นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าโครงการประกันรายได้เกษตรกรและมาตรการคู่ขนาน 5 สินค้า หรือ ประกันรายได้ปีที่ 2 ปีการผลิต 2563/64) ของรัฐบาลเป็นการเดินหน้าความร่วมมือของกระทรวงพาณิชย์กระทรวงเกษตรและธกส.โดยโครงการประกันรายได้เกษตรกรปีที่ 2 ปีการผลิต 2563/64 ครอบคลุมจำนวนเกษตรกร 7.67 ล้านครัวเรือน วงเงินรวม 75,017.66 ล้านบาท
ในจำนวนนี้เป็นวงเงินชดเชยส่วนต่าง 71,844.05 ล้านบาท ที่เหลือเป็นค่าบริหารจัดการ ครอบคลุมพืชเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ยาง ข้าว มันสาปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมันสาปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. แล้ว
สำหรับความคืบหน้าโครงการประกันรายได้พืช5ชนิดประกอบด้วย1. โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี2563/64 ความคืบหน้า คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) เห็นชอบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. และ 17 ก.ค. 63 วงเงิน 23,495.71 ล้านบาท อยู่ระหว่างคณะรัฐมนตรีพิจารณา ราคาและปริมาณสาหรับการประกันรายได้ ส่วนชนิดข้าว คือ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ข้าวเปลือกเหนียวราคาประกันรายได้ (บาท/ตัน) ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15% ไม่เกินครัวเรือนละ 40 ไร่ เกษตรกรผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯ จานวนประมาณ 4.5 ล้านครัวเรือน
โดยต้องขึ้นทะเบียน กับกรมส่งเสริมการเกษตร ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 63 การจ่ายเงินชดเชยส่วนต่าง ตามวันเก็บเกี่ยวที่ระบุในทะเบียนเกษตรกร โดยใช้ราคาอ้างอิงตาม ประกาศคณะอนุกรรมการกาหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงฯ ทุกวันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์ และ ธ.ก.ส. โอนเงินเข้าบัญชี เกษตรกร ภายใน 3 วัน นับแต่วันประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิง
ส่วนมาตรการคู่ขนาน คือ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ระยะเวลา 1 – 5 เดือน เป้าหมาย 1.5 ล้าน ตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 15,284 ล้านบาท รัฐชดเชยดอกร้อยละ 2.25 วงเงินจ่ายขาดค่าฝากเก็บฯ 2,250.00 ล้านบาท (ตันละ 1,500 บาท) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน
โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 สถาบันเกษตรกรรับภาระร้อยละ 1 โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โรงสีรับซื้อข้าวจาก เกษตรกรเพื่อเก็บสต็อก ระยะเวลา 2 – 6 เดือน เป้าหมาย 4 ล้านตัน รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการ ผลิต 2563/2564 ไร่ละ 1,500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ วงเงิน 54,828.08 ล้านบาท
2. โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ามัน ปี 2563/64 ความคืบหน้า กนป. มีมติเมื่อ 19 ส.ค. 63 เห็นชอบโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2564 ระยะเวลา ดาเนินการ ม.ค. 64 - ก.ย. 64 วงเงิน 8,807.54 ล้านบาท (อยู่ระหว่างคณะรัฐมนตรีพิจารณา) ราคาและปริมาณสาหรับการประกันรายได้ ผลปาล์มทลาย (18%) กก.ละ 4 บาท ครัวเรือนละ ไม่เกิน 25 ไร่
เกษตรกรผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯ จานวนประมาณ 3.7 แสนครัวเรือน ที่ขึ้นทะเบียนกับกรม ส่งเสริมการเกษตร และต้องเป็นพื้นที่ปลูกที่ให้ผลผลิตแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี การจ่ายเงินชดเชยส่วนต่าง จ่ายเงินทุก 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 2564 ถึง 15 ก.ย. 2564 โดย ใช้ราคาอ้างอิงตามประกาศคณะอนุกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ามัน ปี 2563 – 2564
มาตรการคู่ขนาน คือ การปรับสมดุลน้ามันปาล์มในประเทศ กฟผ.รับซื้อ CPO ไปผลิตไฟฟ้า 360,000 ตัน ส่งมอบครบแล้ว และสำรอง 100,000 ตัน (ยังไม่ส่งมอบ) ส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล โดยกาหนดให้ B10 เป็นน้ามันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา และให้ B7 และ B20 เป็นทางเลือก โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 63 เป็นต้นไป ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณ CPO ที่ถังเก็บน้ามันปาล์มดิบ งบประมาณ 372.516 ล้านบาท การบริหารการนาเข้าโดย
(1) กาหนดด่านศุลกากร(การนาเข้าปกติ) : นาเข้าได้เฉพาะด่าน มาบตาพุด กรุงเทพ และแหลมฉบัง (2) กาหนดด่านนาผ่าน : นาผ่านต้นทางที่ด่านกรุงเทพเพียงด่านเดียว สาหรับ ด่านปลายทางกาหนดไว้ 3 ด่าน ได้แก่ ด่านจันทบุรี (ไปกัมพูชา) ด่านหนองคาย (ไป สปป.ลาว) และด่านแม่สอด (ไปเมียนมา) นโยบายปาล์มยั่งยืน จัดทาร่าง พรบ.ปาล์มน้ามันและน้ามันปาล์ม พ.ศ. .... โดย กษ.
3.โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสาปะหลัง ปี 2563/64ความคืบหน้า ครม. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่18 ส.ค. 63 วงเงิน 9,788,933,798.40 บาท ระยะเวลาโครงการ 1 พ.ย. 63 – 31 พ.ค. 65 ราคาและปริมาณสาหรับประกันรายได้ หัวมันสดเชื้อแป้ง 25% กก.ละ 2.50 บาท ไม่เกิน ครัวเรือนละ 100 ตัน เกษตรกรผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ จานวนประมาณ 5.2 แสนครัวเรือน ที่ขึ้นทะเบียนกับกรม ส่งเสริมการเกษตร ตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564
รวมทั้งต้องเป็นเกษตรกรผู้ผลิตมันสาปะหลัง ด้วยตนเองและกรรมสิทธิ์เป็นของเกษตรกร และแจ้งระยะเวลาเก็บเกี่ยว นับจากวันเพาะปลูกไม่น้อยกว่า 8 เดือน การจ่ายเงินชดเชยส่วนต่าง จ่ายเงินชดเชยตั้งแต่ 1 ธ.ค. 63 – 30 พ.ย. 64 โดยใช้ราคาอ้างอิงที่ ประกาศทุกๆ 1 เดือน และ ธ.ก.ส. โอนเงินชดเชยส่วนต่างเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ภายใน 3 วันทาการหลังการ ประกาศราคาอ้างอิง