นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า สำหรับในปีงบประมาณ 2564 ได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 48,789.8421 ล้านบาท ซึ่งเป็นการดำเนินการตามภารกิจและนโยบายของรัฐบาล ได้แก่ ถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางหรือคอนกรีตถนนเพื่อการแก้ไขปัญหาจราจรในปริมณฑลและภูมิภาค,ถนนในเขตผังเมืองรวม, ถนนสนับสนุนการท่องเที่ยว, ถนนเพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้, ถนนเพื่อเชื่อมต่อระบบขนส่ง, ถนนเพื่อสนับสนุนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC และเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน โดยมีการก่อสร้างจากถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางหรือคอนกรีต จำนวน 365 โครงการ ระยะทาง 834.620 กิโลเมตร สะพานคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วประเทศ จำนวน 222 โครงการความยาวรวม 18,517 เมตร ตลอดจนงานซ่อมบำรุงโครงข่ายทางหลวงชนบททั่วประเทศและอำนวยความปลอดภัยทางหลวงชนบท เป็นต้น
“ขณะนี้ทางทช.อยู่ระหว่างจัดทำเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) กว่า 5,000 สัญญา ในช่วงแรกของปีงบประมาณ 2564 นโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เร่งรัดให้ ทช.ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างทั้งโครงการงบปีเดียวและโครงการงบผูกพันข้ามปี และลงนามสัญญาแต่ละโครงการแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.2563 หลังจากนั้นแต่ละโครงการจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือน มี.ค.2564”
ขณะเดียวกันโครงการสำคัญในปีงบประมาณ 2564 เช่น โครงการขยายถนนราชพฤกษ์ จ.นนทบุรี ระยะทาง 6.800 กิโลเมตร งบประมาณ 903 ล้านบาท, ถนนสายแยก ทล.3452 – สี่แยกบ้านสร้าง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี (ตอนที่ 1) ระยะทาง 7.200 กิโลเมตร งบประมาณ 900 ล้านบาท, ถนนสายแยก ทล.3452 - สี่แยกบ้านสร้าง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี (ตอนที่ 2) ระยะทาง 18.456 กิโลเมตร งบประมาณ 900 ล้านบาท, ถนนสาย สป.4002 แยก ทล.3344 – บ้านบางพลีใหญ่ อ.เมือง,บางพลี จ.สมุทรปราการ ระยะทาง 8.192 กิโลเมตร งบประมาณ 793.400 ล้านบาท, ถนนสายแยก ทล.1020 – บ้านกิ่วแก้ว อ.เทิง,จุน จ.เชียงราย,พะเยา ระยะทาง 43.709 กิโลเมตร งบประมาณ 1,200 ล้านบาท, ถนนสาย มห.3019 แยก ทล.212 – บ้านบางทรายใหญ่ อ.เมือง จ.มุกดาหาร ระยะทาง 14.211 กิโลเมตร งบประมาณ 804.330 ล้านบาท, ถนนสาย ข1 ผังเมืองรวมเมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ ระยะทาง 1.925 กิโลเมตร งบประมาณ 158.100 ล้านบาท, ถนนสาย ข9 ค3 ผังเมืองรวมชุมชนโคกกลอย – ท้ายเหมืองจ.พังงา ระยะทาง 4.229 กิโลเมตร งบประมาณ 330 ล้านบาท ฯลฯ รวมทั้ง การใช้ยางพาราเป็นส่วนผสมในอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายปฐม กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน ทช.มีถนนโครงข่ายในความรับผิดชอบทั่วประเทศ จำนวน 3,267 สายทาง ระยะทางรวม 47,960 กิโลเมตร โดยในปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา ทช.ได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 45,138.6288 ล้านบาท สิ้นปีงบประมาณ 2563 เบิกจ่ายไปแล้ว จำนวน 37,426.4840 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 82.91 ซึ่งในปีงบประมาณ 2563มีโครงการที่ ทช.ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ อาทิ ถนนทางหลวงชนบทสาย นย.3001 แยก ทล.305 – บ้านบางน้ำเปรี้ยวจ.นครนายก, ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 32.975 กิโลเมตร ใช้งบประมาณรวม 2,116.695 ล้านบาท, ถนนทางหลวงชนบทสาย รย.4058 แยก ทล.3138 – ทล.344 อ.บ้านค่าย, วังจันทร์ จ.ระยอง ระยะทาง 32.807 กิโลเมตร ใช้งบประมาณรวม 159.948 ล้านบาท,ถนนสาย จ1 และจ2 ผังเมืองรวมเมืองพะเยา และสาย ค ผังเมืองรวมชุมชน มหาวิทยาลัยพะเยา และถนนส่วนต่อเชื่อมทางเลี่ยงเมืองจ.พะเยา ระยะทาง 8.899 กิโลเมตร ใช้งบประมาณรวม 473.811 ล้านบาท, ถนนสาย ค ผังเมืองรวมเมืองนครสวรรค์ (บริเวณถนนมหาเทพ) จ.นครสวรรค์ ระยะทางรวม 1.855 กิโลเมตร ใช้งบประมาณรวม 93.700 ล้านบาท, สะพานข้ามทางรถไฟ จุดตัดทางรถไฟกับถนนทางหลวงชนบทสาย ปข.1014 แยก ทล.4 - บ้านเขาแดง อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ใช้งบประมาณรวม 162.442 ล้านบาทและสะพานข้ามทางรถไฟ จุดตัดทางรถไฟกับถนนสาย พบ.1016 แยก ทล. 4 – บ้านปึกเตียน ต.หนองจอก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ใช้งบประมาณรวม 135.568 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีโครงการสำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น โครงการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้ ถนนทางหลวงชนบทสาย ชพ.4012 แยก ทล.4198 – เทศบาลปากน้ำหลังสวน อ.ทุ่งตะโก, หลังสวน จ.ชุมพร ระยะทาง 23.589 กิโลเมตร ใช้งบประมาณรวม 195.478 ล้านบาท, ถนนทางหลวงชนบทสาย ชพ.4008 แยก ทล.4001 – บ้านโพธิ์แบะ อ.เมือง จ.ชุมพร ระยะทางรวม 24.569 กิโลเมตร ใช้งบประมาณรวม 180.780 ล้านบาท โดยทั้งสองโครงการ คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2564 รวมทั้ง โครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทล.7 – ท่าเรือแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ระยะทางรวม 10.570 กิโลเมตร ใช้งบประมาณรวม 1,499.2550 ล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2564, โครงการก่อสร้างถนนทางหลวงชนบทสาย ฉช.3001 แยก ทล.314 – ลาดกระบัง จ.ฉะเชิงเทรา, กรุงเทพมหานคร ระยะทาง 20.329 กิโลเมตร ใช้งบประมาณรวม 3,712.8090 ล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ประมาณปลายปี 2563 นี้ เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนต่อไป
อย่างไรก็ตามทล. และทช.ได้กำหนดแผนการดำเนินโครงการ ในปีงบประมาณ 2563-2565 มีเป้าหมายการผลิต RFB ระยะทาง 12,282.74 กิโลเมตร และ RGP จำนวน 1,063,651 ต้น โดยมีปริมาณการใช้ยางพาราจำนวน 1,007,951 ตัน ซึ่งผลประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับมากถึงร้อยละ 70-80 คิดเป็นผลตอบแทนที่ได้รับ 30,108 ล้านบาท และจะมีการตรวจสอบเพื่อทดแทนการเสื่อมสภาพ หรือมีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ดังกล่าว ซึ่งต้องใช้ยางพาราในทุกปี ปีละไม่น้อยกว่า 336,000 ตันโดยกระทรวงคมนาคมได้ลงพื้นที่ เพื่อทำพิธีเปิดโครงการนำร่องดังกล่าวฯ ซึ่งได้ดำเนินการแล้ว ณ จังหวัดจันทบุรี สตูล นครพนม บึงกาฬ เลย และอุทัยธานี
อ่านข่าว งบรายจ่ายปี 64 สะดุดใช้ไม่ทัน 1 ต.ค.นี้ โครงการลงทุนใหม่สะเทือน
อ่านข่าว งบปี 64 สะดุด! ไม่กระทบ เมกะโปรเจ็กต์
อ่านข่าว ผ่างบปี 64 ยุทธศาสตร์ชาติด้านไหน "รุ่ง-ร่วง"
อ่านข่าว เช็กที่นี่ "งบ64" 10 กระทรวงไหน ได้งบ “มากสุด-น้อยสุด”