เปิดโครงสร้างราคาปาล์มฉบับ ‘โรงสกัดปะทะสูตรเกษตรกร’

04 ก.ค. 2562 | 08:45 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ก.ค. 2562 | 01:56 น.

5 ก.ค. บ่ายโมง จับตากรมการค้าภายในเปิดบ้านปรับโครงสร้างราคาปาล์ม เผย 3 สูตรรอลุ้น! “วิชัย” ทุบโต๊ะจะใช้สูตรไหน “ประวิตร” ส่งเข้าครม 9 ก.ค.นี้ ชาวสวนแฉโรงสกัดฯ กางบัญชีพ้อขาดทุนวันละ 2.3 หมื่นบาท ปีละกว่า 7 ล้านบาท ยันต้นทุนอยู่ได้ฯ  ราคา 3.36 บาท/กก. ค้านสายตา จี้กรมสรรพากรสอบ หากขาดทุนจริงจะร้องขอรัฐให้ช่วยยกเข่ง

 

โครงสร้างราคาผลปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มยังฝุ่นตลบ! เมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมาทางโรงสกัดน้ำมันปาล์มไม่มาเข้าร่วมประชุม แต่ได้ส่งโครงสร้างราคาผลปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มมาให้ โดยคิดราคาต้นทุน 3.36 บาท/กิโลกรัมนั้น

เปิดโครงสร้างราคาปาล์มฉบับ ‘โรงสกัดปะทะสูตรเกษตรกร’

นายพันศักดิ์ จิตรรัตน์ กรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มนํ้ามันแห่งชาติ (กนป.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงสร้างราคาผลปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ซึ่งมี นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธาน จะมีการประชุมในวันพรุ่งนี้ (5 ก.ค.62) เวลา 13.00 น.เป็นต้นไปนั้น โดยก่อนหน้านี้สมาคมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มไม่เข้าร่วมประชุม แต่ได้ส่งเอกสารมาให้แล้วอ้างว่าเป็นต้นทุนปรับโครงสร้างราคาปาล์มพร้อมกับชี้แจงว่ารายละเอียดขาดทุนสะสมวันละ 2.3 หมื่นบาทต่อวัน ถ้าคิดเป็นปี  7 ล้านกว่าบาท ไม่ใช่

เปิดโครงสร้างราคาปาล์มฉบับ ‘โรงสกัดปะทะสูตรเกษตรกร’

แต่ "โครงสร้างราคา " ความเข้าใจของเกษตรกร ไม่เกี่ยวว่าคุณจะใช้คนงานกี่คน ผมสนใจโครงสร้างราคาว่า ราคาน้ำมันปาล์มดิบ ณ ปัจจุบัน มีเปอร์เซ็นต์น้ำมัน ต้นทุนที่ใช้ในการผลิตเท่าไร ไม่ใช่ เอาค่าเสื่อมราคา ค่าบริหารจัดการ ค่าดอกเบี้ยเงินทุนหมุนเวียน บ้าไปแล้ว ถึงแม้ว่าผมจะเป็นเกษตรกร แต่ผมก็มีความรู้ ได้นำเอาโมเดลมาคิดหลายประเทศ ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซียและ ลาว ทำอย่างไรมีการคิดคำนวณต้นทุนอย่างไร เพื่อให้ทุกห่วงโซ่อยู่ได้ ต้องคิดทั้งระบบ

เปิดโครงสร้างราคาปาล์มฉบับ ‘โรงสกัดปะทะสูตรเกษตรกร’

นายพันศักดิ์ กล่าวว่า สิ่งที่แจกแจงรายละเอียดเป็นต้นทุนค่าจัดการโรงงาน ทั้งที่ไปเอามาหมด ทัั้ง ดอกเบี้ยกู้ธนาคาร นั่นไม่เกี่ยวกัน ซึ่งในการจัดการก็ควรจะยึดกติกาหลักสากลควรจะเป็นเท่าไร ถ้าสมมติต้นทุน 1.80 บาทต่อกก.ให้เต็มที่ น้ำมันปาล์มได้ 18%  จะได้ 3.10 บาท/กก. แต่หากน้ำมันปาล์ม 19% จะได้ราคาน้ำมันปาล์ม 3.25 บาทต่อกก. แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะประกาศราคาซีพีโอในแต่ละวันเท่าไร เปอร์เซ็นต์น้ำมันโรงสกัดปาล์มน้ำมันสกัดได้เท่าไร เพราะถ้าสกัดได้มากต้นทุนการจัดการก็น้อยลง รายได้โรงงานก็เพิ่มขึ้น”

เปิดโครงสร้างราคาปาล์มฉบับ ‘โรงสกัดปะทะสูตรเกษตรกร’

"ที่ผ่านมาได้พยายามมองเหตุและผล อย่ามามองว่าเกษตรกรไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าคุณบอกขาดทุน ผมจะทำหนังสือไปถึงท่านนายกรัฐมนตรีขอความกรุณาให้กรมสรรพากรไปตรวจสอบบัญชีว่าขาดทุนจริงหรือไม่ เพราะถ้าขาดทุนจริงก็จะเดือดร้อนถึงชาวสวนจะได้ให้รัฐบาลช่วยทั้งห่วงโซ่เลย  แต่ถ้าคุณมีรายได้มากกว่า รัฐต้องจัดการถือว่าหลอกลวงและทำให้เสียหายต้องเอาส่วนต่างมาชดเชยให้กับเกษตรกร ถือว่าเป็นการทำผิดข้อกฎหมายอย่างรุนแรง ผมมองว่า สมาคมโรงสกัดส่งต้นทุนโรงงานมาให้ทำไม ไม่ใช่โครงสร้างราคาปาล์ม ดังนั้นอยากให้วันพรุ่งนี้มาคุยกันดี จำเป็นต้องมีราคากลางมาตรฐาน อย่ามาดูถูกเกษตรกรว่าไม่มีความรู้"

เปิดโครงสร้างราคาปาล์มฉบับ ‘โรงสกัดปะทะสูตรเกษตรกร’

สอดคล้องกับนายอธิราษฎร์ ดำดี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กนป. กล่าวว่า ในส่วนของผู้แทนเกษตรกรมี 2 สูตรที่ได้เสนอไปโครงสร้างราคาปาล์มทะลาย มี 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบที่ 1 แบบคิดราคาส่งมอบหน้าโรงงาน = (รายได้จากน้ำมันปาล์มดิบ)+(รายได้จากเมล็ดในปาล์ม)-ค่าใช้จ่ายในการผลิต-กำไร

เปิดโครงสร้างราคาปาล์มฉบับ ‘โรงสกัดปะทะสูตรเกษตรกร’

1.รายได้จากน้ำมันปาล์มดิบ = (ราคาน้ำมันปาล์มดิบ *%การสกัดน้ำมันปาล์มดิบ) 2.รายได้จากเมล็ดในปาล์ม (ราคาเมล็ดในปาล์ม % การสกัดเมล็ดในปาล์ม) 3.ค่าใช้จ่ายในการผลิต =ค่าแรงงานฝ่ายผลิต +ค่าใช้จ่ายฝ่ายบริหาร +ค่าน้ำ+ค่าไฟฟ้า+ซ่อมบำรุงเครื่องจักร +ค่าเสื่อมราคา +ค่าโสหุ้ย) 4.ค่าการตลาดโรงงานสกัด =(ส่วนต่างของรายได้จากการขายและต้นทุนการผลิตทั้งหมด

เปิดโครงสร้างราคาปาล์มฉบับ ‘โรงสกัดปะทะสูตรเกษตรกร’

ส่วนแบบที่ 2. คิดราคาส่งมอบที่ตลาด กทม. ราคาปาล์มทะลายสด = (รายได้จากน้ำมันปาล์มดิบ)+( รายได้จากเมล็ดในปาล์ม)-(ค่าใช้จ่ายในการผลิต)-(ค่าขนส่งน้ำมันปาล์มดิบและเมล็ดในปาล์มที่มีต่อปาล์มทะลาย)-(ค่าการตลาด) อย่างไรก็ดียังไม่ทราบแน่ชัดจะเป็นไปในรูปแบบไหน หรืออาจจะมีรูปแบบอื่นอีกต้องติดตามตอนต่อไป ส่วนของสมาคมที่ส่งมา ยอมรับไม่ได้! ต้นทุนโรงสกัดสมาคมฯ แจ้ง 3.36 บาท/กก แต่จากเอกสารที่ "กรมการค้าภายใน" ส่งไปสืบราคาโรงสกัดได้ 1.71 บาท/กก. แต่ส่วนของเกษตรกรประเมินว่าต้นทุนโรงสกัดต้นทุน 1.50 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นถ้าโรงสกัดเบี้ยวประชุมอีกในที่ประชุมจะกล้าหรือไม่ที่จะใช้เสียงข้างมากลงมติเห็นชอบเลย ก็ให้โอกาสแล้ว ไม่มาชี้แจงเอง!

 

ส่วนผลการประชุม จะสรุปออกมาอย่างนั้น “ฐานเศรษฐกิจ” จะมานำเสนอรายงานข่าวต่อไป โปรดติดตาม