“ITD” อ้าง รถไฟฟ้า“สายสีส้ม” เทคนิคขั้นสูง ทีโออาร์ อย่ายึดราคาประมูล

20 ส.ค. 2563 | 14:18 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ส.ค. 2563 | 03:42 น.

"อิตาเลียนไทย" อ้าง งานโยธา รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ต้องขุดเจาะอุโมงค์ -สร้างสถานีในพื้นที่ชุมชน กทม. ผ่านพื้นที่ เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน พื้นที่อนุรักษ์ที่มีโบราณสถาน สถานที่สําคัญหลายแห่ง รวมทั้งต้อง ขุดอุโมงค์ลอดเจ้าพระยา จะต้องใช้เทคนิคชั้นสูง

 

 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) (ITD) มอบ นายประดิน อรุโณทอง ตัวแทนผู้มีอํานาจ บริษัท ฯยื่นหนังสือถึง ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)   วันที่ 7 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา  กรณี  การประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)   อ้างถึง   ประกาศเชิญชวนให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศ เชิญชวน ร่างเอกสารสําหรับการคัดเลือกเอกชนและสาระสําคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 โดย อิตาเลียนไทย เสนอแนะว่า  ในข้อแนะนํา ผู้ยื่นข้อเสนอ ข้อ 33 การประเมินและการเปรียบเทียบข้อเสนอ ระบุให้ ผู้ยื่นข้อเสนอที่มี NPV ของ”ผลประโยชน์สุทธิ สูงที่สุดจะได้รับการประเมินให้เป็นผู้ชนะ” 

 

 

 

ควร พิจารณา องค์ประกอบอื่นเช่นความชำนาญ ด้านก่อสร้างเป็นต้น  ทั้งนี้ เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เป็นโครงการร่วมลงทุนขนาดใหญ่ระหว่างรัฐและเอกชนที่เอกชน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบออกแบบและก่อสร้างงานโยธา ลงทุนจัดหาระบบรถไฟฟ้า และให้บริการรถไฟฟ้า แก่สาธารณชนเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี และเป็นโครงการที่มีความเสี่ยงสูงมาก ในการก่อสร้างงานโยธาฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินทั้งสายที่ต้องขุดเจาะอุโมงค์ และสถานีในพื้นที่ชุมชนของกรุงเทพมหานคร ผ่านพื้นที่ เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีโบราณสถาน และสถานที่สําคัญหลายแห่ง และขุดเจาะอุโมงค์ลอด แม่น้ําเจ้าพระยา จะต้องใช้เทคนิคการออกแบบทางวิศวกรรมและวิธีการก่อสร้างชั้นสูงเพื่อลดผลกระทบ ที่มีต่อประชาชนในด้านต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม จราจร ชีวอนามัย และที่สําคัญคือไม่ทําให้เกิดอันตรายต่อประชาชน และพื้นที่ข้างเคียง และในการให้บริการเดินรถ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินเกือบทั้งสาย จะต้องมีการจัดหาระบบรถไฟฟ้า ที่มีคุณภาพสูง และบริหารจัดการเดินรถด้วยเทคนิคชั้นสูงตามมาตรฐานสากล เพื่อทําให้การบริการรถไฟฟ้า แก่สาธารณชนมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูงสุด เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ หรือปัญหาระหว่างการเดินรถ จะมีผลกระทบและเป็นอันตรายต่อประชาชนอย่างมาก นอกจากนี้ทรัพย์สินที่เอกชนลงทุนจัดหาทั้งในส่วนงานโยธา และระบบรถไฟฟ้า จะต้องส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐด้วย
 

 

อย่างไรก็ตาม ในแวดวงผู้รับเหมา มองว่า  ข้อเสนอดังกล่าว ต้องการ เปลี่ยนเงื่อนไขทีโออาร์ เพื่อ กลุ่มตนเองหรือไม่ ที่ถนัดงานใต้ดิน  และ ที่ผ่านมา รฟม.ได้ กำหนดเงื่อนไข ชัดเจน  1.ซองคุณสมบัติ 2.ซองเทคนิก 3. ซองราคา 4. ข้อเสนอพิเศษ หากใครให้ข้อเสนอผลตอบแทนรัฐดีที่สุด เอกชนรายนั้นได้ไป แต่ทั้งนี้ต้องจับตาวันที่21 สิงหาคม ว่าผลการประชุมคณะกรรมการ คัดเลือก ตามมาตรา36  ของรฟม. จะออกมาอย่างไร