thansettakij
ไขข้อสงสัย! ผู้ที่มีโรคประจำตัวและแพ้ยาต่างๆ "ฉีดวัคซีน covid-19" ได้หรือไม่?

ไขข้อสงสัย! ผู้ที่มีโรคประจำตัวและแพ้ยาต่างๆ "ฉีดวัคซีน covid-19" ได้หรือไม่?

30 เม.ย. 2564 | 06:20 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มิ.ย. 2564 | 12:12 น.

ผู้ที่มีโรคประจำตัวและแพ้ยาต่างๆ ฉีดวัคซีน covid ได้หรือไม่? อันตรายต่อร่างกายหรือไม่? ตอบคำถามโดย ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ. อุดม คชินทร และ ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม

ผู้ที่มีโรคประจำตัวและแพ้ยาต่าง ๆ ฉีดวัคซีน covid ได้หรือไม่?
 

ตอบโดย ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ อุดม คชินทร 

นพ.อุดม คชินทร นพ.อุดม คชินทร

คนมีโรคประจำตัวยิ่งต้องฉีด โรคประจำตัวอย่างเช่น เบาหวาน ความดัน หลอดเลือดในสมอง เป็นอัมพาต หรือโรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน ต้องฉีดเลย ไม่มีผลข้างเคียง ไม่ใช่ว่าการที่มีโรคร่วมแล้ว จะฉีดยาอันตราย อันนี้ไม่ใช่ ไม่เกี่ยวเลย ถ้าถามว่ามีโรคไหนที่ไม่ควรฉีด ก็คือคนที่แพ้ เช่น แพ้ยารุนแรง มีประวัติแพ้เพนนิซิลิน หรือแพ้ยาอื่นรุนแรง คือการแพ้ยามีหลายระดับ เราต้องแจ้งหมอ แล้วหมอจะเป็นคนตัดสินใจให้ว่าควรฉีดหรือไม่ฉีด ถ้าแพ้รุนแรงมากๆ อาจจะไม่ฉีดหรืออาจจะชะลอไปก่อน แต่ถ้าแพ้ไม่รุนแรงมาก ก็ฉีดได้แต่ต้องมีทีมพร้อมในโรงพยาบาล ประวัติแพ้สำคัญ ท่านต้องให้ข้อมูลว่าท่านแพ้มากน้อยแค่ไหน เดี๋ยวแพทย์จะตัดสินใจให้ท่านเองว่าควรฉีดหรือไม่ฉีด หรือฉีดก็จะฉีดยาแล้วมีอะไรเตรียมอะไรไว้ที่จะป้องกัน แพ้นี่รวมทั้งแพ้อาหารด้วยนะ เช่นแพ้อาหารทะเล แพ้ยา แพ้อะไรทั้งหลาย แต่ไม่ใช่ว่าคนแพ้ทุกคนฉีดไม่ได้ มันมีหลายระดับ แพทย์จะช่วยตัดสินใจให้ ส่วนร่วมอื่นๆเนี่ยเบาหวานความดันหัวใจไต สามารถฉีดได้เลยไม่เกี่ยว แม้ท่านจะเป็นโรคเบาหวานอย่างหนัก ก็ฉีดได้ครับไม่เกี่ยวกัน

ตอบโดย ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม 

ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม

อย่างที่ผมเรียนไปเบื้องต้น คล้ายๆว่ามันจะแย้งกันยังไงชอบกล คือคนที่มีโรคประจำตัวก็จะรู้สึกว่าเราไม่แข็งแรง ถ้าฉีดก็จะเกิดอะไรต่างๆตามมา แต่ที่จริงถ้าเราไปดูว่าเวลาฉีดวัคซีน เหมือนตอนไข้หวัดใหญ่เลย คือฉีดให้กับประชากรกลุ่มเสี่ยง แล้วไปดูประชากรกลุ่มเสี่ยงคือใคร ก็จะเป็นคนที่อายุเกิน 65 เป็นโรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง สารพัดโรค สรุปก็คือคนที่มีโรคประจำตัว เพราะว่าคนที่มีโรคประจำตัวเวลาถ้าป่วยติดเชื้อเนี่ยอาการมันหนักมาก ในขณะที่ถ้าฉีดวัคซีนจะเกิดผลชัดเจนอะไรบ้าง ไข้ 1 วันหาย ไม่ได้เกิดหัวใจล้มเหลวหรืออะไรนะครับ หลอดเลือดตันก็อย่างที่ผมเรียนให้ทราบ ประชากรถ้าเป็นมันก็เกิดอยู่แล้ว ความเสี่ยงไม่ได้สูงขึ้น เพราะงั้นความเสี่ยงจากวัคซีนไม่ได้สูง ไม่ได้สูงกว่าประชากรทั่วไป แต่ประโยชน์ที่ได้จะคุ้มค่ากว่า เขาถึงแนะนำให้คนที่มีโรคประจำตัวฉีดวัคซีน แต่ถ้ากรณีแพ้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวได้ ถ้าแพ้หนักมากคุณหมอจะตัดสินใจชะลอไปก่อน แต่ถ้าแพ้ไม่รุนแรงก็ยังฉีดได้ โรคไทรอยด์ก็สามารถฉีดวัคซีน covid ได้ หากแพ้เพนนิซิลิน ก็สามารถฉีดได้เพราะวัคซีนไม่ได้มีส่วนประกอบของเพนนิซิลิน แพ้เพนนิซิลิน เตตรา คลอแรม ซันฟา หากไม่รุนแรงก็สามารถฉีดได้ หากฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนโควิด ในระยะเวลาใกล้ๆกัน ไม่ได้สัมพันธ์กันเพราะเป็นเชื้อคนละชนิดกัน สามารถฉีดในระยะเวลาใกล้กันได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : คลิปการบรรยาย "รู้จักวัคซีนโควิด-19" ณ สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564