อัพเดท "ขั้นตอน-ตรวจสอบ-ใช้สิทธิ" คลินิก-รพ.เอกชน ถูกยกเลิกสัญญาบัตรทอง

28 ก.ย. 2563 | 17:05 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ก.ย. 2563 | 05:11 น.

อัพเดท "ขั้นตอน-ตรวจสอบ-ใช้สิทธิ" กรณีคลินิก-รพ.เอกชน ถูกยกเลิกสัญญา "บัตรทอง" ได้ที่นี่  

จากกรณีที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ตรวจสอบพบความผิดปกติการเบิกจ่ายค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันกันโรคของ "คลินิกชุมชน-โรงพยาบาลเอกชน" จากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมแจ้งความดำเนินคดีการทุจริตทั้งทางแพ่งและอาญาไปแล้วจำนวน 82 แห่ง และอยู่ระหว่างการตรวจสอบอีกกว่า 100 คลินิก ส่งผลให้ผู้ป่วย "บัตรทอง" ประมาณ 800,000 รายได้รับผลกระทบในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาและรับยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 100,000 รายนั้น 

 

เบื้องต้น สปสช. ได้แก้ไขปัญหาโดยจัดหาหน่วยบริการทดแทนและได้รับความร่วมมือจากกรุงเทพมหานครให้ผู้ป่วยเข้าไปรับยารักษาโรคที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่งในสังกัดกรุงเทพมหานครได้ทันทีโดยไม่ต้องมีใบส่งตัว

 

สำหรับผู้ที่ใช้สิทธิ "บัตรทอง" รักษาอยู่ใน "คลินิก-รพ.เอกชน" ที่ถูกยกเลิกสามารถ "ตรวจสอบ-ขั้นตอน-ใช้สิทธิ" ได้ตามขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้ 

 

1.ตรวจสอบรายชื่อหน่วยบริการที่ออกจากโครงการได้ที่ www.nhso.go.th 

 

2.ผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้ารับบริการที่ คลินิก-ศูนย์บริการสาธารณสุข-โรงพยาบาลรัฐ-โรงพยาบาลเอกชนใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพได้ก่อน 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

อัพเดท "ขั้นตอน-วิธีการ"ย้ายสิทธิบัตรทองด้วยตนเองได้ 2 ช่องทาง

เช็ก 9 สิทธิบัตรทองที่ควรรู้ มีบัตรต้องห้ามพลาด

4 ขั้นตอนย้ายสิทธิบัตรทองได้ด้วยตนเอง

ผู้ป่วยบัตรทองกรณีคลินิกถูกยกเลิกสัญญา "สิทธิว่าง"เข้ารับการรักษาที่รพ.ได้ไม่เสียค่าใช้จ่าย

"สปสช."ชี้ยกเลิกสัญญา 64 คลินิก-โรงพยาบาล เฉพาะในกทม.

 

3.กลุ่มผู้ป่วยเร่งด่วนที่ "จำเป็น"ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง สปสช.ประสานส่งต่อแล้ว 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

 

-กลุ่มมีนัดผ่าตัด

 

-กลุ่มอายุครรภ์เกิน 32 สัปดาห์

 

-กลุ่มรับเคมีบำบัด

 

-กลุ่มผู้ป่วยฟอกไต 

4.ผู้ที่อยู่ระหว่างนอนรักษาในโรงพยาบาลที่ถูกยกเลิกสัญญา สามารถใช้สิทธิรักษาต่อเนื่องได้จนกว่าแพทย์จะอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน

 

5.ผู้ป่วยที่มีหนังสือส่งตัวที่ออกให้จากหน่วยบริการที่ถูกยกเลิกสัญญาท่านสามารถเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลที่ได้รับการส่งต่อได้เลย

6.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาทิ เบาหวาน ความดัน และหัวใจ ให้นำซองยาเดิมไปให้หน่วยบริการแห่งใหม่เพื่อรับการรักษาต่อเนื่อง สำหรับหน่วยบริการ (ศูนย์บริการสาธารณสุข) สามารถสืบค้นประวัติการรักษาได้โดยยืนยันตนเองผ่านบัตรประจำตัวประชาชน 

 

7.เอกสารประกอบการใช้สิทธิ คือ บัตรประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร โดยแจ้งกับหน่วยบริการที่รับการรักษาว่า เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากกรณีหน่วยบริการที่ถูกยกเลิกสัญญา 

 

8.สำหรับหน่วยบริการที่ให้บริการกับประชาชนกลุ่มดังกล่าวสามารถเรียกเก็บค่าบริการสาธารณสุขมาที่ สปสช.เป็นกรณีสิทธิว่าง

 

ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร สายด่วน สปสช.1330 ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

 

ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)