ผู้บริโภคเปลี่ยนไป สื่อเปลี่ยนแปลงตาม

25 ก.พ. 2567 | 08:30 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ก.พ. 2567 | 08:33 น.

ผู้บริโภคเปลี่ยนไป สื่อเปลี่ยนแปลงตาม : THOUGHT LEADERSHIP ผู้นำวิสัยทัศน์ กมลธิดา พรรณพิพัฒน์ Corporate Communication IPG Mediabrands Thailand

สื่อมีการปรับตัวให้ทันตามพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างไรบ้างในปี 2024 ที่ใครจับเทรนด์ทันคนนั้นอยู่รอด!

1. สื่อที่มาแรงที่สุด!! ยังต้องยกให้สื่อ Social media

โดย Facebook, LINE และ TikTok เป็น platform ยังคงครองตำแหน่งโซเชียลมีเดียที่มีการใช้งานมากที่สุดของคนไทยในปี 2566 ส่งผลมาจากทั้งข้อมูล ข่าวสารผ่านทางช่องทาง social media นั้นมีความสะดวกในการเข้าถึง และมี content มากมายให้เสพ มีข้อมูลให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้เยอะ รวมทั้งสิ่งที่ social media เองยังมีความพยายามพัฒนา algorithm ให้มีข้อมูลที่ดึงดูดผู้บริโภคเพื่อใช้เวลากับ social media เป็นเวลานาน เพิ่มชั่วโมงในการใช้งาน platform ของตนเอง

การพยายามดังกล่าวนั้นส่งผลทำให้เจ้าของแบรนด์นั้นจะเลือกจ่ายเงินไปกับช่องทางการทำการตลาดที่ผู้บริโภคจะเข้าถึง และใช้เวลานานที่สุด เพื่อให้ผลดีที่สุดในการทำการตลาด

2. เทรนด์ “วิดีโอรูปแบบสั้นและแนวตั้ง”

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา platform ที่เติบโตอย่างรวดเร็วอย่าง TikTok สร้างพฤติกรรมการเสพสื่อวีดีโอแบบสั้นและเป็นแนวตั้ง ซึ่งเป็นแนวทางการสื่อสารที่ platform อื่นต้องปรับตัวตามอย่าง platform IG ที่มีการพัฒนา Reels และ platform YouTube ที่มี YouTube Shorts เป็นลูกเล่นเพิ่มขึ้น เพื่อไม่ให้หลุด trend และยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการทำการตลาดของแต่ละ platform

ผู้บริโภคเปลี่ยนไป สื่อเปลี่ยนแปลงตาม

3. การเสพสื่อ TV และ VDO ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป

การเข้าถึงสื่อในปัจจุบันนั้นไม่ได้มีเพียงแค่สื่อในรูปแบบวีดีโอแบบยาว หนังเป็นเรื่อง ซีรี่เป็นตอนๆ เท่านั้น แต่มีรูปแบบสื่อให้เลือกเสพมากมาก ทั้งวีดีแบบยาว วีดีโอแบบสั้น หรือเพียงแต่ content ที่น่าสนใจในช่องทาง social media ต่างๆ โดยหัวใจหลักสิ่งที่จะดึงดูดผู้บริโภคอย่างแท้จริงคือ “เนื้อหาที่น่าสนใจและความสดใหม่” ของสิ่งที่นำเสนอ

4. Social Affiliated

ในยุคสมัยที่ข้อมูลทั้งหมดสามารถเข้าถึงได้ด้วยอินเตอร์เน็ตนั้น ผู้บริโภคเองจะหาข้อมูลของสินค้าก่อนที่จะมีการตัดสินใจซื้อ จากประสบการณ์ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เคยใช้สินค้านั้นมาแล้ว ทำให้สิ่งที่จะเข้ามาตอบคำถามในใจของผู้บริโภคคือ “นักรีวิว” เป็นที่ชื่นชอบและน่าสนใจเป็นอย่างมากสำหรับนักป้ายยาทาง social media โดยโปรแกรม Affiliated ที่ Influencer, KOL

หรือแม้แต่นักรีวิวทั่วไปรีวิวสินค้า ทำ content ได้น่าสนใจ จนทำให้มีคนเข้าไปซื้อของที่ตนเองได้รีวิวไว้ ผ่าน link ของสินค้า ที่มอบค่า commission ให้กับผู้แนะนำสินค้า เป็นอีกหนึ่งช่องทางของการโฆษณาการค้าที่เป็นธรรมที่ในมุมมอของนักรีวิว เพราะคนแนะนำเองจะได้ค่าตอบแทนและเจ้าของสินค้าเองก็สามารถทำการตลาดผ่านนักรีวิวเหล่านี้ได้รวมทั้งยังได้ content ที่สามารถนำมาใช้ในสื่อสารต่อได้อีกทางหนึ่ง

ผู้บริโภคเปลี่ยนไป สื่อเปลี่ยนแปลงตาม

5. การค้นหาในรูปแบบรูปภาพ, VDO และการค้นหาด้วยเสียงที่ยิ่งค้นหาง่ายยิ่งมีช่องทางได้การเข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลาย

โดยการค้นหาที่สะดวกและง่ายมากขึ้นหากผู้บริโภคได้พบเจอสินค้าจากแหล่งใด การใส่ข้อมูลของสินค้าให้ครบถ้วนและน่าสนใจจะเป็นการสื่อสารข้อมูลของสินค้า การเข้าถึงเว็บไซต์ จะดึงดูดความสนใจในตัวสินค้า และการซื้อมากยิ่งขึ้น

6. เว็บไซต์สินค้า เป็นด่านหน้าที่จะทำให้ผู้บริโภคไปต่อหรือพอแค่นี้!

สิ่งต่อมาที่ควรพูดถึงและมองข้ามไม่ได้เลยในการให้ข้อมูลคือเว็บไซต์ของสินค้า ที่จะต้องมีการออกแบบให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด สีสันชวนดึงดูดสื่อดึงแบรนด์สินค้า ใช้งานง่าย เหมาะกับทุกเครื่องมือที่เข้าถึง ทั้งคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ และการเข้าถึงจาก browser ต่างๆ รวมทั้งมีข้อมูลที่พอดี ไม่มากเกินไปจนมีแต่ข้อมูลที่ไม่จำเป็นหรือน้อยไปจนไม่สื่อสารข้อมูลที่จำเป็นที่ลูกค้าต้องการ อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการค้นหาด้วย พร้อมทั้งเว็บไซต์ที่ดีนั้นยังมอบความรู้สึกที่ดีให้กับผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์นั้นด้วยเช่นกัน

ผู้บริโภคเปลี่ยนไป สื่อเปลี่ยนแปลงตาม

เรียกได้ว่าเว็บไซต์ดี เข้าถึงผู้บริโภคได้ดี การค้นหาดี มีชัยไปกว่าครึ่ง!

7. MU-Ketting (การตลาด x มูเตลู)

“I told พระแม่ลักษมี” นาทีนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก พระแม่ลักษมีอีกแล้ว ที่เป็นไวรัลทำให้เกิดปรากฎการณ์ขอความรัก โดยพระแม่ลักษมีจะประทานพรคู่ให้ตามเรฟ (reference) ให้ตามที่ลูกๆต้องการ โดยความเชื่อของสิ่งศักดิ์สิทธ์เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่อยู่กับคนไทยมาช้านาน แต่ตอนนี้ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ใหญ่เท่านั้นแต่เด็กๆสมัยนี้ก็หันมา “สายมู” กันหมดแล้ว!!จะมูมากมูน้อยแต่มูไว้หน่อยก็สบายใจ

ผู้บริโภคเปลี่ยนไป สื่อเปลี่ยนแปลงตาม

โดยสิ่งนี้เจ้าของแบรนด์หลายๆแบรนด์ยังใช้สิ่งนี้มาประยุกต์ใช้แนวทางปฏิบัติทางการตลาดกับการศึกษาความเชื่อ อย่างที่ผ่านมานอกจากการขอพรแล้ว ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถติดตัวได้อย่างซิมเบอร์มงคล หรือแม้แต่หน้าจอมือถือ wallpaper ที่เรียกได้ว่า “มีไว้อุ่นใจกว่า”

หลายๆแบรนด์เองก็สามารถใช้ช่องทางของ MU-Ketting นี้เป็นอีกลูกเล่นให้แบรนด์ได้รับความนิยม หรือได้รับความสนใจได้เช่นกัน

8. การค้าแบบ “ตอนนี้” เท่านั้นที่จะเข้าถึงผู้บริโภค

เรียกได้ว่าแค่อยากได้ แค่สั่งก็ส่งถึงที่ ตอนนี้ไม่ใช่แค่การซื้อสินค้าแบบ E-commerce เท่านั้นที่ผู้บริโภคต้องการ แต่ความต้องการแบบตอนนี้!! เท่านั้นที่ผู้บริโภคต้องการ โมเดลธุรกิจใหม่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองคำสั่งซื้อของลูกค้าอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สิ่งที่หลายๆร้านค้าจึงพยายามพัฒนา application เพื่อให้สามารถส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้ทันที

ผู้บริโภคเปลี่ยนไป สื่อเปลี่ยนแปลงตาม

เรียกได้ว่า ใครทำถึง (มือ) ทันความต้องการ ก็ได้ผู้บริโภคไปเลย ณ ตอนนั้น

 

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 44 ฉบับที่ 3,968 วันที่ 22 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567