นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุโซนร้อน นูรี” ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2563เตือนฉบับที่ 3 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2563 เมื่อเวลา 22.00 น. ของวันนี้ (12 มิถุนายน 2563) ระบุว่า
พายุดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็น พายุโซนร้อน“นูรี” แล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 17.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 117.0 องศาตะวันออก กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กม/ชม มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กม/ชม คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 13-14 มิถุนายน 2563 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 13-16 มิถุนายน 2563 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก มีดังนี้
วันที่ 13 มิถุนายน 2563
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร และอุบลราชธานี
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
ในช่วงวันที่ 14 - 15 มิถุนายน 2563
ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต
วันที่ 16 มิถุนายน 2563
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม
ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม
ภาคตะวันออก: จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และพังงา
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยาหรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง