นายมนัส บุญพัฒน์ นายกสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” วันนี้จะมีการแถลงการณ์ยกระดับชุมนุมแบบดาวกระจายซึ่งไม่ต้องการที่จะท้าทายอำนาจรัฐ ไม่ได้มีเจตนาที่จะสร้างความวุ่นวายให้ป็นกระแสทางการเมือง แต่ต้องการให้ผู้มีอำนาจรับฟังปัญหาทุกแง่มุมของชาวสวนยาง เพราะการบริหารยางพาราล้มทั้งระบบไม่สามาถที่จะแก้ปัญหาได้จึงมีการชุมนุมครั้งที่ยิ่งใหญ่ในวันที่ 26 มกราคม 2563 นอกจากมีเวทีในที่ตั้ง ยังมีภาระกิจการเคลื่อนเป็นขบวนแบบดาวกระจายหลายทิศทาง หลายจังหวัดที่จะเกิดขึ้นในวันนั้น
“ยกตัวอย่าง อาทิ สาย1.ควนหนองหงส์-สวนผัก-ผ่านร่อน-ผ่าน-ไม้หลา--รามนครฯ-หัวถนน-ศาลากลาง-ตัวเมืองนครฯ--สี่แยกเบญจ์-นาพรุ สาย2.สี่แยกห้วยปริก ถ้ำพรรณราบรรจบกันที่หน้ารร.เจริญมิตร(ทานพอ)-ผ่านแยกฉวาง-แยกจันดี-ช้างกลาง-นาบอน-ทุ่งสง โดยจะมุ่งหน้าไปที่เวทีสี่แยกควนหนองหงส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดีอยากจะเรียกร้องให้ทุกคนออกมาแสดงสิทธิของตนตามขอบเขตของกฎหมาย”
เช่นเดียวกับนายเรืองยศ เพ็งสกุล ประธานกลุ่มวิสาหกิจคนกรีดยางรายย่อยถ้ำพรรณรา กล่าวว่า เป็นเวทีครั้งสุดท้ายของชาวสวนยางที่จะปิดกรีดแล้ว สาเหตุที่ต้องทำราคายางพาราไม่มีท่าทีจะปรับราคาขึ้นเลย ทั้งที่รัฐบาล และหลายพรรคการเมืองก็มีการรับปากที่จะทำให้ราคายางปรับตัวขึ้นเลยทั้งที่มีปัญหาภัยแล้งและโรคเชื้อราระบาด
จึงทำให้เกษตรกรต้องมีการเคลื่อนไหวยกสุดท้ายเพราะหลังจากนี้ยางจะอยู่ในกลุ่มทุนหมดเกษตรกรจะไม่มียางขายต้องรีบทำ วันนี้ราคาน้ำยางสดจากมือเกษตรกรเริ่มจะปรับตัวลงวันละ 1 บาท เกษตรกรคนกรีดยางขายน้ำยางได้ 37 บาท/ กก. แล้วแนวโน้มวันตรุษจีนราคาจะโดนพ่อค้ากดราคารับซื้อน้ำยางอีก ต้องลุกขึ้นมาสู้
ด้านนายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มนํ้ามัน 16 จังหวัดภาคใต้ (คยป.) กล่าวว่า ราคายางตามที่นักการเมืองรับปาก ราคา 60-65 บาท/กิโลกรัม อยู่ตรงไหน สิ่งสำคัญที่สุดจะออกมาทวงสัญญาประชาคมจากรัฐบาลที่ประกาศเป็นนโยบาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องราคาอย่างเดียวจะต้องปฎิรูปยางพาราทั้งระบบ แล้วหากรัฐยังไม่ให้ความสนใจขอให้ชาวสวนยางทุกภาคลุกขึ้นมาช่วยกันเพื่อที่จะสะท้อนความเป็นจริงให้เห็นในขณะนี้เพราะที่ผ่านมา 6 ปีที่ผ่านมาไม่เคยมียกระดับเลยสวนกับเศรษฐกิจค่าครองชีพปรับสูงขึ้น ทำให้รายรับและรายจ่ายไม่เกินความสมดุลอยากจะฝากรัฐบาลให้เร่งแก้ปัญหาโดยเร็ว
เปิดแถลงการณ์ชาวสวนยาง