แบงก์ไทยปี 2564 หลังปิดปี 2563 เงินสำรองเพิ่มกว่า 40.56%

23 ม.ค. 2564 | 06:04 น.

แบงก์ไทยปี 2564 หลังปิดปี 2563 เงินสำรองเพิ่มกว่า 40.56% แตะ 2.39 แสนล้านบาท หนี้เอ็นพีแอลขยับเพิ่ม 6.69 หมื่นล้านมีจำนวน 5.23 แสนล้านบาท 3.40%

แบงก์ไทยปี 2564 หลังปิดปี 2563 เงินสำรองเพิ่มกว่า 40.56% แตะ 2.39 แสนล้านบาท รองรับคุณภาพสินเชื่อ เผยหนี้เอ็นพีแอลมีจำนวน 5.23 แสนล้านบาท 3.40% เพิ่มขึ้น 6.69 หมื่นล้านบาท

 

10 ธนาคารพาณิชย์ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในรอบปี 2563 ภาพรวมมีกำไรสุทธิ 1.38 แสนล้านบาท ลดลง 6.4 หมื่นล้านบาทหรือ 31.77% จากช่วงเดียวกันปีก่อนมีจำนวน 2.02 แสนล้านบาท

ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์

 

เมื่อพิจารณาแต่ละธนาคารพาณิชย์ยังให้น้ำหนักกับการตั้งสำรองค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสะท้อนการบริหารจัดการคุณภาพของสินทรัพย์ด้วยความระมัดระวังและ Management Overlayภายใต้มาตรฐานTFRS9 เพื่อรองรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนทั้งจากสภาวะเศรษฐกิจและการระบาดของโควิด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินเชื่อของธนาคาร  โดยเห็นได้จากธนาคารพาณิชย์ 9แห่งมีค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯในรอบปี2563 จำนวน รวม 2.39 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.91 หมื่นล้านบาทหรือ 40.56%จากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 1.70 แสนล้านบาท

 

เงินสำรองค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิต

 

ที่สำคัญในรอบปี 2563 แม้แต่ละธนาคารพาณิชย์และธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้ทยอยออกมาตรการป้องปราบโดยคำนึงถึงโอกาสที่จะเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยออกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้และสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ภายใต้การบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างระมัดระวังต่อเนื่อง แต่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ยังสะท้อนการปรับเพิ่มขึ้น โดยสิ้นปี2563ตัวเลขหนี้เอ็นพีแอลมีจำนวน 5.23 แสนล้านบาท 3.40% เพิ่มขึ้น 6.69 หมื่นล้านบาทจากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 4.56 แสนล้านบาท  

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ปี 2564 คาดว่า สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ต่อสินเชื่อ (Credit Cost) จะอยู่ที่ระดับประมาณ 1.55% (กรอบ 1.45-1.75%) ชะลอลงจากตัวเลขคาดการณ์สำหรับปี 2563 ที่ 1.75% แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 1.31% ในปี 2560-2562 เนื่องจากคาดว่าสถานการณ์หนี้เอ็นพีแอลภาพรวมยังไม่นิ่งท่ามกลางสถานการณ์การฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังเป็นไปอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นข้อจำกัดด้านรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้หลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 

หนี้เอ็นพีแอล

ขณะเดียวกันยังประเมินเอ็นพีแอลในระบบธนาคารพาณิชย์มีโอกาสจะขยับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 3.53%แม้ทุกธนาคารพยายามเร่งปรับโครงสร้างหนี้และดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิด ควบคู่กับการให้น้ำหนักกับการประคองรายได้จากธุรกิจหลักให้สามารถอยู่รอดในตลอดปี 2564

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

3แบงก์ใหญ่ตั้งการ์ดสำรองสูง กดดันกำไรสุทธิปี2563

เราชนะ" เซ็กด่วน คลังออกพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นพิเศษ

ยอดโควิด 23 ม.ค.64 ทั่วโลกผู้ป่วยเพิ่ม 6.31 แสนราย รวม 98.69 ล้านราย

ราคาทองปิดลบ 9.7 ดอลลาร์ ในรอบสัปดาห์นี้ปรับตัวขึ้น 1.4%

ดาวโจนส์ปิดลบ 179 จุด รอบสัปดาห์นี้บวก 0.6%