ประเด็น “ลิงเก็บมะพร้าว” ยังถูกพูดถึงในวงกว้างในหลากหลายอาชีพ รวมถึงนักวิชาการเองที่งานนี้ก็นิ่งเฉยไม่ได้ ล่าสุด นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ นักเขียนและนักแปลชื่อดังก็ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “ Sarinee Achavanuntakul-สฤณี อาชวานันทกุล” สะท้อนแนวคิดพร้อมตั้งข้อสังเกตถึงเรื่อง ลิงเก็บมะพร้าว นี้ไว้อย่างถึงพริกถึงขิงเช่นกัน
ตามอ่านเรื่องดราม่า PETA กับการบอยคอตกะทิไทยแล้วก็รู้สึกว่า ควรเขียนเรื่องนี้เป็นบทความดีกว่า รออ่านได้สัปดาห์หน้านะคะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วันนี้ พณ.เชิญ "PETA" เคลียร์ปม "ลิงเก็บมะพร้าว" กระทบแบนกะทิ-มะพร้าวไทย
ลิงไทยเก็บมะพร้าว vs หมูฝรั่งเก็บเห็ดทรัฟเฟิล
ปม "ลิงเก็บมะพร้าว" เดือด "ปองพล" ขุดคดี PETA ย้อนถามรักลิงจริงหรือ
ลิงเก็บมะพร้าว ภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย
แต่ก่อนหน้านั้น อยากชวนคิดให้ไกลกว่าแนวคิดแบบคลั่งชาติตื้นๆ (ซึ่งอาจทำให้หลายคนสะใจแต่ไม่ช่วยแก้ปัญหา) อยากให้บริษัทผู้ส่งออกกะทิและทุกคนไปเรียนรู้บทเรียนจากบริษัทผู้ส่งออกอาหารทะเลตอนที่ไทยโดนบอยคอตผลิตภัณฑ์เพราะแรงงานทาสเมื่อหลายปีที่แล้ว ชวนสังเกตว่าลูกค้ายุโรปไม่ได้เลิกบอยคอตเพราะสิ่งต่อไปนี้เลยนะ
1.การปฏิเสธดื้อๆ ว่าปัญหานี้ไม่มี ถึงมีก็เป็นส่วนน้อย (อะไรก็ตามที่ลูกค้ามองว่า เป็นปัญหาใหญ่ จะมากหรือน้อยก็ต้องอธิบายวิธีแก้ และกำหนดเป้าหมายความคืบหน้าให้ชัดเจน)
2. การป่าวร้องโจมตีว่า องค์กรและสื่อมวลชนที่ตีแผ่และรณรงค์เรื่องนี้ไม่โปร่งใส ก่อนหน้านี้เคยสร้างปัญหาหลายเรื่อง (ซึ่งถึงแม้ว่า อาจจะจริง ก็ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับประเด็นนี้)
3.การไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ของบริษัทยักษ์ใหญ่วันนี้ไม่ใช่แค่กิจกรรมซีเอสอาร์แต่ฝังอยู่ในนโยบายความยั่งยืนของบริษัทซึ่งต้องแสดงความรับผิดและกำหนดให้คู่ค้าทำตาม
อ้อ... ลืมแถมว่าไทยไม่ใช่มหาอำนาจอย่างจีน ไม่ได้มีความสำคัญขนาดที่ **รัฐบาล** ของประเทศมหาอำนาจคู่แข่งจะอยากมาหาข้ออ้างเนียนๆและไม่เนียน ซิกแซกมาสั่งเอ็นจีโอเพื่อกีดกันทางการค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรสองสามตัว