"สมคิด"สั่ง ธ.ก.ส. ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.01 % อุ้มแรงงานย้ายถิ่น 2 ล้านคน

24 มิ.ย. 2563 | 04:13 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มิ.ย. 2564 | 12:20 น.

สมคิด รับ ก.ค.นี้ เห็นธุรกิจล้มแน่ สั่งธ.ก.ส.สร้างหัวขบวนเกษตร พัฒนาเกษตรกรโตยั่งยืน พร้อมให้ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.01% หนุนการผลิตต่อ ด้านธ.ก.ส.เผย รัฐอัดงบกว่า 50,000 ล้านบาทหนุนโครงการเศรษฐกิจสร้างไทย พร้อมสินเชื่อ 300,000 ล้านบาท

ในงานเปิดตัวโครงการเศรษฐกิจสร้างไทย และโครงการ New Gen Hug บ้านเกิด ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากไตรมาสที่ 1 ที่วิกฤตโควิด-19 เกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ซึ่งยอมรับว่าในเดือนก.ค.นี้ จะมีธุรกิจจำนวนมากปิดตัว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว การส่งออกได้รับผลกระทบ การท่องเที่ยวยังไม่เปิดให้สร้างรายได้ 


ดังนั้นธ.ก.ส.จึงต้องมีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือภาคแรงงานที่ย้ายถิ่นฐานกลับสู่ภาคชนบทจำนวนกว่า 2 ล้านคน ให้ทำการเกษตรได้อย่างเข้มแข็งให้ได้ ด้วยการประกอบอาชีพ หาช่องทางการตลาด และร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรให้ยั่งยืนให้ได้ โดยหลักๆ จะต้องมีหัวขบวนเกษตรกร มารวมตัวกันเพื่อผลิตสินค้าเกษตรแบบครบวงจร ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 10,000-20,000 ราย 

ขณะเดียวกันธ.ก.ส.จะต้องช่วยเหลือด้วยการสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ 0.01% ให้กับการรวมกลุ่มเหล่านี้ เพื่อให้แรงงานที่กลับเข้าสู่ภาคการเกษตรได้มีแหล่งทุนในการพัฒนาภาคการเกษตร ให้เลี้ยงชีพต่อไปให้ได้ 

"ทุกครั้งที่มีวิกฤติ กระทรวงการคลังคือหลักที่ทุกคนต้องยึดเหนี่ยว ถ้ากระทรวงการคลังอ่อนแอ จะมีปัญหา ต้องยอมรับคำวิจารณ์ ฉะนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ต้องกลืนเรื่องนี้ลงไปในกระเพาะและเดินหน้าแก้ไขปัญหาต่อ โดยเฉพาะการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากนี้หลังไตรมาสที่ 1 ที่ได้รับผลกระทบหนักๆ ไปแล้วต้องทำอย่างไร"นายสมคิด กล่าว

\"สมคิด\"สั่ง ธ.ก.ส. ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.01 % อุ้มแรงงานย้ายถิ่น 2 ล้านคน
 

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ทุกวันนี้วิกฤตโควิด-19 ยังคงมีอยู่ กระทรวงการคลัง จึงต้องการให้ธ.ก.ส.เข้ามามีส่วนในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบให้มากที่สุด เพื่อให้เกษตรกรผ่านพ้นวิกฤตไปให้ได้ ซึ่งเชื่อว่าหลังจากนี้เกษตรกรจะแข็งแกร่งมากขึ้น ผ่านการสนับสนุนงบประมาณและสินเชื่ออัตรดอกเบี้ยต่ำดังกล่าว 

\"สมคิด\"สั่ง ธ.ก.ส. ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.01 % อุ้มแรงงานย้ายถิ่น 2 ล้านคน

ขณะเดียวกันธ.ก.ส.ยังได้รับอนุมัติให้ออกพันธบัตรสีเขียว(Green Bond) วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อระดมทุนให้ธ.ก.ส.สามารถเข้าไปลงทุนในธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัมนาภาคการเกษตรของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน 

ด้านนายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธ.ก.ส. กล่าวว่า จากโครงการดังกล่าว ธ.ก.ส.ได้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐทั้งสิ้น 54,395 ล้านบาท และมีสินเชื่อสนับสนุนโครงการอีกประมาณ 300,000 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการเสริมสร้างความมั่นคงระดับครัวเรือน (ตั้งหลัก) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วงเงินงบประมาณจำนวน 10,720 ล้านบาท ในการขับเคลื่อนและพัฒนาให้เกษตรกร จำนวน 300,000 ราย สามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารโดยมีแหล่งอาหารเพื่อเลี้ยงชีพภายในพื้นที่รอบตัว 


โดย ธ.ก.ส.พร้อมสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรน ได้แก่ สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพวงเงิน 10,000 ล้านบาท สินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิดวงเงิน 60,000 ล้านบาท และสินเชื่อระยะสั้นฤดูการผลิตใหม่ (Jump Start Credit) วงเงิน 100,000 ล้านบาท

\"สมคิด\"สั่ง ธ.ก.ส. ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.01 % อุ้มแรงงานย้ายถิ่น 2 ล้านคน

 

 

โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งระดับชุมชน (ตั้งฐาน) วงเงินงบประมาณ 22,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน 16,000 แห่ง สำหรับนำไปลงทุนพื้นฐานด้านการเกษตร เช่น ระบบน้ำ โรงเรือนเครื่องจักรกล และเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการเกษตร ไม่เกิน 50% ของมูลค่าการลงทุน และไม่เกินแห่งละ 5 ล้านบาท และสนับสนุนค่าใช้จ่ายในปัจจัยการผลิตสำหรับวิสาหกิจชุมชนที่มีการบริหารและดำเนินการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยมีสินเชื่อธุรกิจสร้างไทยวงเงิน 30,000 ล้านบาท และสินเชื่อ SMEเกษตรวงเงิน 40,000 ล้านบาท 


โครงการเสริมสร้างความยั่งยืนของเศรษฐกิจฐานราก (ตั้งมั่น) วงเงินงบประมาณ 21,675 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการ จำนวน 7,255 แห่ง เป็นหัวขบวนในการรวบรวมผลผลิต การแปรรูปผลผลิต การเชื่อมโยงการตลาด โดยเน้นการมีส่วนร่วมและให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ประกอบด้วย ค่าลงทุนปัจจัยพื้นฐาน การปรับเปลี่ยนการผลิต การเช่า การจ้างแรงงาน ไม่เกิน 50% ของค่าลงทุนและค่าใช้จ่ายและไม่เกินแห่งละ 5 ล้านบาท รวมถึงการนำไปพัฒนาความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้นำสถาบันเกษตรกร โดยมีสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทยวงเงิน 10,000 ล้านบาท และสินเชื่อ SME เกษตรวงเงิน 10,000 ล้านบาท