ผลไม้อัตลักษณ์ใต้บุกขายตรง"เชียงใหม่"

30 ก.ค. 2563 | 10:41 น.

    สำนักงานเกษตร 14 จังหวัดภาคใต้ขึ้นเหนือ จัด"มหกรรมไม้ผลอัตลักษณ์ภาคใต้ 63" เร่งกระจายผลไม้สู่ภูมิภาคที่เชียงใหม่ คาดยอดขายไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท

 

ผลไม้อัตลักษณ์ใต้ บุกเชียงใหม่ ขณะที่จังหวัดภาคเหนือเร่งกระจายลำไยออกจากแหล่งผลิต ผ่านเครือข่ายสนง.พาณิชย์จังหวัด และสหกรณ์การเกษตรทั่วประเทศ  สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา สำนักงานเกษตรจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ และสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ ยกทัพขึ้นเหนือ จัดงาน "มหกรรมไม้ผลอัตลักษณ์ภาคใต้ 63" ทุเรียนกว่า 10 ตัน และผลไม้นานาชนิด ทั้งสดและแปรรูป มาจำหน่าย ณ  ลานกิจกรรม"มีโชคพลาซ่า" อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่


​นายสุพิท  จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตไม้ผลเขตร้อนที่สำคัญของโลก โดยภาคใต้เป็นแหล่งผลิตใหญ่รองลงมาจากภาคตะวันออก สถานการณ์การผลิตผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ในปี 2563 พบว่ามีเนื้อที่ยืนต้นรวมทั้ง 4 พืช จำนวน 1,038,208 ไร่ จำแนกเป็นทุเรียน 571,439 ไร่ มังคุด 246,258 ไร่ เงาะ74,668 ไร่ ลองกอง 145,843 ไร่  เนื้อที่ให้ผลผลิต รวม 884,792 ไร่ จำแนกเป็นทุเรียน 437,993 ไร่ มังคุด 230,826 ไร่ เงาะ 72,458 ไร่ ลองกอง 143,515 ไร่ ประมาณการผลผลิตปี 2563 รวมทั้ง 4 ชนิดประมาณ 728,027 ตัน จำแนกเป็นทุเรียน 522,101 ตัน มังคุด 125,238 ตัน เงาะ 43,374 ตัน ลองกอง 37,314 ตัน โดยไม้ผลแต่ละชนิดมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ดังนี้ ทุเรียน 1,192 กก./ไร่ มังคุด 542 กก./ไร่ เงาะ 599 กก./ไร่ และลองกอง 260 กก./ไร่ 
  ผลไม้อัตลักษณ์ใต้บุกขายตรง\"เชียงใหม่\"    

ซึ่งฤดูกาลเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม โดยผลผลิตส่วนใหญ่จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนสิงหาคม ยกเว้นลองกองออกมากในช่วงเดือนกันยายน  ปีนี้ผลผลิตทุเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นประมาณ 53,000 ไร่ สำหรับ มังคุด เงาะ และลองกอง ผลผลิตโดยรวมลดลง เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างแล้งติดต่อกัน โดยพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของผลไม้ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา และนราธิวาส ซึ่งขณะนี้ได้เข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลไม้ภาคใต้แล้ว โดยมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วกว่าร้อยละ 50 ยังคงมีลองกองซึ่งกำลังเข้าสู่การเก็บเกี่ยวผลผลิต 
    

สำหรับแนวทางการบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ ปี 2563 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนา การเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการผลักดัน และวางแผนบริหารจัดการผลไม้ตั้งแต่เริ่มต้นฤดูกาลผลิต โดยใช้มาตรการเชิงรุก มีการประชุมวางแผนจัดทำข้อมูล โดยการสำรวจข้อมูลการผลิต ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และรวบรวมเป็นข้อมูลระดับภาค การคาดการณ์ผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด เพื่อจัดทำแผนรองรับ และรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงคุณภาพผลผลิต การขอรับรองคุณภาพมาตรฐาน GAP โดยผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) รวมไปถึงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน ในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตร (ไม้ผล) และศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชนที่มีศักยภาพ 
    

อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการคุณภาพผลผลิต โดยเชื่อมโยงกับการตลาดทั้งในและต่างประเทศ การจัดทำข้อมูลการผลิตต้องชัด เชื่อมโยงกับตลาดได้อย่างเหมาะสม มุ่งเป้าเกษตรกรขายได้ไม่ต่ำกว่าทุนพร้อมบวกกำไรเพิ่มอย่างน้อย 30% ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อีกด้วย คือ 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัด 5 มาตรการอุ้ม‘ลำไยเหนือ’

เปิดล้ง รับซื้อทุเรียนคุณภาพ เสริมเศรษฐกิจชายแดนใต้

  น้องเล็กจากยะลา"ทุเรียนสะเด็ดน้ำ"   

ผลไม้อัตลักษณ์ใต้บุกขายตรง\"เชียงใหม่\"

  ผลไม้อัตลักษณ์ใต้บุกขายตรง\"เชียงใหม่\"

1) การบริหารจัดการเชิงคุณภาพ โดยจัดทำแผนบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ การจัดการคุณภาพ  ระยะก่อนการเก็บเกี่ยว มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพผลไม้ทั้งในและนอกฤดู การจัดทำแปลงเรียนรู้ การส่งเสริมการผลิตตามมาตรฐาน GAP เกษตรอินทรีย์ มาตรฐาน GI และการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตตามมาตรฐานสินค้าเกษตรด้านไม้ผล เป็นต้น ส่วนในระยะเก็บเกี่ยวส่งเสริมการบริโภคและประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงการผลิต การตลาดและการจัดจำหน่ายประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขาย ช่วยเหลือการขนส่ง จัดทำโครงการกรณีฉุกเฉิน และอื่น ๆ ส่งเสริมการรวมกลุ่มตั้งจุดรวบรวมผลผลิตเพื่อจัดชั้นคุณภาพตรวจสอบย้อนกลับได้ (ทุเรียน) ติดตามให้คำแนะนำเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามระบบ T&V และระยะหลังเก็บเกี่ยว ติดตามสถานการณ์ภัยธรรมชาติ/ศัตรูธรรมชาติ/สถานการณ์การผลิต เพื่อเฝ้าระวังและปรับแผนการผลิตให้คำแนะนำการจัดการสวนทุเรียนหลังการเก็บเกี่ยว การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์/เคมี เตรียมความพร้อมในฤดูกาลถัดไป ส่งเสริมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า (ทุเรียน มังคุด) สรุป ประเมินผลและจัดทำแนวทางพัฒนาคุณภาพการผลิตทุเรียนในปีต่อไปแผนบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกิน กรณีเกิด Surplus ในช่วง Peak
​    

2) การบริหารจัดการเชิงปริมาณ ซึ่งมีคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกร อันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) เป็นแกนหลักปรับสมดุลข้อมูลของอุปสงค์และอุปทาน โดยชี้เป้าการผลิตให้ชัดเจน จัดทำข้อมูลประมาณการผลผลิต (Supply) และเชื่อมโยงและหาตลาดรองรับผลผลิตร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ โดยจัดทำข้อมูลความต้องการทางการตลาด (Demand) ตลอดจน คพจ. ปรับสมดุลข้อมูลของอุปทานและอุปสงค์และจัดเตรียมแผนเผชิญเหตุรองรับปริมาณผลผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผลผลิตออกมาก ซึ่งมุ่งหวังให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรม โดยจัดทำแผนบริหารจัดการเชิงรุก ทั้งการกระจายผลผลิตในประเทศ ต่างประเทศ และการแปรรูป 
    

ดังนั้น หลังจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (Covid-19) เริ่มคลี่คลาย สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จึงเร่งส่งเสริมการตลาด เพื่อกระจายผลไม้คุณภาพไปยังภูมิภาคต่าง ๆ โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จัดงานส่งเสริมการบริโภคผลไม้ภาคใต้ตอนล่างไปแล้ว เมื่อวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2563 ณ ศูนย์การค้าเซนทรัล เฟสติวัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ต่อเนื่องด้วยการจัดงานมหกรรมผลไม้ภาคใต้  ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม – 2 สิงหาคมนี้ ณ ลานกิจกรรม มีโชคพลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้ และการประชาสัมพันธ์รถเร่ผลไม้ ระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม 2563 ณ จังหวัดอุดรธานี เพื่อกระจายผลผลิตผลไม้คุณภาพดี ปลอดภัยจากสารพิษ มีรสชาติอร่อย จากแหล่งผลิตในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ ไปยังผู้บริโภคทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย
    

การส่งเสริมการบริโภคไม้ผลอัตลักษณ์ภาคใต้  กรมส่งเสริมการเกษตรได้ริเริ่มโครงการส่งเสริมการสร้างผลไม้อัตลักษณ์ประจำถิ่น  มาตั้งแต่ปี 2561 เนื่องจากเล็งเห็นว่าไม้ผลหลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ส้มโอ สละ จำปาดะ ซึ่งมีความโดดเด่นในด้านรสชาติและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามบริบทของพื้นที่ จึงได้ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพให้มีมาตรฐาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาการ    แปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่ม และต่อยอดให้เป็นพืชที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เพื่อทำให้การผลิตไม้ผลของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เกิดการพัฒนาต่อยอดสินค้าไม้ผลได้อย่างครบวงจร ผลไม้ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นของภาคใต้ ได้แก่ ทุเรียนทรายขาว ทุเรียนพวงมณียะรัง ของจังหวัดปัตตานี ทุเรียนสะเด็ดน้ำ จังหวัดยะลา ทุเรียนสาลิกา มังคุด จังหวัดพังงา สละอินโด และลองกอง จังหวัดนราธิวาส สละ จังหวัดพัทลุง จำปาดะขวัญสตูล ส้มโอทับทิมสยาม จังหวัดนครศรีธรรมราช มังคุดในวง จังหวัดระนอง มังคุดในสายหมอก อำเภอเบตงจังหวัดยะลา มะม่วงเบา จังหวัดสงขลา เป็นต้น
    

จึงขอเชิญชวนคนไทยร่วมอุดหนุนผลไม้ไทย “ซื้อสินค้าเกษตรไทย เกษตรกรอยู่ได้ ประเทศไทยอยู่รอด” พร้อมทั้งสามารถเลือกซื้อสินค้าของเกษตรกรผ่านเว็บไซต์ www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com ได้ ทั้งนี้ จึงขอประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้รับทราบคุณค่า คุณประโยชน์ และแหล่งที่มาที่ถูกต้องของผลไม้ อัตลักษณ์ ด้วย
    

ผลไม้อัตลักษณ์ใต้บุกขายตรง\"เชียงใหม่\"

ผลไม้อัตลักษณ์ใต้บุกขายตรง\"เชียงใหม่\"

สำหรับการจัดงานมหกรรมไม้ผลอัตลักษณ์ภาคใต้ ปี 2563  ที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2563 ถือว่าปีนี้เป็นปีที่ 3  ที่ทางสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้มาจัดงานที่ มีโชคพลาซ่า แต่ 2 ปีที่ผ่านมาเราได้มาร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต 6 เชียงใหม่ ยอดขายช่วงที่ผ่านมาในปี 2561 และปี 2562 ถือว่าได้รับการตอบรับจากพี่น้องชาวเชียงใหม่เป็นอย่างดีมาก โดยเฉพาะทุเรียน ปีที่แล้วทั้งทุเรียนและมังคุดที่นำมาก็จำหน่ายหมด โดยเฉพาะมังคุดเราได้จำหน่ายแบบเอาตระกล้าใส่มังคุดมาวางหน้าบูธ แล้วให้ลูกค้าไปหยิบถุงมาใส่มังคุดเอง แล้วนำไปชั่งกิโล แล้วจ่ายเงิน ได้รับการตอบรับค่อนข้างดีมาก รวมถึงผลไม้อื่น ๆ ด้วย 2 ปีที่ผ่านมาเราจะได้บูธประมาณ 5-6 บูธ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมียอดขายเป็นหลักแสนบาท
  

 ในปีนี้จะนำผลไม้ดังกล่าว โดยเพิ่มทั้งชนิดและปริมาณมากขึ้น จำนวน 40 บูธ จำหน่ายผลไม้สดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง สละ จำปาดะ และอีกมากมาย จากกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน 14 จังหวัดภาคใต้ บูธทุเรียนคุณภาพหลากหลายสายพันธุ์จากสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ทุเรียนที่มา จำหน่าย ไม่น้อยกว่า 10 ตัน รวมทั้งมีการแข่งขันกินผลไม้  ช้อปสินค้านาทีทอง  จากสวนตรงสู่ผู้บริโภค มั่นใจได้เลยว่าราคาจะไม่แพงกว่าท้องตลาดแน่นอน 
    

ตลอดการจัดงานใน 4 วันนี้ จะจำหน่ายได้หมดครั้งนี้คาดว่ามียอดขายไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท

ผลไม้อัตลักษณ์ใต้บุกขายตรง\"เชียงใหม่\"