1 เมษายน 2564 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่า รัฐบาลยังไม่มีแนวคิดในการปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมคงเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ปีนี้ที่ร้อยละ 4
นอกจากนี้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ประเทศไทยได้กำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ร้อยละ 10 ตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบภาษีการค้ามาเป็นระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อปี 2535 แต่ได้มีการบรรเทาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะออกพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือร้อยละ 7 เป็นระยะ ๆ จะมีเพียงก็แต่เพียงในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 เท่านั้นที่มีการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ให้คงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีที่เข้าลักษณะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564 เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนซึ่งอัตราส่วน 1 ใน 9 ของภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะถูกโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย
นายอนุชา โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในแต่ละประเทศมีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่แตกต่างกันไป อาทิ อินโดนีเซีย เวียดนาม และญี่ปุ่นจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่อัตราร้อยละ 10 สิงคโปร์จัดเก็บที่ร้อยละ 7 มาเลเซียจัดเก็บที่ร้อยละ 6 ขณะที่ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้อยละ 7 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจ ไม่เป็นภาระแก่ประชาชนเกินจำเป็น และช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังหลังโอเปกพลัสหั่นคาดการณ์ดีมานด์
รู้จักปรากฏการณ์ Bitcoin Halving เรื่องต้องลุ้นทุกรอบ 4 ปี
ราคาทอง ตลาดนิวยอร์ก ปิดพุ่ง 29.6 ดอลลาร์
อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดตลาด "แข็งค่า" ที่ระดับ 31.25 บาท/ดอลลาร์