มี.ค.นี้ รฟม.เล็งเปิดประมูล "สายสีส้ม" รอบ 2

05 ก.พ. 2564 | 05:30 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ก.พ. 2564 | 05:42 น.

รฟม.เคลียร์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม คาดเปิดประมูล มี.ค.นี้ ล่าสุดกลับลำรอศาลปกครองไต่สวนไม่ไหว สั่งล้มประมูลยึดเกณฑ์ใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมา นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ  ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มว่า กรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ชะลอการประมูลโครงการฯนั้น หากกระบวนการไต่สวนของศาลปกครองสูงสุดแล้วเสร็จ หลังจากนั้นใช้เวลาพิจารณาข้อเสนอของเอกชนทั้ง 2 ราย ประกอบด้วย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM  และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC คาดว่าภายในเดือนมีนาคมนี้จะได้ผู้ชนะการประมูล และยืนยันว่าจะเปิดให้บริการตามเป้าหมายที่วางไว้   เพราะใช้ระยะเวลาน้อยกว่าที่คาด  ทั้งนี้หลังจากได้ผู้ชนะการประมูลเราจะเจรจากับเอกชนผู้ชนะการประมูลโดยยึดอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท เพื่อจูงใจให้ผู้โดยสารปรับเปลี่ยนวิธีการเดินทางมาใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

 

 

 

นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะประธานกรรมการคัดเลือกฯ มาตรา 36 กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เห็นชอบยกเลิกประมูลโครงการนี้หลังจากเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอเมื่อปลายปี 2563 เนื่องจากโครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาในศาล และมีเวลาพิจารณานานเกินกว่าที่ รฟม.ประเมินไว้ ซึ่งหากรอการพิจารณาต่อไปอาจกระทบการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีส้ม

 

 

คณะกรรมการฯ พิจารณาเพียงว่าการล้มประมูลไปก่อนจะดีกว่า เพราะเริ่มประกวดราคาใหม่จะใช้เวลาไม่มาก เมื่อเทียบกับการรอพิจารณาตามกระบวนการศาล และ รฟม.ไม่อยากให้ภาพรวมโครงการต้องสะดุด

 

 

รายงานข่าวจากรฟม. ระบุว่า ขณะนี้จะเร่งออกประกาศยกเลิกการประมูลทันทีเพื่อเริ่มประมูลใหม่ โดยจากการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นกำหนดใช้หลักเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอเอกชนจากคะแนนเทคนิค 30 คะแนน และราคา 70 คะแนน ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ที่ รฟม.ประกาศใช้สำหรับโครงการนี้ และเป็นหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ เห็นชอบในช่วงที่ผ่านมา

 

 

 

สำหรับข้อดีและข้อเสียของการยกเลิกประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ดังนี้

 

ข้อดี

-รฟม.สามารถร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จได้

กรณียกเลิกการคัดเลือกภายใน 6 - 8 เดือน

-เริ่มกระบวนการ ลดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดจากการดูแลบำรุงรักษา

 -เริ่มการคัดเลือกใหม่โครงสร้างโยธาส่วนตะวันออกที่แล้วเสร็จ

-ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ โดยอาจจะ

สามารถเจรจาให้ผู้ชนะการคัดเลือกเร่งรัด

การดำเนินการงานได้อีก

- สร้างความเชื่อมั่นของเอกชนในการร่วมลงทุน

กับโครงการของรัฐ

 

 

 

- ลดความเสียทางคดีที่จะเกิดขึ้น โดยสามารถ

ถอนอุทธรณ์คำสั่งทุเลาการบังคับตามเกณฑ์

การประเมินใหม่ในชั้นศาลปกครองสูงสุด

และขอยุติคดีหรือจำหน่ายคดีหลักในชั้นศาล

ปกครองกลางได้ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการ

คัดเลือกใหม่

- เกิตความชัตเจนในการดำเนินงานของ

คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36ฯ

เนื่องจากได้รายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ

ก่อนการดำเนินการแล้ว

- ลดความเสี่ยงในการถูกร้องเรียน หรือการ

ตัตดานในกระบวนการคัตเลือกและเสนอ

ผลคัดเลือก

 

 

ส่วนข้อเสีย

-การยกเลิกการคัดเลือกทำให้ รฟม.ต้องทบทวนหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเปิดขายเอกสารประกวดราคาอีกครั้ง

 

 

ทั้งนี้การยกเลิกประมูลโครงการฯ ถือเป็นแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมและดีที่สุด สามารถดำเนินการคัดเลือกเอกชนให้แล้วเสร็จได้โดยเร็วตามเป้าหมาย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซักฟอก “ศักดิ์สยาม” เอื้อธุรกิจดิวตี้ฟรี รื้อ TOR รถไฟฟ้าสายสีส้ม

มี.ค.นี้ รู้ผลประมูล "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" รฟม.เตรียมชงค่าโดยสาร 15-45 บาท

“วิษณุ” ยัน ล้มประมูลรถไฟฟ้าส้ม-เขียว ไม่มีกฎหมายพิเศษ

บอร์ดมาตรา 36 ไฟเขียวล้มประมูล "สายสีส้ม"

"ผมไม่คิดว่าเขาจะกล้าล้มสายสีส้ม!"