แหล่งข่าวจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า วันที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 9.00 น.รฟม.นัดประชุมด่วนคณะกรรมการ คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน มาตรา 39 แห่งพระราชบัญบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมทุนฯ 2562 เพื่อตอบคำถามกรณี บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ซื้อซองประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม( บางขุนนนท์-มีนบุรี ) มูลค่า 1.4แสนล้านบาท รูปแบบ PPP Net Cost (งานโยธาและงานระบบ รวมสัญญา 30 ปี) หลังจากมีหนังสือร้องผ่านไปที่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ว่า “การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้างแบบปกติ แต่เป็นการคัดเลือก เอกชนร่วมลงทุนรัฐ ซึ่งมูลค่า ที่เอกชนจะขอสนับสนุน ส่วนงาน และ แบ่งผลประโยชน์ให้รัฐจะต้องมีความสัมพันธ์กับวิธีการ แผนงาน คุณภาพ และ ประสิทธิภาพ ของงานที่เอกชนจะดำเนินการให้แก่รัฐ ดังนั้น รัฐไม่ควร พิจารณา ให้ผู้ชนะการคัดเลือก เป็นผู้ที่เสนอผลประโยชน์ ทางการเงินสูง สุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุด แก่รัฐในภาพร่วมที่จะทำให้โครงการ ของรัฐประสบความสำเร็จ ได้ โดยพิจารณาถึงปัจจัยผลประโยชน์ ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง “
อย่างไรก็ตามโดยสรุป บมจ.อิตาเลียน ไทย ต้องการให้ รฟม. นำซองเทคนิกกับราคา รวมอยู่ในซองเดียวกัน โดยไม่ควรตัดสินที่ ราคาเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ก่อนหน้านี้ ได้เคยมี ข้อเสนอ ในลักษณะนี้ แต่ รฟม.มองว่า ผิดหลักการและเงื่อนไข ที่เคย ดำเนินโครงการมา
ด้านแหล่งข่าวจาก วงการรับเหมา ยืนยันว่า อาจมีการ ฮั้ว การเปลี่ยนเงื่อนไขทีโออาร์ จริง เนื่องจาก คณะกรรมการ คัดเลือก ฯตามมาตรา 36 เสียงส่วนใหญ่ มีการเอนเอียงไปตามข้อเรียกร้องของ บมจ.อิตาเลียนไทย
ทั้งนี้ นาย ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ยืนยันว่า เป็นการประชุม ตอบคำถาม ของภาคเอกชน ที่ร้องเรียนมา แต่ เงื่อนไขทีโออาร์ ยังคงเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง สำหรับเอกชน ที่สนใจซื้อ ซอง ประกวดราคา
สำหรับเอกชนที่สนใจซื้อเอกชน (Request for Proposal Documents : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซี่งประกอบด้วย ส่วนงานโยธา ช่วงตะวันตก และส่วนงานเดินรถ ทั้งระบบ สายสีส้ม ระหว่างวันที่ 10 -24กรกฎาคม มีจำนวน 10 รายได้แก่
1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด
10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด