ประชาชน1ใน5เชื่อม็อบ3นิ้ว"สู้ในวิถีปชต."

14 ก.พ. 2564 | 01:45 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ก.พ. 2564 | 01:55 น.

นิด้าโพลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง"กลุ่มราษฎรหรือม็อบ3นิ้ว ณ เวลานี้" พบประชาชนเพียง 1 ใน 5 ยังเชื่อว่า เคลื่อนไหวในวิถีประชาธิปไตย และมีถึง 67.7 % ระบุเป็นม็อบมีแกนนนำ

นิด้าโพลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง"กลุ่มราษฎรหรือม็อบ3นิ้ว ณ เวลานี้" พบประชาชนเพียง 1 ใน 5 ยังเชื่อว่า เคลื่อนไหวในวิถีประชาธิปไตย และมีถึง 67.7 % ระบุเป็นม็อบมีแกนนนำ

 

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “กลุ่มราษฎรหรือม็อบสามนิ้ว ณ เวลานี้” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 10 กุมภาพันธ์ 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,315 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับกลุ่มราษฎรหรือม็อบสามนิ้ว ณ เวลานี้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

ประชาชน1ใน5เชื่อม็อบ3นิ้ว\"สู้ในวิถีปชต.\"          

จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงการมีแกนนำกลุ่มราษฎรหรือม็อบสามนิ้ว พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.60 ระบุว่า มีแกนนำ ขณะที่ ร้อยละ 32.40 ระบุว่า ไม่มีแกนนำ

         

ส่วนการมีผู้อยู่เบื้องหลังของกลุ่มราษฎรหรือม็อบสามนิ้ว พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.25 ระบุว่า มีผู้อยู่เบื้องหลัง ขณะที่ ร้อยละ 34.75 ระบุว่า ไม่มีผู้อยู่เบื้องหลัง

         

ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับข่าวความขัดแย้งภายในกลุ่มราษฎรหรือม็อบสามนิ้ว พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.22 ระบุว่า เป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล รองลงมา ร้อยละ 25.48 ระบุว่า เป็นความไม่เข้าใจกันชั่วคราว ร้อยละ 16.88 ระบุว่า เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจริง และร้อยละ 16.42 ระบุว่า เป็นกลลวงที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกฝ่ายตรงข้าม   

         

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรม/กิจกรรมของกลุ่มราษฎรหรือม็อบสามนิ้วที่ผ่านมา พบว่า

ร้อยละ 20.23 ระบุว่า เป็นการต่อสู้ด้วยวิถีทางแบบประชาธิปไตย ขณะที่ ร้อยละ 6.54 ระบุว่า ต่อสู้ด้วยวิถีทางนอกเหนือจากแบบประชาธิปไตยเพื่อให้ได้ชัยชนะ

ร้อยละ 16.20 ระบุว่า เป็นการแสดงออกถึงการเอาแต่ใจไม่เคารพในกฎหมายของบ้านเมือง ขณะที่ ร้อยละ 2.51 ระบุว่า แสดงออกถึงการเคารพในกฎหมายของบ้านเมือง

ร้อยละ 9.89 ระบุว่า เป็นการแสดงออกถึงการละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น ขณะที่ ร้อยละ 8.90 ระบุว่า แสดงออกถึงการเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น

ร้อยละ 9.13 ระบุว่า เป็นการแสดงออกถึงการไม่เคารพและไม่รับฟังความคิดเห็นต่าง ขณะที่ ร้อยละ 8.29 ระบุว่า แสดงออกถึงการเคารพและรับฟังความคิดเห็นต่าง

ร้อยละ 4.26 ระบุว่า เป็นการแสดงออกด้วยการพูดความเท็จและบิดเบือนข้อมูล ขณะที่ ร้อยละ 3.12 ระบุว่า แสดงออกด้วยการพูดข้อเท็จจริงและเหตุผล

ร้อยละ 3.57 ระบุว่า เป็นการแสดงออกถึงการต่อสู้ที่ไม่ยึดหลักสันติวิธี ขณะที่ ร้อยละ 3.12 ระบุว่า แสดงออกถึงการต่อสู้ที่ยึดหลักสันติวิธี

ร้อยละ 3.50 ระบุว่า เป็นการแสดงออกถึงการตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามอย่างไร้จิตสำนึกรับผิดชอบ ขณะที่ ร้อยละ 1.52 ระบุว่า แสดงออกถึงการตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามอย่างมีจิตสำนึกรับผิดชอบ

ร้อยละ 2.97 ระบุว่า เป็นการแสดงออกถึงการเคารพในความเท่าเทียมกัน ขณะที่ ร้อยละ 0.76 ระบุว่า แสดงออกถึงการแบ่งชนชั้น และร้อยละ 19.32 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ   ระบุรายได้

     

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.82 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.78 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.25 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.61 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.54 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.82 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.18 เป็นเพศหญิง

         

ตัวอย่างร้อยละ 7.30 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.37 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.36 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 30.65 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 25.32 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.36 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.66 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.99 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.99 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 20.30 สถานภาพโสด ร้อยละ 75.13 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.58 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.99 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

         

ตัวอย่างร้อยละ 28.29 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.40 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.06 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.56 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.40 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.29 ไม่ระบุการศึกษา

         

ตัวอย่างร้อยละ 10.65 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.22 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.29ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.98 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.37 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.69 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.36 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุอาชีพ

         

ตัวอย่างร้อยละ 19.01 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 24.18 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.79 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.57 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.48 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 6.54 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.43 ไม่