คอลัมน์ ชี้ช่องจากทีมทูต
โดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ globthailand.com กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในฮ่องกง สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง
- - - - - - - - - -
จากการสำรวจเมื่อปี 2563 พบว่า ประชากรฮ่องกงสร้างขยะเฉลี่ยคนละ 1.44 กิโลกรัม/วัน ซึ่งมากกว่าอัตราของประชากรโตเกียวเกือบเท่าตัว โดยขยะทั้งหมดในฮ่องกงทั้งขยะจากครัวเรือน ร้านค้า และโรงงานอุตสาหกรรม ขยะจากการก่อสร้าง และขยะทางเคมีอื่น ๆ จะถูกนำไปกำจัดแบบวิธีฝังกลบในพื้นที่ที่ห่างไกลจากชุมชน (landfill) ซึ่งมีเพียง 3 แห่งในฮ่องกง ได้แก่
นอกจากนี้ แม้ว่าฮ่องกงจะมีปริมาณขยะในจำนวนมาก แต่อัตราการรีไซเคิลขยะของฮ่องกงยังค่อนข้างต่ำ โดยฮ่องกงมีอัตราการรีไซเคิลขยะราว 30% เมื่อเทียบกับสิงคโปร์ซึ่งมีอัตราการรีไซเคิลขยะอยู่ที่ราว 61%
ในขณะที่ปริมาณขยะจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและขยะจากครัวเรือนในฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะขยะหีบห่อจากร้านอาหาร ชุด PPE ที่ใช้แล้ว และหน้ากากอนามัยในช่วงการบังคับใช้มาตรการ social distancing อย่างเข้มงวดตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งการฝังกลบขยะจะเพิ่มปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นภัยต่อสภาวะการเปลี่ยนทางสภาพภูมิอากาศเป็นจำนวนมาก รัฐบาลฮ่องกงจึงจำเป็นต้องหาแนวทางในการบริหารจัดการขยะรูปแบบใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งลดปริมาณขยะด้วยการรีไซเคิล และการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐกิจ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในการบริหารจัดการขยะภายในปี 2593 ตามแผนปฏิบัติการ “Climate Action Plan 2050” ของรัฐบาลฮ่องกงและตามการแถลงนโยบายประจำปี 2563 และปี 2564 ของผู้บริหารสูงสุดฮ่องกง
นอกจากนั้น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กระทรวงสิ่งแวดล้อมฮ่องกงได้ออกพิมพ์เขียวด้านการบริหารจัดการขยะ “Waste Blueprint for Hong Kong 2035” ซึ่งมุ่งเน้นการ “ลดปริมาณของเสีย เพิ่มการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ และยกเลิกการกำจัดขยะแบบฝังกลบ” ผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาสังคม เพื่อบรรลุเป้าหมายในระยะกลางและระยะยาว ดังนี้
โครงการ GREEN@COMMUNITY
GREEN@COMMUNITY เป็นหนึ่งในโครงการสนับสนุนการลดปริมาณขยะและเพิ่มอัตราการนำขยะกลับมาใช้ใหม่หรือการรีไซเคิล ภายใต้พิมพ์เขียว “Waste Blueprint for Hong Kong 2035” โดยมีการจัดตั้งสถานที่เพื่อรับขยะจากประชาชน 3 ประเภท ได้แก่ สถานีรีไซเคิล (recycling stations) ร้านรีไซเคิล (recycling stores) และจุดรีไซเคิล (recycling spots) ซึ่งจะตั้งอยู่ในบริเวณชุมชนในย่านต่าง ๆ ทั่วฮ่องกง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์การรีไซเคิลขยะและสร้างพื้นที่สีเขียวในชุมชน
สถานีรีไซเคิล (recycling stations) มีทั้งหมด 11 แห่ง ทั่วฮ่องกง (ในเขต Hong Kong Island 2 แห่ง/ ในเขต Kowloon 2 แห่ง / และเขต New Territories 7 แห่ง) โดยนอกจากการรับขยะเพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นทรัพยากรอื่น ๆ ต่อไปแล้ว ภายในสถานีฯ ยังจัดแสดงขยะประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการรีไซเคิลขยะ และมีบริการรถรับขยะจากอาคารที่พักและโรงเรียน
ร้านรีไซเคิล (recycling stores) มีทั้งหมด 32 แห่งทั่วฮ่องกง (เขต Hong Kong Island 8 แห่ง/ ในเขต Kowloon 8 แห่ง/ และเขต New Territories 16 แห่ง) เพื่อรองรับขยะจากประชาชนเพื่อนำไปรีไซเคิล โดยประชาชนที่นำขยะมารีไซเคิลจะได้รับแต้มสะสมในสมาร์ทการ์ด GREEN$ (Green Coins) เพื่อนำไปแลกเป็นของสินค้าอุปโภคบริโภค และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่าง ๆ
จุดรีไซเคิล (recycling spots) ทุกสัปดาห์จะมีการจัดตั้งจุดรับขยะเพื่อนำไปรีไซเคิลทั่วฮ่องกงกว่า 100 จุด ทั้งในเขต Hong Kong Island/ เขต Kowloon/ และเขต New Territories เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่สนใจนำขยะมารีไซเคิล และเผยแพร่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และการรีไซเคิลขยะที่ถูกต้อง
ฮ่องกงกับการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy)
จากความสำเร็จในการส่งเสริมการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลฮ่องกงในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ประชาชนฮ่องกงเริ่มตระหนักและให้ความสำคัญต่อการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังเล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่ภายใต้โมเดลธุรกิจ “เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy)” เพื่อร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจฮ่องกงอย่างยั่งยืนในยุคหลังโควิด-19โดยขอยกตัวอย่าง ธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนที่น่าสนใจในฮ่องกง ดังนี้
อย่างไรก็ดี การพัฒนาธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนในฮ่องกงยังคงเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเศรษฐกิจของฮ่องกงส่วนใหญ่มุ่งเน้นภาคบริการ อาทิ การบริการทางการเงิน การขนส่งและโลจิสติกส์ การค้า และการท่องเที่ยว รวมทั้งชาวฮ่องกงส่วนใหญ่ยังคงไม่ตระหนักถึงแนวคิดเรื่องการรักษ์โลกมากนัก ดังจะเห็นได้จากวัฒนธรรมการซื้ออาหารกลับมารับประทานที่บ้าน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของวัสดุที่ทำลายสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ฮ่องกงมีจุดแข็งในด้านระบบนิเวศทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนา (R&D) และสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจของฮ่องกง
จึงเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองต่อไปว่าฮ่องกงจะสามารถนำจุดแข็งดังกล่าวไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างสร้างสรรค์ต่อไปได้อย่างไร รวมทั้งยังเป็นโอกาสของภาคธุรกิจไทยที่จะร่วมมือกับภาคธุรกิจฮ่องกงในการพัฒนาธุรกิจตามเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อร่วมจัดการกับปัญหาขยะและสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากศักยภาพของผู้ประกอบการไทยและความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยซึ่งได้กำหนดให้การพัฒนา โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจสีเขียว – เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ “BCG Economy Model” เป็นวาระแห่งชาติ
นอกจากนี้ ในปี 2565 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปค ซึ่งไทยเสนอประเด็นการพัฒนา โมเดลเศรษฐกิจ “BCG Economy Model” เป็นแนวทางในการนำภูมิภาคให้ฟื้นตัวจากโควิด-19 อย่างครอบคลุม ยั่งยืน และสมดุล ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียวในกรอบเอเปค ซึ่งมีฮ่องกงเป็นเขตเศรษฐกิจสมาชิกด้วยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป