อธิบดีกรมปศุสัตว์ สั่งคุมเข้มเต็มพิกัด “ไข้หวัดนก” สายพันธุ์ใหม่ "H5N8" ลามไทย

21 ม.ค. 2564 | 12:00 น.

กรมปศุสัตว์ ขอความร่วมมือ 77 ผวจ. คุมเข้มป้องกันไข้หวัดนกสายพันธ์ใหม่  "H5N8"  ลามไทย มีฝูงนกป่าเป็นพาหะ ทำให้ประเทศต่างๆ ที่อยู่ในเส้นทางการบิน มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ

 

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต

 

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า   เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ในเอเชียกำลังเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกไวรัส H5N8  เป็นไวรัสที่ร้ายแรงถึงชีวิตนี้ส่งผลกระทบต่อฟาร์มจากญี่ปุ่นไปจนถึงอินเดีย เกาหลีใต้และญี่ปุ่นสังฆ่าไก่มากกว่า 20 ล้านตัวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ก่อให้เกิดโรคระบาดร้ายแรงเข้าไปถึงอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตอันดับ 6 ของโลกและมีรายงานไข้หวัดนกแล้วใน 10 รัฐ

 

แม้ว่าไข้หวัดนกจะพบเห็นได้ในเอเชียในช่วงเวลานี้ของปีเนื่องจากรูปแบบการอพยพย้ายถิ่นฐานของฝูงนก แต่ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่มีฝูงนกป่าเป็นพาหะนี้มีความร้ายแรงมากขึ้น ทำให้ประเทศต่างๆ ที่อยู่ในเส้นทางการบินของฝูงนกมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ

 

นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่า ทางองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OE) รายงานพบการระบาดของโรคไข้หวัดนก Highly pathogenic avian infuenza (H5N6) ในประเทศเวียดนามจำนวน 3  จุด ในฟาร์มสัตว์ปีก เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563  และเมื่อวันที่ 8  มกรคม 2564 ได้มีสำนักข่าว Xnhua รายงานพบการระบาดของไข้หวัดนกใน ๖ รัฐของประเทศอินเดีย ได้แก่ รัฐกรละ รัฐราชสถาน รัฐมัธยประเทศ รัฐหิมาจัลประเทศ รัฐหรยาณา และ รัฐคุชราต 

 

 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2564 ได้มีสื่อรายงานพบไก่ในฟาร์มหลายพันตัวตายโดยไม่ทราบ สาเหตุที่อำเภอเอกพนม จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดยไก่ดังกล่าวเริ่มตายตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2564 (https:/ vov.vn/the-gioi/campuchia-ga-chet-hang-loat-khong-ro-nguyen-nhan-829657.)

 

 

กอปรกับในปัจจุบันประเทศไทยมีสภาพอกาศที่แปรปรวน ในบางพื้นที่มีอกาศหนาวเย็น ในบางพื้นที่มีฝนตก จากสภาพอากาศดังกล่าวอาจส่ผลต่อสุขภาพสัตว์ปีก ทำให้สัตว์ปีกอ่อนแอ ติดเชื้อโรคได้ง่ายดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันโดระบาดในสัตว์ปีก กรมปศุสัตว์จึงขอความร่วมมือแต่ละจังหวัดเข้มงวดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคในพื้นที่ ดังนี้

 

 

1.ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฝ้าระวังโรคทั้งเชิงรุกและเชิงรับโดยใช้เครือข่ายการเฝ้าระวังโรคในทุกพื้นที่ และรายงานสถานการณ์สัตว์ปีกป่วยตายทุกวัน ทั้งนี้ขอให้รายงานสัตว์ปีกป่วยตายตามความเป็นจริง หากตรวจพบว่าสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดรางานเป็นเห็จจะดำเนินการตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

 

 

2 เมื่อได้รับแจ้งหรือพบสัตว์คป่วยตายมีลักษณะอาการเหมือนนิยามโรคไข้หวัดนก ต้องเข้า ตรวจสอบและดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคทันที ดังนี้


 

 

รายงานการป่วยตายผิดปกติตามแบบฟอร์มเฝ้าระวังโรค (รก.๑) ทางอินเตอร์เน็ตทันที และรายงานการ "ควบคุมโรคสัตว์ปีกประจำสัปดาห์" (สคส.๑) อย่างต่อเนื่องจนครบ 21 วัน นับจากสัตว์ปีก ป่วยตายตัวสุดท้ายในหมู่บ้านที่เกิดโรค พร้อม เก็บตัวอย่างชาก 25 ตัว ส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจยืนยันทุกครั้ง ทั้งนี้ต้อง ดำเนินการภายใน 12  ชั่วโมง นับตั้งแต่ที่ได้รับแจ้ง

 

สั่งกักสัตว์ปีกในหมู่บ้านที่เกิดโรคหรือหมู่บ้านใกล้เคียงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจนกว่าสถานการณ์จะสงบ ถ้าเจอชากนกตายธรรมชาติให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทันที  ฉีดพ่นยฆ่าในบริเวณที่พบสัตว์ปีกป่วยตายรวมทั้งบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ให้ คำนึงถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อโรค

 

ทั้งการผสมยาฆ่าเชื้อในอัตราส่วนที่กำหนดและการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้ออย่างถูกต้องโดยพ่นให้เปียกชุ่ม เฝ้าระวังและค้นหาโรคเพิ่มเติม โดยในรัศมี 1 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรคจะต้องมีการตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้ลี้ยงสัตว์ปีกทุกราย โดยสอบถามอาการสัตว์ปีก (เคาะประตูบ้าน) โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีนก อพยพ และนกรรรมชาติอาศัยอยู่ หากพบสัตว์ปีกป่วยตายตามนิยามโรคไข้หวัดนกให้เก็บซากส่งตรวจทันที

 

หนังสือขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัด

หนังสือด่วนที่สุด

หนังสือ

 

หนังสือ

 

 

หนังสือขอความร่วมมือ กทม.

หนังสือถึง กทม.

 

 

 

หนังสือถึง "ปศุสัตว์เขต 1-9" 

 

หนังสือถึงปศุสัตว์เขต 1-9