ท่ามกลางเงินบาทที่แข็งค่าในช่วงปีที่ผ่านมา กว่าธนาคารแห่งประเทศจะใช้มาตรการต่างๆเพื่อบริหารจัดการเงินบาทที่แข็งโป๊กขนาดนี้ ก็ปาเข้าไปเดือนที่ 11 ของปี ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สื่อนอกอย่างบลูมเบิร์กได้นำเสนอข่าว ถึงความพยายามของธนาคารแห่งประเทศ เพื่อหาทางระงับเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง โดยชี้ให้เห็นว่าค่าเงินบาทในวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา (2019) อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯอยู่ที่ 30.187 บาท/เหรียญฯ แข็งค่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. ปี 2013 แข็งค่าขึ้น 7.8% และด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักทำใหรัฐบาลกังวลว่าจะลากให้เศรษฐกิจที่มีมูลค่า 5 แสนกว่าล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้ต่ำลงไปด้วย บลูมเบิร์กได้อ้างอิงคำพูดของ นายอุตตมะ สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่กล่าวในวันที่ 9 ตุลาคมว่า “ธนาคารแห่งประเทศไทยควรจะดูแลค่าเงินบาท”
โกแมน แซค กล่าวว่ามีหลายปัจจัยที่ดึงดูดการลงทุนให้เข้ามาในประเทศไทย จากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เงินสกุลต่างชาติ คาดว่าเงินจะไหลเข้าไทยจำนวนมาก คิดเป็น 6% ของจีดีพี เงินทุนสำรองของไทย และเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ธนาคารต่างชาติๆถือเงินมากกว่า 2.20 แสนล้านเหรียญ และยังมีปัจจัยการนำเข้าในช่วง 2 เดือน อัตราเงินเฟ้อที่ 0.3 % ต่ำกว่าเงินเฟ้อเป้าหมายที่แบงก์ชาติวางไว้ที่ 1%-4% ในเดือนมิถุนายน เท่านี้ยังไม่พอ ยังได้รับแรงหนุนจากทองคำ และไทยยังได้อานิสงฆ์กลายเป็นศูนย์กลางของการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทโลหะ จากสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่ดันให้ราคาโลหะขึ้นสูงถึง 17%ในปีนี้
แน่นอนว่า ทุกครั้งที่เงินแข็งค่าจะกระทบผู้ส่งออกที่จะมีต้นทุนจากค่าเงินที่สูงขึ้น รวมไปถุงประเทศที่พึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้คิดเป็นมูลค่าอันดับ 5 ของจีดีพี โดยการท่องดที่ยวแห่งประเทศไทยได้ประกาศทบทวนจำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 40 ล้านคน ปัจจัยหลักมาจากค่าเงินบาที่แข็งค่า ทำให้การเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของชาวต่างชาติมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งไทยประกาศเป้าหมายอยู่ที่ 3%
10 ตุลาคมที่ผ่านมา ประกาศผ่อนปรนกฏเกณฑ์เงินทุนไหลออก ให้ง่ายมากขึ้น และผู้ว่าการธนาคารกลางแหห่งประเทศไทยได้เรียกร้องให้มีการลงทุนภายในประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อลดช่องว่างของดุลบัญชีเงินสะพัดมาตรการจำกัดเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น และลดการขายตั๋วเงินคลัง ในเดือนก.ค. ลดบัญชีต่างชาติจาก 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหลือ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อเพิ่มการเฝ้าระวัง
กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในเดือนส.ค. นายคณิศ แสงสุพรรณ หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า “เรื่องหนึ่งที่ทางกนง.ไม่ต้องการที่จะทำมากเกินไปคือการแซงแทรกค่าเงินบาทโดยตรง”
ตอนนี้ทุกสายตาจับจ้องที่บาทจะไปแตะต่ำกว่า 30 บาท/เหรียญฯ หรือไม่ ซึ่งจะเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 6 ปี ที่สำคัญจากการสำรวจของบลูมเบิร์ก สอบถามนักวิเคราะห์ค่าเงิน มีเพียงรายเดียวเท่านั้นคือมอร์แกน สแตนเล่ย์ที่มองว่าเงินบาทจะหลุดกรอบ 30 บาท/เหรียญฯ ด้าน IMF มองว่าจากการประเมินปัจจัยและภาพรวมทั้งหมดแล้ว ค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่าที่ควรจะเป็น และนี่คือจุดแข็งค่าที่สุดแล้ว รวมไปถึงมาตรการต่างๆของไทยในช่วงที่ผ่านมาที่ปกป้องค่าเงินนับตั้งแต่ปี 1997 ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ไทยจะได้อานิสงฆ์จากเงินทุนที่ไหลเข้าและที่สำคัญขึ้นอยู่กับการตอบสนองของธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร
บทความข้างต้นเป็นการตั้งคำถามไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ได้กำกับดูแลค่าเงินบาทในฐานะที่เป็นผุ้ดูแลหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามในการประชุมกนง.ต้นเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ในที่สุดคณะกรรมการกนง.มีมติที่ไม่เป็นเอกฉันท์ (5ต่อ2เสียง)ให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% และตามมาด้วยการประกาศในตอนบ่ายถึงมาตรการชะลอการแข็งค่าของเงินบาท โดยนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ธนาคารแห่งประเทศจึงผ่อนเกณฑ์การไหลออกของเงินทุน 7 ข้อ
1.ให้ประชาชน-ภาคธุรกิจโอนเงินนอกประเทศต่ำกว่า 2 แสนดอลลาร์/ครั้งไม่ต้องยื่นเอกสารหลักฐาน
2.ให้คนไทยที่ลงทุนทองคำชำระราคาเงินตราตปท.ผ่านบัญชี FCD ได้-เก็บเงินจากการขายทองคำไว้นอกประเทศได้
3.เปิดเสรีโอนเงินออกนอกประเทศได้ทุกวัตถุประสงค์ยกเว้นบางรายการที่ยังจ้องขออนุญาต
4.ให้เพิ่มวงเงินรวมการลงทุนในหลักทรัพย์ตปท.ที่จัดสรรให้นักลงทุนภายใต้การกำกับของ ก.ล.ต.เป็น 150,000 ล้านดอลลาร์
5.เปิดเสรีนักลงทุนรายย่อยออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ ตปท.ได้เองในวงเงิน 2 แสนดอลลาร์/ปี
6.ให้ผู้ส่งออกที่มีรายได้ต่ำกว่า 2 แสนดอลลาร์/ใบขน ฝากเงินไว้ที่ ตปท.ได้โดยไม่จำกัดเวลา
7. เล็งอนุญาตซื้อขาย Gold Futures ในรูปเงินตราต่างประเทศในระยะต่อไป
ทั้งหมดนี้คือมาตรการที่ธปท.ใช้ดูแลบาทแข็ง และประกาศใช้ในช่วงปลายปี จากเงินบาทที่แข็งค่ามาแล้วตั้งแต่ต้นปีที่เฉลี่ยมากถึง 6%-7%