ความคืบหน้าของการใช้ เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 ซึ่งนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าจะไม่ให้มีการทุจริตอย่างแน่นอน
วันที่ 9 มิ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงภายหลังการประชุม ครม. ถึงการใช้ง่าย เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 ว่า สิ่งที่หลายคนห่วงกังวล คือเรื่องงบฟื้นฟู 4 แสนล้านบาท ทุกคนจับตาดูตรงนี้อยู่ ยืนยันในฐานะหัวหน้ารัฐบาล จะดำเนินการให้โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้ ซึ่งได้กำชับไปกับ คณะรัฐมนตรีแล้ว ว่า งบประมาณจำนวนนี้ มีความสำคัญในการที่จะสานต่อ เศรษฐกิจของเราในไตรมาส 4 คือเดือน ก.ค. ถึง ก.ย. เพื่อส่งต่อไปยัง ไตรมาส 1 ของงบประมาณปี 2564 ทีกำลังจะเข้าสู่การพิจารณา สภาผู้แทนในลำดับต่อไป
"เงินจำนวนนี้ จะเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยว้องไปพิจารณาดำเนินการ เราจะตั้งกรอบ วงเงินกู้ 4 แสนล้านบาทนี้ จะใช้ในกิจการอะไรบ้าง ซึ่งการฟื้นฟูจะต้อง มีขั้นตอนในการดำเนินการ สิ่งสำคัญต้องตรงความต้องการของประชาชน กลุ่มผู้เดือดร้อน มากบ้างน้อยบ้างตามเหตุผลความจำเป็น ซึ่งคาดว่าจะสามาถดำเนินการได้ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค. เป็นต้นไป และช่วงนี้ป็นช่วงของการเตรียมการ"นายกฯ กล่าว
นายกฯ กล่าวต่อว่า หลักการสำคัญ เน้นกระตุ้นการบริโภค การท่องเที่ยว เพื่อให้กลไกตลาดสามารถกลับมาเดินได้ตามปกติ การช่วยเหลือเอสเอ็มอี ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อให้มีสภาพคล่องในการเดินหน้าธุรกิจ ช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจชุมชน การรักษาระดับการจ้างงาน และการช่วยเหลือบัณฑิตจบใหม่ให้มีงานทำ อันนี้ถือเป็นหลักการสำคัญ ซึ่งต้องดูกันอีกที ขณะนี้ คณะกรรมการกำลังพิจารณากันอยู่ว่ากรอบเงิน 400,000 ล้านบาทจะแบ่งเป็นกลุ่มใดบ้าง และได้ให้แนวทางไปว่า เราจะอนุมัติ เป็นระยะ ระยะไป ไม่ใช่อนุมัติทีเดียวทั้งหมดเพื่อ ที่จะมีการประเมิน ปรับแผน ซึ่งอาจจะทำเป็น 2 หรือ 3 ระยะ ใน 3 เดือน เพื่อให้เงินสามรรถหมุนเวียนส่งต่อไป ยังเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างแม้จริง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า หลักการสำคัญอีกอันคือ การใช้งบฟื้นฟูดังกล่าว ไม่ควรนำไปใช้ในโครงการที่เป็นการลงทุน หรือการพัฒนาภายใต้งบปกติ ซึ่งเป็นโครงการระยะยาว และอยู่ในแผนงานงบประมาณประจำปีอยู่แล้ว เพราะอันนี้เป็นเงินที่ได้มาด้วยความยากลำบาก คือต้องกู้เข้ามา แต่ในส่วนงบประมาณก็ถือเป็นอีกส่วนหนึ่ง วันนี้ต้องเดินหน้าทั้งการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2563 และ 2564 สำหรับงบฟื้นฟู เป็นส่วนที่จะทำให้เกิดสภาพคล่อง ทำให้ประชาชนไม่เดือดร้อน หรือกิจการต้องล้มละลาย ล้มเลิกไป เพราะจะทำให้เกิดปัญหาการจ้างงาน วันนี้ เราพยายามทำทุกมิติ ในส่วนแรกคือการใช้มาตรการทางการเงิน การคลัง การลดภาษี ลดค่าใช้จ่าย การยืดระยะเวลา อะไรทำนองนี้ ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว และอีกเรื่องคือการใช้งบประมาณลงไปสู่ประชาชนทุกกลุ่ม
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
อัพเดท "พรก.เงินกู้" และ งบประมาณ กู้วิกฤติโควิด-19
ธ.ก.ส.ออกสินเชื่อฟื้นฟูสร้างอาชีพให้ภาคเกษตรวงเงิน 1.7 แสนลบ.
เมื่อถามว่า โครงการหรือกิจกรรมเยียวยาที่จะเกิดภายใต้ เงินกู้ 4 แสนล้านบาท จะมีแนวทางให้ภาคประชาชน จังหวัดต่างๆหรือภาคต่างๆ เสนอ โครงการหรือกิจกรรมมาหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ต้องผ่านกลไก คณะกรรมการบริหารในส่วนของจังหวัดขึ้นมา มีขั้นตอนการมีส่วนรร่วมของประชาชนในพื้นที่อยู่แล้ว จากกำนันผู้ใหญ่บ้าน มาถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าคณะกรรมการจังหวัด เสนอมาถึงคณะกรรมการคัดกรองข้างบน ซึ่งจะมีอนุกรรมการ คณะกรรมการคัดกรองแล้วเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติงบประมาณต่อไป ซึ่งวันนี้มีระบบการให้ข้อมูลว่าโครงการที่จะใช้งบประมาณฟื้นฟูดังกล่าวอยู่ที่ใดบ้าง ทุกคนสามารรถเข้ามาเปิดดูได้ว่า ทำได้จริงหรือไม่ และทำได้ดีหรือเปล่า ถ้าไม่ดีก็ต้องหามาตรการลงโทษ
เมื่อถามว่า ได้ตั้งเงื่อนเวลาหรือไม่ สำหรับโครงการที่จะเกิดภายใต้เงินกู้ 4แสนล้านบาท จะต้องส่งเข้ามาภายในระยะเวลาเท่าไร นายกฯ กล่าวว่า ทุกอย่างจะเริ่มเป็นรูปร่างและสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่เดือน ก.ค. อย่าให้มันยืดไปเรื่อยและจะไม่ทันเวลา จึงตั้งไว้ว่าต้นเดือน ก.ค. ต้องทยอยเสนองวดที่ 1 ของแต่ละกิจกรรมเข้ามา ทุกคนต้องปฏิบัติตามนี้
“ขอให้มั่นใจว่า ในกรอบนโยบายนายกรัฐมนตรี ผมในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ผมป้องกันการทุจริตอย่างเด็ดขาด เพราะฉะนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้โดยทันที ทั้งการตีรวจสอบภายในและภายนอก องค์กรอิสระสามารถตรวจสอบได้โดยทันที ฉะนั้น ทุกคนต้องให้ความสำคัญกับเรือ่งเหล่านี้ ไม่ให้มันกลับมาที่เก่า ไม่อย่างนั้นต้องหาวิธีการและแนวทางการปฏิบัติที่ดี ข้อสำคัญคือประชาชนต้องมีสว่นร่วม โดย ให้ประชาชนเสนอความต้องการ ขึ้นมา และส่วนราชการต้องไปพิจารณา ร่วม เพื่อให้ตรงกับความต้องการของประชาชน ไม่เช่นนั้น ถ้าทำออกมาไม่ตรงก็จะกลายเป็นปัญหา และทำให้ตรวจสอบยาก” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว