"เฉลิมชัย” พลิกโฉมตะวันออก ขับเคลื่อน 5 ยุทธศาสตร์

17 มี.ค. 2564 | 09:50 น.

"อลงกรณ์” เผย รัฐมนตรีเกษตรฯ เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย 5 ยุทธศาสตร์ พลิกโฉมภาคตะวันออก เร่งวางโรดแม็ปเปิดประตูตะวันออกอินโดจีนสู่ตลาดโลก

อลงกรณ์พลบุตร

 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC)  ได้มอบนโยบายการขับเคลื่อนกระทรวงภายใต้กรอบ "5 ยุทธศาสตร์ เฉลิมชัย"  ประกอบด้วย 1.ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต 2. ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0  3.ยุทธศาสตร์“3’s” (Safety-Security-Sustainability-เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง และเกษตรยั่งยืน

 

4.ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะโมเดล “เกษตร-พาณิชย์ทันสมัย”  5.ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา  พร้อมกันนี้ได้แถลงถึงความก้าวหน้าของคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและตอบโจทย์ตลอดห่วงโซ่ของผลผลิตการเกษตร โดยขณะนี้ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร (Food & Agro industry promotion subcommittee) และคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

ระดับภาค 5 ภาค ภายใต้ 2 โครงการหลักคือ1 โครงการ 1กลุ่มจัวหวัด1นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารใน18กลุ่มจังหวัดเพื่อกระจายการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารเพิ่มการแปรรูปสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรครอบคลุมทุกจังหวัดทุกกลุ่มจังหวัดตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่และ2.โครงการเกษตรอัจฉริยะเกษตรแม่นยำ2ล้านไร่โดยใช้เทคโนโลยี่และเกษตรแปลงใหญ่เป็นแกนขับเคลื่อนร่วมกับกิจการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่(Big Brothers)

 

โดยในเขตกลุ่มจังหวัดนี้มีศักยภาพสูงมากในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรผลไม้ สมุนไพร ประมง พืชอนาคต กัญชงกัญชา เครื่องจักรกลเกษตรเป็นต้นโดยมีต้นแบบจากเขตอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปครบวงจรในจังหวัดชลบุรีและในเขตระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก(Eastern  Economic Corridor:EEC)พร้อมมอบหมายให้คณะ กรกอ.ภาคตะวันออกขับเคลื่อนโครงการสร้างนิคมอุตสาหกรรม เขตผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือเขตชุมชนอุตสาหกรรมนับเป็นเขตอุตสาหกรรมอาหารเป็นโซนที่9  ซึ่งAICจันทบุรีสนใจที่จะพัฒนาซิลิคอนวัลเลย์(SILICON VALLEY)ผลไม้ภายใต้คอนเซ็ปท์”มหานครผลไม้”ในรูปแบบเดียวกับที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดดำเนินการสร้าง SILICON VALEY แห่งเทคโนโลยีในแคลิฟอเนียสหรัฐอเมริกา

 

นายอลงกรณ์กล่าวว่าการพัฒนากลุ่มจังหวัดนี้จะต้องผนึกศักยภาพกับทาง EEC 3 จังหวัด +5 จังหวัดตามแผนพัฒนาเชื่อมโยงภาคการเกษตรโดยใช้ศักยภาพ การเป็นประตูเศรษฐกิจสู่ตลาดอินโดจีนได้แก่กัมพูชา ลาวและ เวียดนามที่มีตลาดรองรับ ด้วยประชากรกว่า 120 ล้านคนซึ่งอยู่ติดพรมแดนภาคตะวันออกคือจันทบุรี ตราดและสระแก้วพร้อมทั้งเชื่อมภาคตะวันออก-เชื่อมโลกด้วยเส้นทางโลจิสติกส์การขนส่งสินค้าไปทุกมณฑลในจีนและผ่านจีนสู่ภูมิภาคเอเซีย,ยุโรปและรัสเซียด้วยระบบราง

 

โดยผ่านด่านโมฮ่านเส้นทางไทย-ลาว-จีนและผ่านด่านผิงเสียงบนเส้นทางไทย-ลาว-เวียดนามซึ่งจะเป็นระบบการขนส่งใหม่รับมือมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดในประเทศที่ต้องขนส่งสินค้าผ่านและในประเทศคู่ค้า แนวทางทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของ””5ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตรกรรม”ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาภาคตะวันออกสู่มิติใหม่ๆอย่างเต็มรูปแบบ

 

ส่วนความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยี (AIC) สัญจร พื้นที่เขตตรวจราชการที่ 9  ใน5 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรีและ สระแก้ว โดยมี นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ผศ.ไวกูณฑ์ ทองอร่าม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผศ.ดร.วิชุดา จันทร์ข้างแรม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว นายชรัตน์ เนรัญชร ตัวแทน Young Smart Farmer ผลไม้ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ตัวแทนภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคเกษตรกร เข้าร่วมในการประชุมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีซึ่งมีนิทรรศการแสดงเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของศูนย์ AIC ทั้ง 5 จังหวัด ซึ่งจะได้นำไปพิจารณาต่อยอดและทำ Business matching การสนับสนุนทุนวิจัยและนำเข้าสู่ Innovation Catalog เพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรต่อไปโดยมีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและผลงานของ AIC ได้แก่

 1) ศูนย์ AIC จังหวัดจันทบุรี โดย ผศ.ดร.สินาด โกศลานันท์ ตำแหน่ง คณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผู้อำนวยการศูนย์ AIC จังหวัดจันทบุรี

 2) ศูนย์ AIC จังหวัดตราด โดย ดร.กรรณิกา สุภาภา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนตราด ประธานศูนย์ AIC ตราด

 3) ศูนย์ AIC จังหวัดนครนายก โดย ผศ.ดร.อรัญญา มิ่งเมือง ตำแหน่ง คณบดีคณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ AIC จังหวัดนครนายก

 4) ศูนย์ AIC จังหวัดปราจีนบุรี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่พระจอมเกล้าพระนครเหนือ)โดย นายสุรเทพ กิจกล้า ตำแหน่ง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปราจีนบุรี เลขาศูนย์ AIC จังหวัดปราจีนบุรี

 5) ศูนย์ AIC จังหวัดสระแก้ว โดย ดร.ประทีป อูปแก้ว มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ AIC สระแก้ว

 

นายอลงกรณ์ กล่าว ชื่นชมการดำเนินงานของศูนย์ AIC ทุกแห่งที่ได้พัฒนาและนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีเกษตรที่โดดเด่น เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาภาคการเกษตรในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาการผลิตอากาศยานไร้คนขับของศูนย์ AIC  จันทบุรีที่ผลิตขึ้นใช้เองภายในประเทศ(Made In Thailand)เพื่อใช้ในการเกษตรกรรมแม่นยำ (Precious Agriculture) และสนับสนุนการเป็น Silicon valley เมืองหลวงแห่งผลไม้ การแปรรูปผลไม้ของมหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก

 

โมเดลการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสู่ฟาร์มเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ของศูนย์AICนครนายก การพัฒนาระบบฟาร์มอัจฉริยะ(Smart Farming)ของวิทยาลัยชุมชนซึ่งเป็นศูนย์AICจังหวัดตราด การพัฒนาพันธุ์กุ้งก้ามกรามกุ้งขาวของมหาวิทยาลัยบูรพาตอบโจทย์ประมงเพาะเลี้ยงและอุตสาหกรรมอาหารการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “กัญซ่า” เครื่องดื่มแนวใหม่  (functional drink) จากกัญชาของศูนย์ AIC ปราจีนบุรี โดยประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาล เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ต่อไปเพื่อชูจุดเด่น  “ปราจีนบุรีเมืองแห่งสมุนไพร “