โควิด-19คุมยาก “หมอธีระ”แนะรัฐบาลต้องประกาศพื้นที่เสี่ยง

05 ธ.ค. 2563 | 03:41 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ธ.ค. 2563 | 10:51 น.

หมอธีระโฟสต์เฟซบุ๊ก แนะรัฐบาลประกาศพื้นที่เสี่ยง หลังสถานการณ์โควิดยังระบาด ย้ำคุมยาก

 

 

วันที่5ธันวาคม2563 รองศาตราจารย์นายแพทย์ ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่า สถานการณ์ทั่วโลก วันที่5 ธันวาคม 2563ทะลุ 66 ล้านคนไปแล้ว จำนวนติดเชื้อและจำนวนเสียชีวิตต่อวันของทั่วโลกสูงทำลายสถิติ ขณะเมื่อวาน(วันที่4 ธันวาคม)ทั่วโลกติดเพิ่มถึง 743,339 คน รวมแล้วตอนนี้ 66,160,878 คน ตายเพิ่มอีกมากถึง 13,638 คน ยอดตายรวม 1,523,065 คน 

อเมริกา ทำลายสถิติทั้งจำนวนติดเชื้อและจำนวนการตาย ติดเชิ้อเพิ่มอีกสูงถึง 255,054 คน รวม 14,736,565 คน ตายเพิ่มอีก 3,224 คน ยอดตายรวม 285,280 คน สถานการณ์แย่ลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการเดินทางไปมาหาสู่กันในช่วงวัน Thanksgiving

 

 

 

วันก่อนบุคลากรทางการแพทย์จากหลายรัฐ เช่น เทนเนสซี่ คอนเนคติกัต มิสซูรี่ มิสซิซิปปี้ ก็ออกมาเรียกร้องให้รัฐดำเนินมาตรการเข้มข้นเพื่อจัดการควบคุมโรคให้ได้ เพราะระบบสุขภาพกำลังจะรองรับไม่ไหว

อินเดีย ติดเพิ่ม 43,067 คน รวม 9,607,632 คน

บราซิล ติดเพิ่ม 46,884 คน รวม 6,533,968 คน 

รัสเซีย ติดเพิ่มอีก 27,403 คน รวม 2,402,949 คน

ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 11,221 คน รวม 2,268,552 คน อันดับ 6-10 ตอนนี้เป็น สเปน สหราชอาณาจักร อิตาลี อาร์เจนตินา และโคลอมเบีย ส่วนใหญ่ติดกันหลายพันถึงหลักหมื่นต่อวัน

เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ สวีเดน โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงอิหร่าน ตุรกี บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเมียนมาร์ ติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลายหมื่น

แคนาดาติดเชื้อเพิ่มหลายพันต่อวันอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดยอดสะสมเกิน 400,000 คนไปแล้ว ในขณะที่มาเลเซียส่วนใหญ่ติดเพิ่มพันกว่าต่อวัน จนยอดรวมเกิน 70,000 คนแล้ว

แถบสแกนดิเนเวีย รอบทะเลบอลติก และแถบยูเรเชียยังคงน่าเป็นห่วง ติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ทั้งเดนมาร์ก สวีเดน ฟินแลนด์ ลัตเวีย เอสโตเนีย จอร์เจีย ฯลฯ มีโอกาสเป็นศูนย์กลางการระบาดในระยะถัดไปได้

เกาหลีใต้ติดกันเพิ่มหลายร้อยมาตลอด ส่วนฮ่องกงก็เพิ่มหลักร้อย จีนและออสเตรเลียติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่สิงคโปร์ยังมีติดเพิ่มต่ำกว่า10ราย

 

 

 

สำหรับสถานการณ์ในเมียนมาร์ เมื่อวานติดเพิ่มขึ้นอีก 1,502 คน ตายเพิ่มอีก 31 คน ตอนนี้ยอดรวม 96,520 คน ตายไป 2,059 คน อัตราตายตอนนี้ 2.1% คาดว่ายอดรวมจะแตะหลักแสนในอีก 3 วันหากทบทวนรายงานวิจัยเกี่ยวกับ superspreading event หรือเหตุการณ์การระบาดวงกว้างจากผู้ติดเชื้อคนเดียวหรือกลุ่มเดียวนั้น มีจำนวนงานวิจัยราว 41 ชิ้น ดังที่เคยเล่าให้ฟังไปวันก่อน การที่คนติดเชื้อคนหนึ่ง แพร่ไปให้คนจำนวนมากนั้น เกิดขึ้นอยู่ 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ เป็นการแพร่กระจายในสังคมวงกว้าง (societal superspreading event) กับการแพร่กระจายในคนหมู่มากที่อยู่ในสถานที่จำเพาะ (isolated superspreading event)

แบบแรกคือการแพร่กระจายในสังคมวงกว้าง เกิดได้หลายแบบ เช่น โรงเรียน งานแต่งงาน งานศพ พิธีทางศาสนา ผับบาร์คาราโอเกะ ที่ทำงาน ที่ช็อปปิ้ง สถานที่แข่งกีฬา ฯลฯ ส่วนแบบที่สอง คือการแพร่กระจายในสถานที่จำเพาะนั้น เกิดขึ้นในเรือ ในเรือนจำ และในสถานที่ดูแลผู้สูงอายุ 

ของไทยเรานั้น กลุ่มเคสที่ลักลอบเข้าเมืองจัดเป็นกรณีศึกษาที่มีอัตลักษณ์ ต่างจากของต่างประเทศมากทีเดียว เพราะเข้ามาเป็นกลุ่ม แต่กระจายไปหลายจังหวัดหลายภาคพร้อมๆกัน ซึ่งสถานการณ์แบบนี้น่ากังวลมาก ยิ่งหากหน่วยงานรัฐบอกว่าประสบความยากลำบากในการสอบสวนโรค เพราะมีการปกปิดหรือปิดบังข้อมูล ให้การวกวนหรือเตี้ยมกัน ดังที่เป็นข่าวในสื่อเมื่อวาน ก็ยิ่งทำให้โอกาสมีการแพร่เชื้อรับเชื้อโดยคนไม่รู้ตัวย่อมมีสูง และจะแพร่ต่อได้ในวงกว้าง

นอกจากนี้การจัดกิจกรรมบันเทิงต่างๆ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่คนนิยมไปกันนั้น ยังมีแนวโน้มว่าจะมีคนที่ไป แต่ไม่ได้เช็คอินไทยชนะ หรือ ไม่มีข้อมูลรายละเอียดบันทึกไว้ให้รัฐติดตามได้อย่างครบถ้วน ดังจะเห็นจากการต้องประกาศข่าวเรียกให้คนประเมินตนเองและมารายงานตัว ก็ยิ่งทำให้น่ากังวล เพราะจะมาในแนวเดียวกับที่เราเห็นบทเรียนในยุโรปหลายประเทศ ที่ระบบการติดตามตัวนั้นไม่สามารถตามตัวคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนนำมาสู่การระบาดซ้ำ

โรค COVID-19 นี้เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรมมนุษย์ ที่ติดต่อกัน พบปะกัน คลุกคลีใกล้ชิดกัน และโรค COVID-19 นี้ก็ยังควบคุมได้ยาก เนื่องจากแพร่ง่ายและเหมือนรู้ใจคนว่า พฤติกรรมของคนนั้้นก็เหมือนจิตใจของคน...ยากแท้หยั่งถึงหากอุปนิสัยใจคอรักความสะดวกสบาย อิสระเสรี ไม่เคร่งครัดวินัย ไม่เคารพกฎระเบียบ เราก็จะเห็นปรากฏการณ์ "กฎมีไว้แหก" สนองกิเลสตนเองแต่สร้างความเดือดร้อนแก่คนอื่นในสังคม

ตอนนี้ผมคิดว่ารัฐจำเป็"ต้องประกาศพื้นที่เสี่ยงและรณรงค์ให้ลด ละ เลี่ยงการเดินทางเข้าออกพื้นที่เสี่ยงโดยไม่จำเป็น หากใครจำเป็นต้องเดินทาง ก็ขอให้มีสติ ป้องกันตัวเสมอและสังเกตอาการตนเองหลังกลับมาอย่างน้อยสองสัปดาห์มาตรการแบบไล่ตามโรค ยากนักที่จะป้องกันโรคลักษณะนี้ได้ และหากมีการระบาดกระจาย จะควบคุมได้ยากใช้เวลานานกว่าเดิม

จากบทเรียนต่างประเทศ ถ้าระบาดซ้ำ จำนวนติดเชื้อสูงสุดต่อวันจะสูงกว่าเดิมอย่างน้อย 3 เท่า (500-600 คนต่อวัน) และใช้เวลาคุมนานกว่าเดิม 1.6 เท่า (88 วัน) ดังนั้นเราต้องทำเต็มที่เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นประเทศไทยต้องทำได้ด้วยรักต่อทุกคนสวัสดีวันพ่อแห่งชาติ และขอให้คุณพ่อทุกท่านมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยจากโรครศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"