 สถานี ครอบคลุม 75 จังหวัด มีผู้ใช้บริหารกว่า 2 แสนราย สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า และให้บริการเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าพิกัดสูง (EVSUPER CHARGE) ขนาด 360 kW สามารถใช้งานผ่าน PEAVolta Application ประกอบด้วย ฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ อาทิ ค้นหาสถานีชาร์จ ควบคุมการเริ่มหรือหยุดการอัดประจุแบบ Real time และชำระค่าบริการ
นอกจากนี้ PEA ยังมีบริการอัดประจุผ่าน PEA Volta Platform ระบบบริหารสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กผ่าน Termfai Platform โดยมี Pupaplug เต้ารับสำหรับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าพิกัด 3.7 kW และ Pupapump Ac charger 7.7 kW และในไม่ช้า PEA จะเพิ่มการบริการอัดประจุที่สถานี PEA Volta ให้กลุ่มลูกค้าองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน (Volta Fleet) โดยผู้ใช้รถไม่ต้องพกเงินสด ไม่ต้องโหลด App บริหารค่าใช้จ่ายผ่านระบบ Master Account และ Account ย่อย
รวมถึงการส่งเสริมการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยให้บริการติดตั้ง บำรุงรักษา บริการจัดการพลังงานในองค์กร ได้แก่
Renewable Energy : RE ในรูปแบบ ESCO Model Guaranteed Rebate และ Energy Efficiency : EE ในรูปแบบ ESCO Model Shared Saving
จัดหาใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) สำหรับองค์กรที่มีเป้าหมายจะมุ่งสู่ความยั่งยืน หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ที่ได้กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานสะอาดและองค์กรที่ได้รับผลกระทบการส่งออกจากมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การพัฒนาแพลตฟอร์ม CARBONFORM เพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรและเป็นเครื่องมือการขับเคลื่อนเป้าหมาย Carbon Neutrality ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นนิติบุคคลในพื้นที่รับผิดชอบของ PEA 74 จังหวัด ใช้งานแพลตฟอร์ม CARBONFORM ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ บริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หน้า 7 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,027 วันที่ 15 - 18 กันยายน พ.ศ. 2567
ข่าวที่เกี่ยวข้อง