"ตรัง"เร่งเพิ่มมูลค่า"ปูนิ่ม-ปลิงทะเลขาว" บ.ประชารัฐฯดึงม.อ.วิจัยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ลุยส่งออก

03 ต.ค. 2563 | 02:53 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ต.ค. 2563 | 10:22 น.

   บริษัทประชารัฐฯตรังจับมือสถาบันวิจัยฯ ม.อ. เร่งวิจัยเพิ่มมูลค่า “ปูนิ่ม-ปลิงทะเลขาว” เป็นผลิตภัณฑ์ประมงหลักของจังหวัด เล็งทำปูนิ่มพร้อมรับประทาน และปลิงทะเลขาวพร้อมปรุง

 

บริษัทประชารัฐฯตรังจับมือสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร ม.อ. เร่งวิจัยเพิ่มมูลค่า ปูนิ่ม-ปลิงทะเลขาวป็นผลิตภัณฑ์ประมงหลักของจังหวัด เล็งทำปูนิ่มพร้อมรับประทานทดแทนตลาดนักท่องเที่ยวที่หายจากโควิด และปลิงทะเลขาวพร้อมปรุงป้อนตลาดจีนที่มีความต้องการมหาศาล
\"ตรัง\"เร่งเพิ่มมูลค่า\"ปูนิ่ม-ปลิงทะเลขาว\" บ.ประชารัฐฯดึงม.อ.วิจัยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ลุยส่งออก     

เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ฟาร์มเลี้ยงปูนิ่มของวิสาหกิจชุมชนท่าพญาตามรอยพ่อ หมู่ 10 ตำบลบ้านนา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง คณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เดินทางมาเก็บข้อมูลการผลิตและจำหน่ายปูนิ่มในพื้นที่ ตามที่ นายลือพงษ์ อ๋องเจริญ ประธานกรรมการบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีตรัง จำกัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) และวิสาหกิจชุมชนท่าพญาตามรอยพ่อ โดยนายประพจน์ ศรีไตรรัตน์ กลุ่มเพาะเลี้ยงปูนิ่ม ที่ขอรับการสนับสนุนจากสถาบัน วิจัยและนวัตกรรมอาหาร จนมีข้อตกลงในการร่วมวิจัยและพัฒนา ต้อนรับและให้ข้อมูล
   \"ตรัง\"เร่งเพิ่มมูลค่า\"ปูนิ่ม-ปลิงทะเลขาว\" บ.ประชารัฐฯดึงม.อ.วิจัยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ลุยส่งออก  

วิสาหกิจชุมชนท่าพญาตามรอยพ่อ เป็นชุมชนผลิตปูนิ่มเพื่อส่งขายให้ภัตตาคารร้านอาหารในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงเมืองท่องเที่ยวและเมืองเศรษฐกิจ เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต กระบี่ พังงา เกาะสมุย ไปปรุงอาหาร แต่เมื่อเกิดการระบาดเชื้อโควิด-19 นักท่องเที่ยวหดหาย การขายปูนิ่มไม่ดีเหมือนเดิม ราคาเริ่มตกลงจากกิโลกรัมละ 300-330 บาท จนเหลือ 250 บาท จึงได้หารือกับบ.ประชารัฐฯตรัง เพื่อหาทางออก จากการหารือกับ ผศ.ดร.เสาวคนธ์ วัฒนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร ม.อ. จนได้ข้อสรุปว่าต้องพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ปูนิ่มพร้อมรับประทาน เพื่อจำหน่ายตลาดในประเทศทดแทน
  \"ตรัง\"เร่งเพิ่มมูลค่า\"ปูนิ่ม-ปลิงทะเลขาว\" บ.ประชารัฐฯดึงม.อ.วิจัยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ลุยส่งออก    

\"ตรัง\"เร่งเพิ่มมูลค่า\"ปูนิ่ม-ปลิงทะเลขาว\" บ.ประชารัฐฯดึงม.อ.วิจัยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ลุยส่งออก

นอกจากนี้คณะนักวิจัยยังสำรวจข้อมูลการผสมเทียมปลิงทะเลขาว ที่ฟาร์ม “ตรังประชารัฐฟาร์ม” ต.กันตังใต้ อ.กันตัง จ.ตรัง โดยที่ปลิงทะเลขาวเป็นที่ต้องการของตลาดสูงมาก ขณะที่ปริมาณปลิงทะเลขาวในธรรมชาติลดน้อยลง บริษัทประชารัฐฯตรัง จึงร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) วิจัยการผสมเทียมปลิงทะเลขาว เมื่อได้ตัวอ่อนนำมาอนุบาลไว้จนแข็งแรง ก่อนนำไปเลี้ยงเพื่อให้โตทดแทนการจับปลิงทะเลขาวจากธรรมชาติ และตัวอ่อนที่อนุบาลแล้วบางส่วนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อเพิ่มปริมาณต่อไป
    

ปัจจุบัน ชาวประมงจะแปรรูปปลิงทะเลขาวเป็นแบบตากแห้งเพื่อนำออกจำหน่าย โดยขนาด 40-50 ตัวต่อกิโลกรัม (ก.ก.) ขายในราคา ก.ก.ละ 2,500 บาท ขนาด 30 ตัว ขาย 3,500 บาท ขนาด 20 ตัวต่อก.ก.ขาย 5,500 บาท และขนาดใหญ่ 10 ตัวต่อก.ก. ขาย 8,000 บาท โดยมีพ่อค้ามาเลเซียเข้ามารับซื้อเพื่อส่งออกไปจีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น และเกาหลี
    

แต่การนำปลิงทะเลขาวตากแห้งไปปรุงอาหารมีข้อจำกัดคือ เชฟต้องใช้เวลาเตรียมวัตถุดิบหลายวันจึงจะพองตัวและสะอาด เพื่อนำไปปรุงอาหาร เช่น ปลิงทะเลน้ำแดงที่นิยมรับประทานกันได้ ผู้บริหารบริษัท ประชารัฐฯตรังจึงมีแนวคิดต้องการเพิ่มมูลค่าปลิงทะเล โดยวิธี “ฟรีซดราย” เอาน้ำออกโดยตัวปลิงยังคงรูป พร้อมนำไปปรุงอาหารได้ทันที ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าจากปลิงทะเลแห้งที่ขายกิโลกรัมละ 2,500 บาท ขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 20,000 บาทได้
    

ผศ.ดร.เสาวคนธ์ วัฒนจันทร์ ผอ.สถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สถาบันฯได้รับโจทย์จากบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีตรัง (วิสาหกิจเพื่อชุมชน) และวิสาหกิจชุมชนท่าพญาตามรอยพ่อ ที่เลี้ยงปูนิ่ม ในขณะราคาปูนิ่มไม่ดีแต่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าล้นตลาด จึงมีแผนรองรับผลิตปูนิ่มเป็นอาหารพร้อมรับประทาน
  \"ตรัง\"เร่งเพิ่มมูลค่า\"ปูนิ่ม-ปลิงทะเลขาว\" บ.ประชารัฐฯดึงม.อ.วิจัยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ลุยส่งออก    

นักวิจัยของสถาบันฯเดินทางมาเก็บข้อมูลยังฟาร์มเลี้ยงปูนิ่มในพื้นที่ เพื่อไปออกแบบผลิตภัณฑ์ปูนิ่มพร้อมรับประทาน ซึ่งวัตถุดิบปูนิ่มไม่มีอะไรที่ซับซ้อน และสถาบันฯมีเทคโนโลยี มีโรงงานแปรรูปขนาดใหญ่ สามารถออกแบบสร้างผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของตลาด คาดจะใช้เวลาออกแบบใน 6-8 เดือน และผลิตเป็นอาหารพร้อมรับประทานตามโครงการนี้ได้ในเวลาไม่เกิน 1 ปี เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับส่งจำหน่ายในตลาดทั้งในและต่างประเทศ
    

นอกจากปู่นิ่มทางสถาบันฯสนใจที่จะแปรรูปปลิงทะเลขาว เป็นสินค้าอีกตัวที่มีผู้ส่งออกไปขายต่างประเทศกันมากโดยเฉพาะประเทศจีน จากที่ผ่านมาทำในรูปแบบปลิงทะเลรมควันหรือแบบตากแห้ง ทางสถาบันฯจะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แบบแช่เยือกแข็งแล้ว อาจจะผลิตปลิงทะเลขาวเป็นปลิงทะเลพร้อมรับประทานด้วยก็ได้
    

ทั้งนี้ที่ผ่านมาทาง สถาบันฯวิจัยการแปรรูปสินค้าเกษตรในภาคใต้มาหลายเมนู เช่น ข้าวปรุงสุกพร้อมรับประทาน โจ๊ก และมะม่วงเบา เป็นต้น ทางสถาบันยินดีให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการและผลิตสินค้าประเภทการแปรรูปอาหาร ถนอมอาหาร โดยมีโรงงานต้นแบบที่ทันสมัยในการออกแบบผลิตและผลิตอาหารแปรรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นสินค้าออกสู่ตลาดต่อไป
   \"ตรัง\"เร่งเพิ่มมูลค่า\"ปูนิ่ม-ปลิงทะเลขาว\" บ.ประชารัฐฯดึงม.อ.วิจัยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ลุยส่งออก

\"ตรัง\"เร่งเพิ่มมูลค่า\"ปูนิ่ม-ปลิงทะเลขาว\" บ.ประชารัฐฯดึงม.อ.วิจัยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ลุยส่งออก  

ด้านนายลือพงษ์ อ๋องเจริญ ประธานกรรมการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีตรัง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดต้องการปลิงทะเลขาวมากจนใช้ทรัพยากรเกินขนาดประชารัฐฯตรังต้องการให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) วิจัยนวัตกรรมระบบปิดการเพาะพันธุ์ปลิงทะเลขาวบนบกแบบครบวงจร เพื่อผลิตลูกปลิงทะเลขาววัยอ่อนทั้งเพื่อปล่อยคืนลงทะเลเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ และอีกส่วนจำหน่ายให้เกษตรกรไปเลี้ยงขุนเป็นปลิงทะเลขาวเต็มวัยทดแทนการจับในธรรมชาติ
    

การวิจัยประสบความสำเร็จมาเป็นลำดับ ทั้งด้านเทคนิคการเพาะพันธุ์ และบริษัทได้ขยายการลงทุนทำฟาร์มเพาะพันธุ์ปลิงทะเลขาวที่หมู่ 5 บ้านแตะหรำ ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ทำฟาร์มเพาะเลี้ยงปลิงทะเลขาววัยอ่อนที่บ้านบาตูปูเต๊ะ หมู่ 4 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และขยายฟาร์มเพาะพันธุ์ปลิงทะเลขาวไปยังหมู่ที่ 3 บ้านแหลมไทร ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง พร้อมสร้างเครือข่ายการเพาะเลี้ยงปลิงทะเลขาวจังหวัดฝั่งอันดามันร่วม 5 จังหวัด คือ สตูล ตรัง กระบี่ พังงา และระนอง
    

จากเดิมปลิงทะเลขาวที่จำหน่ายในรูปรมควันหรือตากแห้ง ในปี 2559 มีความต้องการเป็นปริมาณ 10,000 ตัน/ปี มูลค่าทางการตลาด 50,000 ล้านบาท/ปี ศูนย์กลางการตลาดอยู่ใน ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน มาเลเซีย และเกาหลี ด้านการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลิงทะเลขาว เมื่อทำสำเร็จจะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าปลิงทะเลขาวให้สูงขึ้นอีก จะทำให้ปูนิ่มและปลิงทะเลขาวเป็นสินค้าหลักของชาวประมงตรังอย่างยั่งยืนต่อไป 

\"ตรัง\"เร่งเพิ่มมูลค่า\"ปูนิ่ม-ปลิงทะเลขาว\" บ.ประชารัฐฯดึงม.อ.วิจัยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ลุยส่งออก

ธีมดี ภาคย์ธนชิต/ตรัง

รายงาน

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 17 ปีที่40 ฉบับที่ 3,615 วันที่ 4-7 ตุลาคม 2563 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตรังยื่น‘คมนาคม’ขอสะพาน3กม.เชื่อม‘หาดสำราญ-กันตัง’

เสียงถึงทีมเศรษฐกิจใหม่ 2บิ๊กธุรกิจตรังจี้"เติมสภาพคล่อง"

ตรังบูมเที่ยว‘สวนพริกไทยปะเหลียน’ โชว์เทรนด์สุดชิคชิม‘กาแฟพริกไทย’

“ตรัง”เสือปืนไวจัด 6 แพ็กเกจรับ อสม. "เที่ยวทั่วไทย"