กลายเป็นประเด็นร้อน สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์ –มีนบุรี ) ระยะทางรวม 35.9กิโลเมตร ซึ่ง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost โดยเอกชนรายเดียว อายุสัญญา 30ปี มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท แยกเป็น งานโยธาส่วน สายสีส้มตะวันตก ( บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม ) ระยะทาง 13กิโลเมตร และ งานระบบเดินรถ สายสีส้มทั้งระบบ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา นายประดิน อรุโณทอง ตัวแทนผู้มีอํานาจ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) ส่งหนังสือถึง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ สคร. ส่ง เรื่อง ถึงรฟม . และ นัดประชุม คณะกรรมการ คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนรัฐ ตามมาตรา 36 (แห่งพระราชบัญญัติ ร่วมทุน ปี 62 ) โดยระบุว่า “การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการนี้ไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้างที่ดําเนินการตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง ปกติ แต่เป็นการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนกับรัฐ ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 มูลค่าของการลงทุนงานโยธาที่เอกชนจะขอสนับสนุน และผลประโยชน์ที่เอกชนต้องแบ่งให้รัฐ จากการให้บริการเดินรถ จะมีความสัมพันธ์กับ วิธีการ แผนงาน คุณภาพและประสิทธิภาพของงานที่เอกชนจะ ดําเนินการให้แก่รัฐ
ดังนั้นจึงไม่ควรพิจารณาให้ผู้ชนะการคัดเลือกเป็นผู้ที่เสนอผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวมที่จะทําให้โครงการประสบความสําเร็จได้ โดยพิจารณา ถึงปัจจัยและผลประโยชน์ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อเสนอด้านเทคนิคการดําเนินงาน ความน่าเชื่อถือ ศักยภาพและ ความสามารถของผู้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกเอกชนตามประกาศ คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสาร สําหรับการคัดเลือกเอกชนและสาระสําคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 ข้อ 4 (8) ที่กําหนดให้ ระบุหลักเกณฑ์ และวิธีการในการตัดสินให้ชัดเจนเป็นคะแนนในด้านต่างๆ โดยข้อเสนอผลประโยชน์ที่รัฐ จะได้รับและ การขอสนับสนุนทางการเงินเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะต้องระบุให้ชัดเจนเป็นคะแนน รายละเอียดตามที่อ้างถึง 2)
ทั้งนี้ เพื่อให้การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เป็นประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ สามารถ ประสบความสําเร็จเปิดให้บริการแก่สาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การคัดเลือก ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 บริษัทฯใคร่ ขอให้สํานักงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในฐานะหน่วยงานที่มีอํานาจดูแลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2552 ได้โปรดมอบหมายให้คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนพิจารณา ปรับปรุงการประเมินข้อเสนอเพื่อหาผู้ชนะการคัดเลือกให้มีความเหมาะสม ชัดเจน ครบถ้วน และถูกต้องตาม กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดําเนินการ และแจ้งผลให้บริษัทฯทราบด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง