เช็กที่นี่ มาตรการเยียวยารอบใหม่ ฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19

04 พ.ค. 2564 | 01:49 น.
อัปเดตล่าสุด :04 พ.ค. 2564 | 08:49 น.

เช็กที่นี่ มาตรการเยียวยารอบใหม่ หลัง “นายก” นั่งหัวโต๊ะ เร่งออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (3 พ.ค.) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เชิญคณะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจเข้าพบเพื่อหารือเรื่องมาตรการดูแลเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

โดยนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกรัฐบาล ได้ออกมาเปิดเผยว่า ความคืบหน้าของมาตรการเยียวยารอบใหม่ ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในส่วนของมาตรการด้านการเงินผ่านการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 และการออกพ.ร.ก. ด้านการเงินต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ รวมถึงมาตรการด้านภาษี ทั้งการลดภาษีและการขยายกำหนดเวลาต่างๆ อีกทั้งมาตรการด้านการคลังผ่านโครงการเยียวยา และมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อต่างๆ ซึ่งมีทั้งโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว เช่นโครงการคนละครึ่งระยะที่ 1-2 โครงการเพิ่มกำลังซื้อบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ เช่น โครงการเราชนะ

อย่างไรก็ตาม การระบาดของโรคโควิด-19 ในรอบล่าสุดนี้ ได้กระจายไปทั่วประเทศ และมีผลกระทบในวงกว้างกว่ารอบที่ผ่านมา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณามาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม เพื่อดูแลและเยียวยาประชาชนอย่างเร่งด่วน และฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเร็ว โดยจะพิจารณามาตรการที่สามารถดำเนินการได้ทันที อาทิ มาตรการด้านการเงิน มาตรการด้านสินเชื่อ มาตรการพักชำระหนี้ รวมถึงมาตรการลดค่าใช้จ่ายของประชาชน มาตรการการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศและมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำในที่ประชุมเรื่องความจำเป็นที่ต้องพิจารณามาตรการที่จะออกมาใหม่ในรอบนี้ด้วยความรวดเร็วและด้วยความรอบคอบ โดยมาตรการใดที่สามารถดำเนินการได้ทันที นายกรัฐมนตรีได้ขอให้หน่วยงานต้นสังกัดนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในครั้งหน้าที่จะมีการประชุมในวันพุธที่ 5 พ.ค. 64 นี้ได้เลย

ย้อนรอยมาตรการเยียวยา

1.โครงการคนละครึ่ง รัฐช่วยออก50% ลงทะเบียน www.คนละครึ่ง.com

2.โครงการเราชนะ  รัฐเยียวยาให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ จำนว 7,000 บาท ลงทะเบียน www.เราชนะ.com

3. โครงการม.33 เรารักกัน เยียวยา 4,000 บาท ลงทะเบียน www.ม.33เรารักกัน.com

4.โครงการเพิ่มกำลังซื้อ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สำหรับผู้ถือบัตรจำนวน 13.8 ล้านคน เดือนละ 500 บาท ระยะเวลา 3 เดือน

5.โครงการประกันรายได้เกษตรกร

6.โครงการเราเที่ยวด้วยกัน

7.โครงการประกันรายได้เกษตรกร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง