ประเดิมโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ“อุบลฯ” กฟผ.ลงทุน842ล้านป้อนไฟต้นปีหน้า

13 มิ.ย. 2563 | 04:50 น.

กฟผ.เดินหน้าโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ทุ่นลอยเขื่อนสิรินธร หลังอุปกรณ์จากจีนสะดุดพิษโควิด-19 ชี้ต้นปีหน้าเริ่มป้อนกระแสไฟ 45 เมกะวัตต์ เสริมระบบ พร้อมรับข้อเสนอกลุ่มล่องแพนำสายเคเบิ้ลลงใต้ดินเพื่อความปลอดภัย

 

 

นายชนินทร์ สาลีฉันท์ หัวหน้าโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เขื่อนสิรินธร (หก.ทน.) กล่าวว่า ข้อเสนอจากกลุ่มผู้ประกอบการล่องแพเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชน ให้นำสายเคเบิ้ลลงใต้น้ำ เพื่อเป็นความสะดวกและปลอดภัย ทางโครงการพร้อมรับและจะดำเนินการนำสายเคเบิ้ลลงใต้ดิน เพื่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้า และความสะดวกปลอดภัยของกลุ่มล่องแพ ประเดิมโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ“อุบลฯ”  กฟผ.ลงทุน842ล้านป้อนไฟต้นปีหน้า

ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้าง ทางโครงการได้ก่อสร้างสำนักงานและสร้างถนนเพื่อใช้ในการลำเลียงอุปกรณ์เข้าพื้นที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีสัญญาแล้วเสร็จภายใน 16 ธ.ค. 2563 แต่ช่วงที่ผ่านมาติดปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากจีนหยุดชะงักไป คาดว่าอีกไม่นานการขนส่งอุปกรณ์จากจีนน่าจะมาถึง ซึ่งจะได้เร่งดำเนินการติดตั้งตั้งแต่ปลายเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อให้เปิดใช้งานได้โดยเร็ว โดยอาจล่าช้ากว่ากำหนดเดิม 2-3 เดือน ประเดิมโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ“อุบลฯ”  กฟผ.ลงทุน842ล้านป้อนไฟต้นปีหน้า

นายธนภัทร ฉัตรสุวรรณ วิศวกรระดับ ๑๑ โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วศ.11 อฟอ.) เปิดเผยว่า โครงการนี้เป็นการนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งบนทุ่นลอยน้ำ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการตั้งบนพื้นดิน ซึ่งที่นี่จะเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งแรกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนวัตกรรมการนี้จะใช้การผสมผสาน (Hybrid) ของพลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวันและใช้พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้าช่วงกลางคืน

ประเดิมโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ“อุบลฯ”  กฟผ.ลงทุน842ล้านป้อนไฟต้นปีหน้า

พื้นที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทั้งหมด 450 ไร่ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้วันละ 45 เมกะวัตต์ เพื่อเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ของเขื่อนสิรินธรที่ผลิตได้วันละ 36 เมกกะวัตต์ ถือเป็นการลดงบประมาณการผลิตของ กฟผ. และเสริมความมั่นคงทางพลังงานในภาวะที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ประเดิมโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ“อุบลฯ”  กฟผ.ลงทุน842ล้านป้อนไฟต้นปีหน้า

ทั้งนี้ แผงโซลาร์เซลล์ที่กำลังนำมาติดตั้งจะเป็นวัสดุที่น้ำหนักเบา ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชุมชน เป็นการใช้พื้นที่ผิวน้ำของเขื่อนสิริธรในการติดตั้ง ไม่กระทบกับพื้นที่การเกษตรของชุมชนรอบข้าง เป็นพลังงานสะอาด ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน และจากการวิจัยในพื้นที่ ก็พบว่าไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศของน้ำ เช่น สาหร่ายชนิดต่างๆ รวมถึงสัตว์น้ำ แต่กลับเป็นผลดี สัตว์น้ำใช้เป็นที่หลบอาศัย และลดการระเหยของน้ำในอ่าง นอกจากนี้ทางโครงการยังจัดพื้นโรงไฟฟ้าให้เป็นแลนด์มาร์ก โดยการสร้าง Sky Walk ให้เป็นจุดชมธรรมชาติภายในอ่างเก็บน้ำ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่อุบลราชธานี  ประเดิมโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ“อุบลฯ”  กฟผ.ลงทุน842ล้านป้อนไฟต้นปีหน้า

หน้า 17 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,583 วันที่ 14 - 17  มิถุนายน พ.ศ. 2563