สรุปมาตรการ "เยียวยาโควิด” เราชนะ- ม.33 เรารักกัน-คนละครึ่ง-ยิ่งใช้ ยิ่งได้

06 พ.ค. 2564 | 03:30 น.
อัปเดตล่าสุด :06 พ.ค. 2564 | 11:05 น.

สรุปมาตรการ"เยียวยาโควิด” เราชนะ- ม.33 เรารักกัน-คนละครึ่ง-บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ-ยิ่งใช้ ยิ่งได้

สรุปมาตรการ "เยียวยาโควิด”  คณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 5 พ.ค.64 อนุมัติหลักการเยียวยาประชาชน มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย รวม 6 มาตรการ ครอบคลุมโครงการเดิม เช่น เราชนะ- ม.33 เรารักกัน-คนละครึ่ง-บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  และมาตรการใหม่ เช่น โครงการยิ่งใช้ ยิ่งได้  

สรุปมาตรการ "เยียวยาโควิด” 

  • โครงการเราชนะ 32.9 ล้านคน เพิ่มวงเงิน 2,000 บาท (2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1,000 บาท) ใช้จ่ายถึง 30 มิ.ย.256

  • โครงการ ม.33 เรารักกัน 9.29 ล้านคน เพิ่งวงเงิน 2,000 บาท (2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1,000 บาท) ใช้จ่ายถึง 30 มิ.ย.64

  • โครงการคนละครึ่งเฟส 3 จำนวน 31 ล้านคน รัฐสมสบวงเงินให้คนละ 3,000 บาท รอกำหนดช่วงเวลาใช้จ่าย

  • โครงการยิ่งใช้ ยิ่งได้ คาดเข้าร่วม 4 ล้านคน สนับสนุน E-Voucher สูงสุด 7,000 บาท รับ E-Voucher ช่วง ก.ค.- ก.ย.2564 ใช้จ่ายช่วง ส.ค. -ธ.ค. 2564

  • เพิ่มเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.65 ล้านคน คนละ 200 บาท 6 เดือน ก.ค.- ธ.ค.64

  • เพิ่มกำลังซื้อให้ผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ 2.5 ล้านคน โดยเพิ่มวงเงิน 200 บาท 6 เดือน ก.ค.- ธ.ค.64

สำหรับมาตรการมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมาตรการเยียวยาประชาชน ซึ่งยังมีมาตรการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น มาตรการภาษี มาตรการสินเชื้อ มาตรการบรรเทาค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ

สรุปมาตรการ \"เยียวยาโควิด” เราชนะ- ม.33 เรารักกัน-คนละครึ่ง-ยิ่งใช้ ยิ่งได้

ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก กวาง ไตรศุลี ไตรสรณกุล

มาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ระลอกใหม่ในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2564 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและยังอยู่ในจุดที่ต้องเฝ้าระวัง ดังนั้นเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบการและประชาชนจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. มาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชนและบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งผู้ที่มีรายได้ประจำผู้ประกอบอาชีพอิสระผู้ประกอบการรายย่อยรวมไปถึงเกษตรกรรายย่อย โดยธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายละ 10,000 บาท ด้วยหลักเกณฑ์ที่ผ่อนปรนกว่าสินเชื่อปกติดอกเบี้ยร้อยละ0.35ต่อเดือนเป็นระยะเวลา 3 ปีปลอดชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก

2. มาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายระยะเวลาพักชำระหนี้โดยการพักชำระเงินต้นให้แก่ลูกหนี้ตามความสมัครใจออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เพื่อลดภาระการชำระหนี้เป็นการชั่วคราวให้แก่ลูกหนี้หรือนำเงินที่จะต้องชำระหนี้ไปเป็นสภาพคล่องเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือประกอบธุรกิจในช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูงโดยจะต้องไม่เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ลูกหนี้มากจนเกินไปและพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อยเพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกหนี้เป็นสำคัญ

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังขอความร่วมมือให้ผู้ให้บริการทางการเงินอื่นๆ เช่น Non-bank เป็นต้น เร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้เป็นหลัก ทั้งนี้ อาจให้ความสำคัญกับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปน้อยในลักษณะเช่นเดียวกันกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจต่อไป

ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก สถานีข่าวกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance News Station

ข่าวที่เกี่ยวข้อง