2 พฤศจิกายน 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 419) พ.ศ. 2563ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 3) โดยโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาหารที่มีสารพิษตกค้าง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา5 วรรคหนึ่ง และมาตรา6 (2) (3) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคาว่า “วัตถุอันตรายชนิดที่4” ในข้อ 3 ของประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387พ.ศ. 2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “วัตถุอันตรายชนิดที่ 4” หมายความว่า วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือการมีไว้ในครอบครอง โดยเป็นไปตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ.2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 อาหารที่มีสารพิษตกค้างต้องมีมาตรฐาน โดยตรวจไม่พบวัตถุอันตรายทางการเกษตร ชนิดที่4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ตามบัญชีหมายเลข1 แนบท้ายประกาศนี้ เว้นแต่วัตถุอันตรายทางการเกษตรชนิดอื่นให้เป็น ดังนี้
(1) ตรวจพบปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit; MRL) ได้ไม่เกินที่กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ (2) ตรวจพบปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit; MRL) ที่ไม่ได้ กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ ได้ไม่เกินข้อกาหนดของคณะกรรมาธิการของโครงการมาตรฐานอาหาร เอฟ เอ โอ/ดับบลิว เอช โอ (Codex Alimentarius Commission,Joint FAO/WHO Food Standards Programme)
(3) กรณีนอกเหนือจาก (1) และ (2) ตรวจพบดีฟอลต์ลิมิต (default limit) สำหรับพืชและสัตว์ได้ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมสารพิษตกค้างต่อกิโลกรัมอาหาร เว้นแต่ค่าดีฟอลต์ลิมิต (default limit)สาหรับพืช ที่กาหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 3 แนบท้ายประกาศนี้ (4) ตรวจพบปริมาณสารพิษสูงสุดที่ปนเปื้อนจากสาเหตุที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (Extraneous Maximum Residue Limit, EMRL) ได้ไม่เกินที่กาหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 4 แนบท้ายประกาศนี้”
ข้อ 3ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นลำดับที่83 ถึงลาดับที่87ในบัญชีหมายเลข1 วัตถุอันตรายชนิดที่4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ. 2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกคาง ดังนี้
83. คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos)
84. คลอร์ไพริฟอส-เมทิล (chlorpyrifos-methyl)
85. พาราควอต (paraquat)
86. พาราควอตไดคลอไรด์ (paraquat dichloride)
87. พาราควอต [บิส (เมทิลซัลเฟต)] {paraquat [bis (methyl sulfate)]} หรือ พาราควอตเมโทซัลเฟต (paraquat methosulfate)
ข้อ4 ให้ยกเลิกลำดับที่1 คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) และลำดับที่23 พาราควอต (paraquat) ในบัญชีหมายเลข ๒ ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit, MRL) แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่387 พ.ศ. 2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้างลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ข้อ 5 ให้ยกเลิกบัญชีหมายเลข 5 วิธีการตรวจวิเคราะห์ทางวิชาการสารพิษตกค้าง ในอาหารที่เกิดจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ. 2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้บัญชี หมายเลข 5 แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563
อนุทิน ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ค้าน รัฐผ่อนปรนอาหารนำเข้าให้ปนเปื้อน “พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส”
“มนัญญา” ลั่นจุดยืนสินค้าปนเปื้อน 2 สารห้ามเข้าประเทศ
เฮลั่น อย.ผ่อนปรนให้นำเข้าตามค่าโคเด็กซ์ ถึง มิ.ย.64
ไฟเขียวร่างกฎหมายสารพิษตกค้าง “พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส
วิพากษ์ ไทยแบน “พาราควอต” แต่ให้นำเข้าตกค้างได้
โวย 2 มาตรฐาน หลังแบน “พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส”