นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อ และผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดสงขลา ได้ลงนามใน คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ที่ 1/2564 วานนี้ (5 ม.ค.) เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว และการกำหนดมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยระบุว่า
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ออกไปเป็นคราวที่ 8 จนถึงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2564 นั้น
เนื่องจากการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ขยายขอบเขตการแพร่โรคออกเป็นวงกว้างกระจายไปในหลายเขตพื้นที่ และการตรวจพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการติดเชื้อภายในประเทศมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน ประกอบกับมีการเดินทางของบุคคลจากเขตพื้นที่สถานการณ์ ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดซึ่งโดยส่วนใหญ่ยังไม่ปรากฏอาการของโรค เป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่ออกไปในลักษณะที่เป็นกลุ่มก้อน นอกจากนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานเพื่อควบคุมโรคพบว่า มีผู้ติดเชื้อโรคบางส่วนปกบิดข้อมูลการเดินทางทำให้ขั้นตอนการสอบสวนโรคเกิดความล่าช้าและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จนส่งผลให้เกิดเป็นการระบาดระลอกใหม่ขึ้นเป็นวงกว้าง
รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดและบังคับใช้บรรดามาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขและระงับยับยั้งสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวนี้
อาศัยอำนาจตามความในมาตราแห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ..2548 (ฉบับที่16) ลงวันที่ 25 ธันวาคม2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 จึงมี คำสั่งให้ปิดสถานที่ “เสี่ยงต่อการเกิดโรค” เป็นการชั่วคราว และกำหนดมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ดังต่อไปนี้ คือ
1. ปิดสถานที่ ดังต่อไปนี้
1.1 สนามชนโคและสนามซ้อมโค
1.2 สนามชนไก่และสนามซ้อมไก่ขน
1.3 สนามกัดปลา
1.4 สนามแข่งนกและสนามข้อมนก
1.5 สนามมวย
2. สถานที่ดังต่อไปนี้ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคแนบท้ายคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลาฉบับนี้โดยเคร่งครัด
2.1 สถานบริการ ผับ บาร์ สถานบันเทิง และสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายสถานบริการ
2.2 ร้านเกมส์และอินเตอร์เน็ต
2.3 สวนน้ำ สวนสนุก สนามเด็กเล่น
2.4 สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง สกี สเก็ต หรือโรลเลอร์เบลด โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียด หรือการละเล่นอื่น ๆในทำนองเดียวกัน
2.5 ร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม รถข็น หาบเร่ แผงลอย ภัตตาคาร สวนอาหาร ศูนย์อาหาร โรงอาหาร
2.6 ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ร้านสะดวกซื้อ และซุปเปอร์มาร์เก็ต
2.7 ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ
2.8 สถานที่ให้บริการจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
2.9 ห้องประชุมในโรงแรมหรือศูนย์ประชุม
2.10 ร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีก/ค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด
2.11 ร้านค้าปลีก/ค้าส่ง หรือตลาดค้าส่งขนาดใหญ่
2.12 ร้านเสริมสวย แต่งผม หรือตัดผมสำหรับบุรุษหรือสตรี
2.13 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน
2.14 สถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานดูแลผู้สูงอายุ
2.15 สถานเสริมความงาม (ที่ไม่ได้รับอนุญาตป็นคลินิกเวชกรรม) สถานที่สักหรือเจาะผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
2.16 สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา และสถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า
2.17 คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม ร้านทำเล็บ
2.18 สนามกอล์ฟ และสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
2.19 สนามกีฬา และสนามแข่งขันอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ห้ามในข้อที่ 1
2.20 สวนสาธารณะ ลาน -พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา ลานกีฬา
2.21 สถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์ สปา อาบน้ำ ตัตขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์
2.22 สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส
2.23 สถานที่หรือสนามออกกำลังกายในร่ม
2.24 สระว่ายน้ำสาธารณะทั้งกลางแจ้งและในร่ม
2.25 สวนพฤกษศาสตร์ สวนดอกไม้ พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ห้องสมุดสาธารณะ และหอศิลป์
2.26 สระน้ำเพื่อการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำในบึง
2.27 โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ
2.28 สวนสัตว์ หรือสถานที่จัดแสดงสัตว์
2.29 สถานประกอบกิจการอาบ อบ นวด
2.30 สนามพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง
3. สถานที่อื่นนอกเหนือจากข้อ 2. ให้ผู้เกี่ยวข้องจัดให้มีมาตรการป้องกันโรค ดังต่อไปนี้
3.1 บริการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือการคัดกรองอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ
3.2 ให้สวมหน้กากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
3.3 อำนวยความสะดวกในการเว้นระยะทำห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร และจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ให้แออัด
3.4 จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
3.5 จัดให้มีการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการทำกิจกรรม
รวมทั้งระหว่างและภายหลังการทำกิจกรรมด้วย
3.6 ให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด
ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่ง หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ ศ.2548ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับและหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อ 6 และข้อ 3 จะถูกสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดไทม์ไลน์“อาจารย์ม.อ.”ติดโควิด