ข้าพระบาท ทาสประชาชน : เขตพัฒนาพิเศษ อำนาจและผลประโยชน์พิเศษ (1)

04 ต.ค. 2560 | 10:14 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ต.ค. 2560 | 17:22 น.
P6-3302-b

53d05fdf38448.preview-620

 

1507109384442
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 ที่ประชุมสภานิติบัญัญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้ประชุมและมีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ....ด้วยเสียงเอกฉันท์ 175 คะแนน และได้ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญจำนวน 30 คน โดยกำหนดกรอบเวลาทำงานต้องให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แล้วส่งกลับมาให้สภาฯ พิจารณาลงมติในวาระ 2,3

ในการประชุมสภาฯดังกล่าว นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ตัวแทนรัฐบาล "ได้เสนอหลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติฯ พิจารณาในวาระรับหลักการว่า รัฐบาลมุ่งหวังให้มีการจัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก( Eastern Economics Corridor:EEC) เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนพัฒนาประเทศและผลักดันให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในประเทศไทย ที่มีแนวทางเหมาะสมสอดรับกับการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ให้สามารถดึงเทคโนโลยีชั้นสูงมาสู่ประเทศไทย ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จึงเปรียบเหมือนแม่แบบ ในการสร้างฐานความเจริญเติบโตครั้งใหม่ ที่จะช่วยขับเคลื่อนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1507109700187
ส่วนสาเหตุที่รัฐบาลเลือกพื้นที่ภาคตะวันออก เพราะมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน และระบบคมนาคม สามารถต่อยอดพัฒนาได้ทันที มีอุตสาหกรรมหลักที่เป็นฐานให้อุตสาหกรรมอื่น การตราร่างกฎหมายฉบับนี้ จึงสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน ไม่เอื้อต่อการบูรณาการ เพื่อพัฒนาพื้นที่ที่มีองค์ประกอบเชื่อมโยงซับซ้อนในหลายมิติ ซึ่งต้องการต้องการการบริหารจัดการพื้นที่ในทุกมิติให้เกิดผลอย่างเต็มศักยภาพ และร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะเป็นแม่แบบของการพัฒนาพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอื่นๆในอนาคตอีกด้วย"

EEc26

ผมได้ติดตามรับฟังและรับชมการประชุมของสภานิติบัญญัติฯ เพื่อพิจารณา พ.ร.บ.ฉบับนี้ ด้วยความสนใจ เพราะเห็นว่าเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและคนไทยทุกคน กฎหมายนี้ มิได้เป็นเพียงการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในภาคตะวันออกเท่านั้น แต่เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งรัฐบาลนี้ยังถือเอา พ.ร.บ.ฉบับนี้ เป็นแม่แบบของการพัฒนาพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอื่นๆของประเทศ ในอนาคตอีกด้วย กรณีจึงเป็นปัญหาใหญ่ที่กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ เป็นเรื่องที่คนไทยทุกคนควรทราบอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเนื้อหาสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่ให้อำนาจคณะกรรมการตามกฎหมายนี้แบบเบ็ดเสร็จ รวมทั้งให้สิทธิพิเศษแก่นักลงทุน อย่างที่เรียกว่า "การบริหารจัดการพื้นที่ในทุกมิติ" ตามที่รองนายกรัฐมนตรีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แถลงต่อสภานั่นเอง

aaaP1-SCOOP-3197

ในการประชุมสภานิติบัญญัติฯ เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ประชาชนที่สนใจและอยากได้ความรู้ต่อหลักการและเหตุผลสำคัญของกฎหมาย และต้องการเข้าใจสาระสำคัญ โดยอาศัยฟังการอภิปรายของสมาชิกสภานิติบัญญัติฯ ด้วยคาดหวังจะได้ความรู้ เหตุผล ความจำเป็นในเรื่องหลักการว่าทำไมต้องตรา พ.ร.บ.จัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษฯ ประชาชนทั้งหลาย รวมถึงผู้เขียนที่พยายามตั้งใจฟัง ต้องขอบอกว่าผิดหวัง ท่านจะไม่ได้สาระความรู้แต่อย่างใดเลย นอกจากคำสรรเสริญเยินยอว่ากฎหมายฉบับนี้ดีสารพัด อย่างเก่งก็ตั้งข้อสังเกตนิดๆ หน่อยๆ พอหอมปากหอมคอ ที่ไม่เห็นด้วยไม่มีเลย แถมให้เวลาแต่ละท่านอภิปราย 5-7นาที เท่านั้น

สุดท้ายผลการโหวตลงคะแนนก็เป็นเอกฉันท์ แม้แต่นักวิชาการ ราชบัณฑิต ที่คาดว่าจะอภิปรายแสดงความเห็นอย่างมีหลักการ ผมก็ต้องผิดหวัง ที่อภิปรายฟังดูดีมีเหตุผลกลายเป็น นายมณเฑียร บุญตัน นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนช.ที่ตาดีกลับมองไม่เห็นปัญหาของ พ.ร.บ.ฉบับนี้เลย

aaaTP8-3199-A หากจะพิจารณาด้วยหลักการและเหตุผลโดยรอบคอบและถี่ถ้วนแล้ว พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีปัญหาที่ต้องอภิปรายและตั้งคำถามดังๆในชั้นรับหลักการมากมาย  แต่ด้วยความเป็นสภาฯแต่งตั้ง ที่มาจากอำนาจการรัฐประหาร สมาชิกส่วนใหญ่เป็นข้าราชการประจำ การโหวตก็รอฟังมติวิปอย่างเดียว เป็นสมาชิกสภาฯแถวตรง ซ้ายหันขวาห

thansettakij_20170424_09_001

เราจึงได้เห็นแต่บรรยากาศการประชุมดังกล่าว จนสภาแห่งนี้ถูกภาคประชาชนค่อนขอด กระแนะกระแหนว่า "เป็นสภาเสียงข้างเดียว" ว่าไงว่าตามกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายสำหรับกฎหมายสำคัญเช่นนี้ ที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2560 มาตรา 263 กำหนดให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาต่อไป มิได้ทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและเอาใจใส่ต่ออนาคตของประเทศชาติเท่าที่ควร

T08-3324a

พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีปัญหาสำคัญๆ อย่างไร เราจำเป็นต้องประเคนสิทธิและผลประโยชน์ต่างๆ ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ อย่างมากมายถึงเพียงนั้นหรือไม่ ทุกอย่างจะสวยงามดังที่รัฐบาลเสนอไหม สมควรที่สภานิติบัญญัติจะให้ความเห็นชอบหรือไม่ มีประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องนำมาศึกษาหาข้อสรุปที่ดี ประเทศไทยควรยึดถือแนวทางตาม พ.ร.บ.นี้ เป็นต้นแบบของการพัฒนาประเทศหรือไม่ ไว้อ่านต่อในตอนต่อไปครับ


app12176437_m-1-696x385

คอลัมน์ : ข้าพระบาท ทาสประชาชน / หน้า 6  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ /ฉบับ 3302 ระหว่างวันที่ 5-7 ต.ค.2560

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1