net-zero

"สนพ." เผยภาคพลังงานปล่อยก๊าซ "CO2" ครึ่งปี 67 ลดลง 2.5%

    "สนพ." เผยภาคพลังงานปล่อยก๊าซ "CO2" ครึ่งปี 67 ลดลง 2.5% หลังภาคการขนส่ง อุตสาหกรรม ครัวเรือน เกษตรกรรม พาณิชยกรรม และกิจกรรมอื่น มีการปล่อยลดลง ระบุยังมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสหภาพยุโรป

นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงาน 6 เดือนแรกของปี 2567 (เดือนมกราคม - มิถุนายน 2567) พบว่า การปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานอยู่ที่ระดับ 121.9 ล้านตัน CO2 ลดลง 2.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน 

โดยในภาคการขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจอื่น เช่น ภาคครัวเรือน เกษตรกรรม พาณิชยกรรม และกิจกรรมอื่น มีการปล่อยก๊าซ CO2 ลดลงที่ 16.8% 1.2% และ 1.5% ในขณะที่ภาคการผลิตไฟฟ้ามีการปล่อยก๊าซ CO2 เพิ่มขึ้น 5.8%

สำหรับการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานแยกรายชนิดเชื้อเพลิงใน 6 เดือนแรกของปี 2567 พบว่า ภาพรวมการปล่อยก๊าซ CO2 แยกรายชนิดเชื้อเพลิง รวมทั้งสิ้น 121.9 ล้านตัน CO2 ซึ่งลดลงจากทุกชนิดเชื้อเพลิง 
 

โดยน้ำมันสำเร็จรูป มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 อยู่ที่ 52.9 ล้านตัน CO2 ลดลง 1.1% ก๊าซธรรมชาติ มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 อยู่ที่ 40 ล้านตัน CO2 ลดลง 0.3% และถ่านหิน/ลิกไนต์ มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2  อยู่ที่ 28.9 ล้านตัน CO2 ลดลง 7.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

"สนพ." เผยภาคพลังงานปล่อยก๊าซ "CO2" ครึ่งปี 67 ลดลง 2.5%

การปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานแยกรายภาคเศรษฐกิจในปี 2566 พบว่า มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 อยู่ที่ 121.9 ล้านตัน CO2 ลดลง 2.4% โดยภาคการขนส่ง มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2  อยู่ที่ 41.5 ล้านตัน CO2 ลดลง 1.2% 

ภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 อยู่ที่ 25.6 ล้านตัน CO2 ลดลง 16.8% ภาคการผลิตไฟฟ้า มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2  อยู่ที่ 48.1 ล้านตัน CO2 เพิ่มขึ้น 5.8% 
 

และภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ ได้แก่ ภาคครัวเรือน เกษตรกรรม พาณิชยกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ มาจากการใช้น้ำมันสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 รวม 6.7 ล้านตัน CO2 ลดลง 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

นายวีรพัฒน์ กล่าวอีกว่า หากเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซ CO2 ต่อการใช้พลังงานของประเทศไทยเทียบกับต่างประเทศ จากข้อมูลของ International Energy Agency (IEA) ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซ CO2 ต่อการใช้พลังงานอยู่ที่ 2.05 พันตัน CO2 ต่อการใช้พลังงาน 1 KTOE 

"สนพ." เผยภาคพลังงานปล่อยก๊าซ "CO2" ครึ่งปี 67 ลดลง 2.5%

ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมประเทศจีน) ประเทศจีน และประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ที่ 2.29 2.34 2.79 และ 2.12 พันตัน CO2 ต่อการใช้พลังงาน 1 KTOE 

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซ CO2 ต่อการใช้พลังงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรป ซึ่งอยู่ที่ 1.95 พันตัน CO2 ต่อการใช้พลังงาน 1 KTOE ซึ่งประเทศไทยมีนโยบายด้านพลังงานที่คำนิงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

รวมทั้งการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นพลังงานสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงทำให้มีการปล่อยก๊าซ CO2 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ซึ่งจะช่วยทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการลดปลดปล่อยก๊าซ CO2 ตามเป้าหมายของการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศได้