รายงานข่าวระบุว่า ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ มหานนท์ ผอ.โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก Nithi Mahanonda โดยมีข้อความว่า
ผลการตรววัดระดับภูมิคุ้มกันโควิด19 เปรียบเทียบระหว่างก่อนวัคซีนเข็มแรกของ Sinovac (ซิโนแวค) 1931 และ AZ (AstraZeneca) 864 คน และที่สาม/สี่อาทิตย์หลังเข็มแรกของ Sinovac 1928 และAZ 670 คน และสี่อาทิตย์หลังเข็มสองของ Sinovac 864 คน และ AZ ที่ สิบ/สิบสองอาทิตย์หลังเข็มแรก 468 คน
ผมยังอยากให้ดูข้อมูลเหล่านี้แล้วสรุปเพียงว่า 1.ก่อนฉีดวัคซีนเรามีคนที่มีภูมิคุ้มกันสูงอยู่บ้างแล้ว ซึ่งอาจแปลว่าในประชากรไทยมีคนที่ติดเชื้อและไม่มีอาการเดินไปมาอยู่ หรือผล/วิธีตรวจไม่มีความจำเพาะ (specificity)100%
2.หลังฉีดวัคซีนทั้ง Sinovac และ AZ มีคนที่ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้นเช่นกัน ซึ่งอาจจะเป็นได้จากพันธุกรรมของคนไทย หรือ คุณภาพวัคซีน(ผลจากการเก็บและขนส่ง-อุณหภูมิ)
3.ระดับภูมิคุ้มกันที่ 7-12 อาทิตย์หลังได้วัคซีนครั้งแรก Sinovac ได้ครบสองเข็ม AZ ได้เข็มเดียว ระดับภูมิคุ้มกันคนที่ได้ Sinovac ครบแล้วสูงกว่า
ระดับภูมิคุ้มกันนี้ไม่สามารถแปลผลส่งไปถึงประสิทธิภาพของวัคซีนได้ อย่างที่หลายๆคนพยายามเข้าใจหรือทำให้คนเข้าใจ/สับสน(อย่างน้อยก็เท่าที่ข้อมูลปัจจุบันมี) เพราะประสิทธิภาพวัคซีนตัวหนึ่งจะมีปัจจัยอื่นๆที่ไม่ได้ถูกดูวิเคราะห์หรือควบคุมในการวัดระดับภูมิคุ้มกันในห้องแลปเช่นนี้
#อย่าสับสนระดับภูมิคุ้มกันกับประสิทธิภาพวัคซีน
#อย่าเอาเรื่องซับซ้อนมาทำให้คนสับสนตื่นกลัว
ขอบคุณข้อมูลจากทีมวิจัยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์และฝ่ายวิจัยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมตัวเลขการฉีดวัคซีนโควิด-19 (Covid-19) ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.-22 มิ.ย. 64 จากศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีการฉีดสะสมไปแล้ว 8,148,335 โดส ประกอบด้วย เข็มที่ 1 จำนวน 5,844,521 ราย และเข็มที่ 2 จำนวน 2,303,814 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :